๊UA-151914670-1

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี2522

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2522

ระหว่าง

สหภาพแรงงานไทยเรยอน และ บริษัท  ไทยเรย่อน  จำกัด 

*****************************

บริษัทไทยเรยอน จำกัด 
 
23  พฤษภาคม  2522  
 
ข้อตกลงข้อที่  6.   ให้เป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ที่ใช้บังคับอยู่แล้วก่อนการทำสัญญาข้อตกลงนี้   สำหรับพนักงานที่เข้าทำงานกะดึก  ถ้ามีเหตุจำเป็นสุดวิสัย  และไม่สามารถเข้าทำงานตามเวลาที่ กำหนดได้เกินกว่า  10  นาทีขึ้นไป  บริษัทฯ จะถือว่าพนักงานผู้นั้นมาทำงานสาย  และ ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยขยันตามข้อตกลงนี้ ในขณะเดียวกันพนักงานผู้ทำงานในกะบ่ายจะละทิ้งงานไปก่อนเวลาที่กำหนดไว้นี้ ไม่ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่พนักงานกะดึกได้เข้ามารายงานตัวก่อนเวลาที่กำหนดไว้นี้ และจะไม่ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาสำหรับเวลาที่ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติภายใน  10  นาที นั้น   
 
ข้อตกลงข้อที่  8.   ใหเ้ป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะประกาศระเบียบดังกล่าวเป็นภาษาไทย  ให้พนักงานได้ทราบโดยทั่วกัน
 
ข้อตกลงข้อที่  10.  ในกรณีที่ทางราชการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นมาใหม่ บริษัทฯ ยินดีที่จะ พิจารณาปรับอัตราค่าจ้างมูลฐานของพนักงานเก่าที่มีอัตราค่าจ้างเกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ ประกาศใช้ใหม่นั้น  ตำมหลักเกณฑ์ที่ทางบริษัทฯ จะพิจารณาเห็นสมควร  และถ้าหากกรรมการ สหภาพแรงงานเกิดความสงสัย ก็ให้ติดต่อสอบถามจากฝ่ายจัดการของบริษัทฯ ได้
 
ข้อตกลงข้อที่  12.  ในกรณีที่พนักงานละเมิดหรือกระทำผิดข้อบังคับ เกี่ยวกับการจ้างแรงงานที่มีโทษตามข้อ ก. และ ข้อ ข. (บทที่ 9) บริษัทฯ จะปฏิบัติดังนี้ 
 
12.1  ถ้าความผิดตามข้อ ก. บริษัทฯ จะยกเลิกภายใน  1 ปี ถ้าหากไม่กระทำผิดซ้ำอีกภายในเวลาดังกล่าว
 
12.2  ถ้าความผิดตามข้อ ข. บริษัทฯ จะยกเลิกภายใน 1 ปี เฉพาะพนักงานที่ได้รับการลงโทษ ขั้นตักเตือนเป็นหนังสือเท่านั้น 
 
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา  1  ปี  นับตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายได้ ลงนามในข้อตกลงนี้เป็นต้นไป  และสหภาพแรงงานไทยเรยอนจะไม่ยื่นข้อเสนอหรือเรียกร้องอีก ภายในระยะเวลาดังกล่าว นอกจากนี้  กรรมการบริหารของสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือกับ ฝ่ายจัดการของบริษัทฯ ในการที่จะให้คำแนะนำแก่บรรดาสมาชิกของสหภาพฯ ให้สนใจในการปฏิบัติ หน้าที่  และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายด้วยความขยันขันแข็ง  และซื่อสัตว์สุจริต  สร้างความ เข้าใจที่ดีต่อกัน  และขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้นด้วยความเข้าใจที่ดีต่อกัน เพื่อความเจริญก้าวหน้า ทั้งในส่วนบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย ข้อตกลงนี้ได้ทำขึ้นไว้เป็นสองฉบับ มีข้อความตรงกัน  ต่างฝ่ายต่างยึดถือไว้คนละฉบับและ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้อ่านเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว จึงได้ลงรายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี2523

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง2523 

ระหว่าง

 สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับ บริษัท  ไทยเรยอน  จำกัด 

 
***************** 
 
บริษัทไทยเรย่อน  จำกัด 
 
23  พฤษภาคม  2523 
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อ 8.   บริษัทฯ  อนุญาตให้พนักงานลาเมตตาจิตได้  ดังนี้
 
8.1  ในกรณีที่พนักงานลากิจไปเพื่องานศพ  บิดา  มารดา  บุตร  สามี  หรือภรรยา พนักงานมี สิทธิลาได้  5  วัน  โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ
8.2  ในกรณีที่พนักงานแต่งงาน  พนักงานทีสิทธิลาได้  3  วัน  โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวัน ทำงานปกติ
8.3  ในกรณีที่พนักงานจะต้องไปรับการเกณฑ์ทหารตามกำหนดของทางราชการพนักงานมี สิทธิลาโดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติได้  1 วันทำงาน
8.4  ในกรณีที่พนักงานได้รับคำสั่งของศาลเพื่อให้การเป็นพยาน  พนักงานมีสิทธิลาได้เพื่อการนี้โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ  1  วันทำงาน
8.5  การลาเมตตาจิตตามข้อตกลงนี้  พนักงานจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานต่อบริษัทฯ เพื่อ ประกอบการพิจารณาด้วย
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 9.   บริษัทฯ อนุญาติให้พนักงานลาอุสมบทได้ ดังนี้ 
9.1  ในการลาอุปสมทบนอกฤดูกาลเข้าพรรษา  บริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับวันทำงานปกติ ไม่เกิน 7 วัน
9.2  ในการลาอุปสมทบในฤดูกาลเข้าพรรษาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ จะจ่าย ค่าจ้างให้เท่ากับทำงานปกติไม่เกิน  15  วัน
9.3  การจ่ายเงินตามข้อ  9.1 และ 9.2  นี้ บริษัทฯ จะจ่ายให้ก็ต่อเมื่อพนักงานได้กลับเข้าทำงาน ตามปกติแล้ว
9.4  พนักงานผู้มีสิทธิในการลาตาม ข้อ  9.1  จะต้องเป็นพนักงานที่ทำงานให้กับบริษัทฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
9.5  พนักงานผู้มีสิทธิในการลาตาม ข้อ  9.2  จะต้องเป็นพนักงานที่ทำงานให้กับบริษัทฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
9.6  การลาอุปสมบทตามข้อ 9.1 และ 9.2 นี้ บริษัทฯ จะไม่นำมาคิดคำนวณในการหักเงิน โบนัสและการขึ้นค่าจ้างประจำปี
9.7  การขออนุญาติลาอุปสมบทและการพิจารณาอนุญาตการลาอุปสมบทตามข้อตกลงนี้  ให้เป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 10.   ในกรณีที่ทางราชการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่  บริษัทฯ ยินดีพิจารณา ค่าจ้างของพนักงานเก่าที่มีอัตราค่าจ้าง เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศใหม่ นั้นตำมระบบสัดส่วน ของค่าจ้างจากต่ำไปหาสูง  โดยพนักงานที่ได้รับค่าจ้างสูงจะได้ลดลงตามส่วน  ทั้งนี้โดยพิจารณาถึงความแตกต่างอัตราค่าจ้างของพนักงานที่ได้รับต่ำสุดกับอัตรำค่าจ้างที่ประกาศขึ้นมาใหม่เป็นหลักในการพิจารณา  ทั้งนี้เว้นแต่ไม่มีพนักงานคนใดได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศใหม่ ถ้าอัตราค่าจ้างที่แตกต่างกันตามวรรคแรกไม่เกิน 10 บำท ให้จัดแยกช่วงค่าจ้างต่ำสุดและสูงสุดเท่ากับจำนวนเงินที่แตกต่างนั้น  ถ้าอัตราค่าจ้างที่แตกต่างนั้นเกิน  10  บาทขึ้นไปก็ให้ถือช่วงค่าจ้าง เป็น  10  ช่วงค่าจ้างเท่านั้น พนักงานเก่าตามข้อตกลงนั้นหมายถึงพนักงานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อ 4.1 , 4.2 , 4.3 , 4.4 และ 4.5  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 14.   ในกรณีที่มีตำแหน่งงานว่างลงในแต่ละแผนก  บริษัทฯจะพิจารณาพนักงานเก่าที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมบรรจุในตำแหน่งงานที่ว่างลงนั้น  โดยยึดหลักความรู้ความสามารถและความเหมาะสมมาเป็นหลักในการพิจารณาก่อนบุคคลภายนอก  ทั้งนี้เว้นแต่ไม่มีพนักงานผู้ใดที่เหมาะสมหรือมีคุณสมบัติพอต่อตำแหน่งที่ว่างลงนั้น  บริษทัฯ จำเป็นจะต้องจัดหาบุคคลภายนอกเข้ามาบรรจุต่อไป  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 15.  บริษัทฯ ยินดีจัดรองเท้าหุ้มส้นให้กับพนักงานของบริษัทฯปีละ  2  คู่ โดยจะจ่ายให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนมกราคมของทุกๆ ปี การที่จะกำหนดว่าพนักงานท่านใดจะใช้รองเท้าผ้าใบหุ้มส้น  หรือรองเท้ายางหุ้มส้นนั้นให้ หัวหน้าแผนกทุกๆ แผนกเป็นผู้เสนอแนะบริษัทฯ
          
ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสมควรและการป้องกันอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นสำคัญ  ในกรณีที่พนักงานได้รับรองเท้าที่ทางบริษัทฯ ได้จัดรองเท้าให้ไปแล้วไม่สวมใส่รองเท้าเข้า ทำ งาน พนักงานผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษทางวินัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการจ้างแรงงานบทที่  9  (ก-4)   การจัดรองเท้าตามข้อตกลงนี้บริษัทฯจะจัดให้ในเดือน  มกราคม 2524  เป็นต้นไป
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่  16.    บริษัทฯ ยินดีจ่ายเครื่องแบบให้กับพนักงานภายในเดือน มกราคม ของทุก ๆ ปี โดยเริ่ม ตั้งแต่เดือนมกราคม  2524  เป็นต้นไป  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 19.   บริษัทฯ และสหภาพแรงงาน ฯ จะร่วมกันพิจารณาว่าจะให้มีตู้น้ำเย็นและห้องสุขาตามที่ทั้งสองฝ่ายจะเห็นสมควรตามความจำเป็น ทั้งนี้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 22. บริษัทฯ พิจารณาจะเปลี่ยนรถสายป่าโมกจากรถเมยเ์ล็กเป็นรถเมยข์นาดกลาง และ จะพิจารณาปรับปรุงสายอำเภอเมืองอ่างทองตามความเหมะสม หากไม่เพียงพอจะเพิ่มให้อีก 1 คัน การจัดเปลี่ยนรถเมล์สายป่าโมกจะทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ข้อตกลงนี้มีผล ใช้บังคับเป็นต้นไป  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 24.  บริษัทฯ ยินดีจัดสำนักงานให้กับสหภาพแรงงานฯ ในพื้นที่บริษัท ตามที่ บริษัทเห็นสมควร ทั้งนี้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ข้อตกลงนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้น  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 25.    บริษัทฯ ยินดีหักเงินบำรุงสมาชิกสหภาพแรงงานฯ จากค่าจ้างในงวดแรกของการจ่ายเงินของ แต่ละเดือนให้กับสหภาพแรงงานฯ ทั้งนี้สหภาพแรงงานจะต้องจ้ดทำบัญชีรายชื่่อสมาชิกสหภาพแรงงานพร้อมลายมือชื่อยินยอมของสมาชิกแต่ละคนตามแบบที่สหภาพแรงงานฯ กำหนดทั้งการหักเงินดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันต่อบริษัทฯ แต่อย่างใดทั้งสิ้น 

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี2526

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง2526

ระหว่าง

สหภาพแรงงานไทยเรย่อน และ บริษัท  ไทยเรย่อน  จำกัด

              *********************          

บริษัทไทยเรย่อน  จำกัด     

3  มิถุนายน  2526  

ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  4   ในกรณีที่พนักงานครบเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ บริษัทฯ จะดำเนินการ ดังนี้ 
 
4.1  ในกรณีที่พนักงานครบเกษียณอายุก่อน วันที่ 1 กรกฎาคม ของปีที่เกษียณอายุนั้น บริษัทฯ จะเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นในวันที่ครบกำหนดเกษียณอายุ
4.2  ในกรณีที่พนักงานครบเกษียณอายุตั้งแต่ วันที่  1 กรกฎาคม ของปีที่เกษียณอายุนั้น บริษัทจะเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นในวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  7.    บริษัทฯ จะพยายามหลีกเลี่ยงมิให้พนักงานปฏิบัติงานในกะปกติของตนเองและการทำงาน ล่วงเวลาต่อเนื่องกันเกินกว่า 16 ชั่วโมง ในกรณีจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้พนักงานผู้ใดทำงาน ครบ 16 ชั่วโมงแล้วแต่ไม่มีพนักงานผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ให้พนักงานผู้นั้นคอยบุคคลที่จะทำงานแทนตนเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าไม่มีบุคคลอื่นมาทำงานแทน หัวหน้าจะอนุญาตให้ พนักงานผู้นั้นกลับบ้านได้ หากพนักงานไม่มียานพาหนะของตนเองแล้วบริษัทฯจะจัดยานพาหนะให้  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  8.    ในกรณีที่บริษัทฯ  จำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานในกรณีลดกำลังพลหรือยุบแผนก บริษัทฯยินดีจ่ายเงินโบนัสให้ตามส่วนของระยะเวลาที่พนักงานได้ปฏิบัติหน้าที่ และ จำนวนเงินโบนัสตำมระเบียบของบริษัทฯ เฉพาะปีนั้นโดยจ่ายให้พร้อมกับพนักงานอื่นๆ ของบริษัทฯ ณ วันประกาศจ่ายโบนัส  หากพนักงานผู้นั้นไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเองบริษัทฯ ยินดีจัดส่งเงินไปให้ทางธนาณัติ  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  9.   ในกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุในระหว่างโดยสารรถซึ่งบริษัทฯ ได้ว่าจ้างเพื่อ รับ-ส่ง พนักงาน บริษทัฯ ในฐานะคู่สัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทั้งทางแพ่งและทำงอาญาต่อ คู่สัญญาหรือบุคคลที่ 3 และบริษัทฯ ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสม 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  10.  ในกรณีพนักงานประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน บริษัทฯ ยินดีจ่ายค่าจ้าง 100% ใน ระหว่างการรักษาพยาบาลตามใบความเห็นแพทย์ ที่ไม่เกินกว่า 15 วัน และจะไม่เอาวันหยุดพักรักษา ตัวแม้จะเกิน 15 วัน นั้นมาคำนวณในการขึ้นค่าจ้างประจำปีและการจ่ายเงินโบนัส      
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  12.    บริษัทฯยินดีจ่ายรองเท้าประจำ ปี 2527  และปีต่อไปโดยจ่ายรองเท้าเครื่องหมายการค้า “บอลล์ “ ให้กับพนักงานทุกคน ในกรณีที่พนักงานไม่อาจใส่รองเท้าตามขนาดรองเท้าที่บริษัทฯ จัดให้ บริษัทฯ จะจัดหาขนาดที่ต้องการมาทดแทนภายในระยะเวลา 90 วัน หากบริษัทฯ ยังไม่สามารถจัดมาทดแทนได้แล้วบริษัทฯ ยินดีจ่ายเงินตามราคาของรองเท้าที่บริษัทฯ ซื้อมาโดยให้พนักงานผู้นั้นไป จัดซื้อด้วยตนเอง  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯข้อที่ 13.  บริษัทฯ ยินดีตัดเครื่องแบบเพื่อจ่ายให้กับพนักงานปีละ 2 ชุด และเปลี่ยนแปลงแบบดังนี้
 
13.1  พนักงานฝ่ายผลิตและพนักงานอื่นๆ ลักษณะเครื่องแบบคือ กางเกงสีน้ำเงิน เสื้อสีฟ้า มี กระเป๋า 3 ใบ   
13.2  พนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง  ลักษณะเครื่องแบบ คือ กางเกงสีน้ำเงิน เสื้อสีฟ้า มีกระเป๋า 3 ใบ สำหรับหัวหน้างานแผนกซ่อมบำรุง บริษัทฯจะกำหนดสีของเครื่องแบบสีหนึ่งสีใดภายหลัง  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 14.  บริษัทฯยินดีจะจัดน้้ำดื่มให้กับพนักงานดังนี้
 
14.1  จัดตู้น้ำเย็นดังนี้
  • 14.1.1  แผนกวอเตอร์ทรีทเม้นต์      จำนวน  1  ตู้
  • 14.1.2  แผนกแอลซิลลารี่                จำนวน  1  ตู้
  • 14.1.3  บริเวณป้อมยามจุด  8           จำนวน  1  ตู้   
 
14.2  จัดน้ำเย็นโดยผ่านคอล์ยเย็นให้   ดังนี้   
  • 14.2.1  แผนกอ๊อกซิลารี่                จำนวน  1  จุด 
  • 14.2.2  แผนกเอฟ.ไอ.พี.                จำนวน  1  จุด
  • 14.2.3  แผนกเซ็นทรัลฯ                 จำนวน  1  จุด       
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯข้อที่ 15.   
 
15.1  บริษัทฯ ยินดีจัดสร้างห้องอาบน้ำให้พนักงานดังนี้
  • 15.1.1  แผนกแอลซิลลารี่             จำนวน  2  ห้อง
  • 15.1.2  แผนกแบลิ่งเพรส              จำนวน  3  ห้อง
  • 15.1.3  แผนกฮอปเปอร์รูม             จำนวน  1  ห้อง
  • 15.1.4  แผนกออกซิลลำรี่              จำนวน  1  ห้อง
  • 15.1.5  แผนกเอฟ.ไอ.พี.                จำนวน  1  ห้อง
 
15.2  บริษัทฯ ยินดีจัดสร้างห้องส้วมให้กับพนักงานดังนี้
  • 15.2.1 แผนกออกซิลารี่                 จำนวน  2  ห้อง
  • 15.2.2 แผนกแบลิ่งเพรส                จำนวน  1  ห้อง 
 
บริษัทฯ จะดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จภายใน  4  เดือน   
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  19.  บริษัทฯ ยินดีตกลงให้พนักงานได้ใช้รถของบริษัทฯ ในกรณีฉุกเฉินตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้รถของบริษัทฯ  โดยบริษัทฯ จะหักเงินจากค่าจ้างของพนักงานผู้ใช้รถนั้น ในกรณีที่พนักงานไม่สามารถหายานพาหนะเพื่อกลับหอพักในระหว่างเวลา 18.00 น. - 22.30 น. บริษัทฯยินดีจัดรถเพื่อรับกลับยังหอพัก  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  20.  บริษทัฯ ยินดีจัดหอพักครอบครัวจากห้องพักที่มีอยู่ในปัจจุบัน ครอบครัวละ 1 ห้อง โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
 
20.1  สามีและภรรยาเป็นพนักงานของบริษัทฯ
20.2  สามีหรือภรรยาต้องไม่พักอาศัยอยู่กับบิดา-มารดาของฝ่ายใดฝ่ายหน่ึง ซึ่งมีบ้านอยู่ในเส้นทางที่บริษัทฯ ได้จัดรถ รับ-ส่ง ในปัจจุบันหรือห่างโดยระยะทางโดยรัศมีรอบโรงงานประมาณ 6 ก.ม.
20.3 ในกรณีที่มีพนักงานมีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น แต่มีคุณสมบัติเท่าเทียมกันและมีมากกว่าจำนวนห้องพักที่มีอยู่ บริษทัฯจะพิจารณาตามลำดับอาวุโส ตามตำแหน่งงานและอายุงาน ทั้งนี้บริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลา 3 เดือน     
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  21.  บริษัทฯ ยินดีปรับปรุงหอพักพนักงานโสด ดังนี้.
 
21.1  บริษัทฯ ยินดีเปลี่ยนฟูกนุ่นให้ตำมความจำเป็น โดยคำนึงถึงสภาพและอายุการใช้งาน โดยปกติ
21.2  บริษัทฯ ยินดีจัดเตียงไม้ใ้ห้พนักงานซ่ึงพักอาศัยในหอพักเป็นประจำ โดยจะจัดเตียงไม้ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ทันที และจะจัดให้ครบภายใน 2 เดือน สำหรับพนักงานที่มิได้พักอาศัยใน หอพักเป็นการประจำยินดีใช้เตียงที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
21.3  บริษัทฯ ยินดีจัดตู้ไม้ตามความเหมาะสมโดยจัดให้ตามอัตราส่วนของผู้พักอาศัย 1 ตู้ ต่อพนักงาน 2 คน  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  22.  บริษัทฯ ยินดีเปิดห้องพักผ่อนสำหรับพนักงานตั้งแต่เวลา 08.00 น. และปิดห้องพักผ่อนเมื่อ โทรทัศน์ทุกช่องยุติรายการ และบริษัทฯ จะจัดฉายภาพยนตร์จากเทปโทรทัศน์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  23.  บริษัทฯ ยินดีขยายโรงเก็บรถสำหรับพนักงานให้เพียงพอกับความต้องการ และจะปรับปรุง ถนนทางเดินจากจุด 8 ไปยังหอพักให้อยู่ในสถานที่ใช้การได้ดี และยินดีจะจัดทำถนนคอนกรีตไปยังหอพักภายในระยะเวลาหน่ึงปีคร่ึง 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  28.  บริษัทฯ ยินยอมตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 7 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523  ดังนี้
 
28.1 บริษัทฯ ยินยอมตกลงจัดสวัสดิการเงินกู้ให้แก่พนักงานของบริษัทฯเพิ่มเติมในวงเงิน สูงสุดไม่เกิน 10,000  บาท  ( หน่ึงหมื่นบาทถ้วน )
28.2  พนักงานมีสิทธิในการขอกู้เงินเพิ่มเติมสำหรับกรณีต่อไปนี้คือ  กู้เพื่อซื้อที่ดิน  กู้เพื่อการต่อเติมหรือซ่อมแซมบ้าน  กู้เพื่อการก่อสร้างบ้าน  ทั้งนี้ให้พนักงานกู้เพื่อการดังกล่าวข้างต้นได้อย่างละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาที่งานอยู่กับบริษัทฯ สำหรับการกู้เพื่อการรักษาพยาบาล บิดา, มารดา, คู่ สมรส และบุตร ให้กู้ครั้งแรกได้ไม่เกิน  3,000 บาท หากมีความจำเป็นต้องใช้มากกว่าให้นำบิลค่า รักษาพยาบาลที่ได้ใช้จ่ายไปแล้วมาแสดงเพื่อขอกู้เพิ่มเติมได้อีกแต่ไม่เกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1 28.3 บริษทัฯ จะหักเงินจากค่าจ้างของพนักงานเพื่อการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ในระยะเวลาไม่เกิน 20 งวดของการจ่ายค่าจ้าง สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายงวดหรือ 10 เดือน สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ระเบียบการกู้เงินตามข้อนี้ให้ปฏิบัติตามข้อ 7.2, 7.3, 7.4, 7.6 ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ลงวันที่ 23 พฤษภาคม  2523  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  29.  ในกรณีที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ทั้งสองฝ่ายตกลงปรับ ค่าจ้างตามเงื่อนไขของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 10 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 แต่ให้เปลี่ยนแปลงช่วงค่าจ้างจากเดิม 10 ช่วงค่าจ้างเป็น 5 ช่วงค่าจ้างเท่านั้น  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  31. บริษัทฯ ยินดีตกลงจ่ายเงินสำรองแก่ผู้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์จาก “กองทุนช่วยเหลือเพื่อนพนักงานไทยเรยอน”  ซึ๋งสหภาพฯ กำลังดำเนินการจัดตั้ง โดยบริษัทฯ จะหักเงินจากค่าจ้างของพนักงานที่เป็นสมาชิกของกองทุนฯ ในงวดการจ่ายค่าจ้างนั้น ๆ ตามจำนวนเงินที่สหภาพฯจะแจ้งให้ทราบ  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่  33.  บริษัทฯ ยินดีตกลงจัดสร้างที่ทำการสหภาพแรงงานเพิ่มเติมตามที่สหภาพฯ และบริษัทฯ เห็นสมควร   

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี2527

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง2527

ระหว่าง

สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับ บริษัท  ไทยเรยอน  จำกัด

*************** 
       บริษัท  ไทยเรยอน   จำกัด 
      
        วันที่  1  มิถุนายน  2527  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่  4. 
4.1 ในกรณีพนักงานของบริษัทฯออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ห่างโดยระยะทางทั้งไปและ กลับรวมกันเกินกว่ำ 150 กิโลเมตร และหรือ ทั้งไปและกลับรวมกันใช้เวลารวมกันเกินกว่า 5 ชั่วโมง บริษัทจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ดังนี้
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเช้า 20 บาท   
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อกลางวัน 30 บาท
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเย็น 30  บาท               
4.2  สำหรับพนักงานขับรถระหว่างกรุงเทพฯ – อ่างทอง จะได้รับเบี้ยเลี้ยงดังนี้ 
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเช้า 15 บาท   
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อกลางวัน 15 บาท 
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเย็น 15  บำท 

 4.3  ในกรณีพนักงานขับรถออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่นอกจากที่ระบุไว้ใน ข้อ 4.2 ห่าง โดยระยะทางทั้งไปและกลับรวมกันเกินกว่า 150 กิโลเมตร และหรือ ทั้งไป  และกลับใช้เวลารวมกันเกินกว่า 5 ชั่วโมง บริษทัฯจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เช่นเดียวกับพนักงานตามข้อ  4.1 หมายเหตุ ความหมายของอาหารแต่ละมื้อ   

  • มื้อเช้า หมายถึงการรับประทานอาหารในเวลา  07.00 น.   
  • มื้อกลางวัน หมายถึงการรับประทานอาหารในเวลา 12.00 น.   
  • มื้อเย็น หมายถึงการรับประทานอาหารในเวลา 18.00 น.  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 5.    ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 7 ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ บริษัทฯจะจ่ายเงินช่วยเหลือในกรณีต่าง ๆ ดังนี้ 
5.1  กรณีบิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานบริษัทฯ ถึงแก่กรรม บริษทัฯจะทำบุญรายละ 500 บาท พร้อมกับพวงหรีดคารวะศพในนามบริษัทฯ 1 พวง 
5.2  กรณีพนักงานอุปสมบทหรือมงคลสมรส บริษัทฯจะจ่ายเงินช่วยเหลือคนละ 500  บำท 
 
บุคคลที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ ได้กำหนด  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่  10.   บริษัทฯจะปรับปรุงทางเดินจากจุด 8 ไปยังถนนของหมู่ที่ 2 ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และจะปรับปรุงถนนจากจุด 8  ไปยังถนนสายอยธุยา-อ่าทอง ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี ทั้งนี้ให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายร่วมกันพิจารณากำหนดวิธีการปรับปรุงสถานที่ตามความในวรรคแรกใหเ้สร็จภายใน  60 วัน  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 13.   ให้คงร้านอาหารที่ตึกวิสโคสตามเดิม  และบริษัทฯจะทำความตกลงกับผู้รับเหมาเพื่อให้ปรับ ปรุงคุณภาพของข้าวต้มให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดังนี้ โดยบริษัทฯจะให้ผู้รับเหมาจัดทำข้าวต้มหมุนเวียนภายในสัปดาห์หน่ึงประกอบด้วย ข้าวต้มหมู , ปลา ,ไก่ ,สลับกันไปและบริษัทฯ จะจ่ายค่าข้าวต้มให้แก่ผู้รับเหมาคิดเป็นรายบุคคล  คนละ  4  บำท   
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่  14.  บริษัทฯจะปรับปรุงสถานที่ทำงานดังต่อไปนี้
14.1  บริษัทฯจะจัดสร้างสถานที่สำหรับพักให้กับพนักงานของแผนกซีวิลล์ ในสถานที่ซึ่งทั้ง สองฝ่ายเห็นเหมาะสมโดยให้มีห้องอาบน้า และห้องส้วม อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน เว้นแต่สามารถหาสถานที่ซึ่งมีห้องอาบน้ำและห้องส้วมอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้
14.2  บริษัทฯ ติดตั้งพัดลมดูดอากาศจำนวน 1 ตัว บริเวณดีซัลท์บาท
14.3  บริษัทฯ จะติดตั้งตู้น้ำเย็นขนาด 1 ก๊อก ที่แผนกอ๊อกซิลลารี่และไฟฟ้าแห่งละ 1 เครื่อง
14.4  บริษัทฯ จะจัดทำหน้าต่างกระจกติดตายและพัดลมดูดอากาศเข้าจำนวน 1 ตัว ที่ห้อง คอนโทรล แผนกซี.เอส.ทู. ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 60 วัน  
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องข้อที่ 16.  ข้อตกลงเกี่ยงกับสภาพการจ้างอื่นที่ไม่ขัดกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับต่อไปตามเดิม 
 
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2527 ถึง 1 มิถุนายน 2529 และสหภาพแรงงานไทยเรยอนจะไม่ยื่นข้อเสนอหรือเรียกร้อง อีกภายในระยะเวลาดังกล่าว
 
นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้แทนของบริษัทฯและสหภาพแรงงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในบริษัทฯ ร่วมกันเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองฝ่ายต่อไป 
 
ข้อตกลงนี้ได้ทำขึ้นไว้เป็นสองฉบับมีข้อความตรงกันต่างฝ่ายต่างถือไว้คนละฉบับ และ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความตามข้อตกลงนี้แล้วต่างเข้าใจในข้อความโดยตลอด จึงลงลายมือชื่อไวเ้ป็นหลักฐาน 
 
อนึ่ง  กรณีเกิดปัญหาในการตีความหมายตามข้อตกลงนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมให้แรงงานจังหวัด 1 คน ผู้แทนบริษัทฯและสหภาพแรงงานฯฝ่ายละ 1 คน เป็นผู้ตีความหมายของ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง   

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี2529

ข้อตกลงเกี่ยวกับภาพการจ้าง2529

ระหว่าง

สหภาพแรงงานไทยเรยอน กบั บริษัทไทยเรยอน จำกัด

****************  

   บริษัทไทยเรยอน จำกัด 
     
   วันที่  21  มิถุนายน  2529  
 
         ตามที่ทางฝ่ายกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานไทยเรยอน  ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต่อบริษัทไทยเรยอน จำกัด  เมื่อวันที่  24  พฤษภาคม  2529 รวม 27 ข้อ  และบริษัทไทยเรยอน จำกัด ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงานไทยเรยอน  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2529 รวม 3 ข้อ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2529 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเจรจาข้อเรียกร้องของหสภาพแรงงานไทยเรยอน และเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2529 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเจรจาข้อเรียกร้องของบริษัทไทยเรยอน จำกัด ต่อมาทั้งสองฝ่ายตกลงให้เจรจาข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายรวมกันไปในที่สุดผู้แทนของทั้ง สองฝ่ายตามรายนามข้างท้ายข้อตกลงนี้  ได้ทำการเจรจากันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2529 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า  “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ .
 
ข้อตกลงฯตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 1.  แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 2.3 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 ดังนี้ 
 
1.1  ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด   จะแจ้งยอดเงินสะสมของพนักงานทุกคน ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปีให้บริษัทฯ ทราบภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป  และบริษทัฯ จะแจ้งยอดเงินสะสม พร้อมดอกเบี้ยให้พนักงานทราบภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับแจ้งยอดเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยจากธนาคาร
1.2  เงินสะสมและดอกเบี้ยตามข้อตกลงนี้  ธนาคารจะรับฝากประเภทประจำ 12 เดือน พร้อม ทั้งออกสมุดคู่ฝากในนามพนักงานแต่ละคนและเก็บไว้ที่ธนาคาร
1.3  เงินสะสมที่บริษทัฯ หักจากค่าจ้างของพนักงานระหว่าง เดือนมกราคม ถึง ธันวาคมของแต่ละปี บริษทัฯ จะนำฝากธนาคาร โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้เท่ากับเงินฝากประจำสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม และ ให้นำยอดเงินสะสมทั้งหมดไปรวมกับยอดเงินฝากของปีก่อนเข้าด้วยกัน
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 2.  ให้ยกเลิกข้อตกลงฯ ข้อ 8.1  ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ในกรณีที่พนักงานลากิจไปเพื่อ  งานศพ  บิดา , มารดา, สามี,ภรรยา หรือ บุตร พนักงานที่ สิทธิลาได้ 5 วัน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 3.  ให้ยกเลิกข้อตกลงฯ ข้อที่ 10 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
 
3.1 ในกรณีพนักงานประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างเต็ม 100% (เพิ่มขึ้นอีก 40% ของอัตราค่าจ้างที่พนักงานจะได้รับจากกองทุนเงินทดแทน) สำหรับการรักษาพยาบาลตามใบรับรองของแพทย์ซึ่งไม่เกิน  15  วัน
3.2  ในกรณีพนักงานประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน และต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเกินกว่า 15 วัน บริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานเช่นเดียวกันกับข้อ 3.1 (100%) ตามจำนวนวันที่พนักงานพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนั้น 
3.3  ในกรณีพนักงานประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานที่ไม่เข้าข่ายข้อ 3.1 หรือ 3.2  บริษัทฯ จะรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานตามกฎหมายแรงงาน 3.4  บริษัทฯ จะไม่นำเอาวันหยุดตามข้อตกลง 3.1,3.2,3.3 นี้มาคิดคำนวณในการพิจารณา ขึ้นเงินค่าจ้างประจำปี,การจ่ายเงินโบนัส
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4.  ให้ยกเลิกข้อตกลงฯ เกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 12 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
 
4.1  บริษัทฯ จะจัดรองเท้าผ้าใบสีขาวพื้นยางใส ราคาไม่ต่ำกว่า คู่ละ 100 บาท ให้กับ พนักงานหญิง คนละ 2 คู่ต่อปี
4.2  บริษัทฯ จะจัดรองเท้าหนังหุ้มส้นให้กับพนักงานชาย (ฝ่ายผลิต) คนละ 2 คู่ สำหรับปี 2530 ส่วนในปีถัดไปบริษัทฯ จะจัดให้คนละ 1 คู่ต่อปี
4.3  บริษัทฯ จะจัดรองเท้าหนังนิรภัย (รองเท้าหัวเหล็ก) ให้กับพนักงานชาย (ฝ่ายซ่อมบำรุง) คนละ 2 คู่ สำหรับปี 2530 ส่วนในปีถัดไปบริษัทฯ จะจัดให้เพียงคนละ 1 คู่ต่อปี
4.4  กรณีพนักงานได้รับรองเท้า ซ่ึงทางบริษัทฯ ได้จัดรองเท้าตามข้อ 4.1,4.2,4.3 ไปแล้วต้องใส่เข้าทำงานมิฉะนั้น จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำงานและอาจถูกลงโทษทางวินัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการจ้างแรงงาน บทที่ 9  (ก-4)   
4.5  ในกรณีบริษัทฯ ไม่อาจจัดรองเท้าให้พนักงานตามข้อ 4.1,4.2,4.3 ได้  ให้พนักงานผู้นั้นซื้อรองเท้าแบบและชนิดใกล้เคียงในราคาตลาดและนำใบเสร็จรับเงินมายื่นต่อบริษัทฯ เพื่อขอเบิก เงินต่อไป 4.6  ให้ผู้แทนของบริษัทฯ และสหภาพฯ ฝ่ายละ 2 คน เป็นผู้พิจารณากำหนดชนิดรองเท้าตาม ข้อตกลงนี้
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 5.  บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมาณด้านสวัสดิการให้แก่พนักงานดังนี้ 
 
5.1  บริษัทฯ จะจัดงบประมาณการกีฬา ซึ่งให้อยู่เดิมปีละ 25,000 บาท เป็นปีละ 40,000 บาท   
5.2  บริษัทฯ จะจัดรถทัศนาจรให้กับกลุ่มพนักงานที่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ในวันที่กำหนด เพื่อการทัศนาจร ณ สถานที่ต่างๆ ตามที่ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายจะได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้จะต้องเป็น สถานที่ในภาคกลาง,ภาคตะวันออก หรือ ภาคตะวันตก เท่านั้น
5.3  ในกรณีพนักงานเกษียณอายุ บริษัทฯ จะจัดซื้อของที่ระลึกให้กับพนักงานมูลค่าประมาณ 2,500 บาทและจัดงานเลี้ยงส่งให้แก่พนักงานด้วยตามที่บริษัทฯ เห็นสมควร
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 6.  ให้ยกเลิกข้อตกลงฯ ข้อที่ 5 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
 
6.1 กรณี บิดา,มารดา,สามี,ภรรยา หรือบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานถึงแก่กรรม บริษัทฯ จะทำบุญรายละ 1,000 บาท พร้อมกับพวงหรีดเคารพศพในนามบริษัทฯ 1 พวง 
6.2  กรณีพนักงานอุปสมบท หรือ มงคลสมรส บริษทัฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท     
 
*****บุคคลที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ *****
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 7.  ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ 
 
7.1  ในกรณีการขอกู้เงิน หากพนักงานผู้ขอกู้เงินมีเงินสะสมที่ธนาคารแจ้งหลังสุดมากกว่า จำนวนเงินที่จะขอกู้จากบริษัทฯ ให้พนักงานผู้นั้นใช้เงินสะสมค้ำประกันการกู้แทนการใช้พนักงาน หรือข้าราชการเป็นผู้ค้ำประกัน 
7.2  หลักเกณฑ์อื่นใดนอกเหนือจากข้อความในข้อ 7.1 ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิมซ่ึงมีผลใช้ บังคับอยู่
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 8.  ให้ข้อตกลงฯ ข้อที่ 1 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 และข้อตกลงฯ ข้อที่ 2 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 มีผลใช้บังคับต่อไปตามเดิม
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 9.  ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงข้อที่ 13 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 เฉพาะในส่วนจำนวนเงินค่าทำขวัญ คือ เปลี่ยนอัตราค่าทำขวัญจากเดิม 250 บาท เป็น 500 บาท หลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม (ข้อตกลงฯ ข้อ 13.1 ลงวนัที่ 23 พฤษภาคม 2523)
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 10.  ในกรณีที่พนักงานใดประสบอันตรายจากการทำงานในขั้นสาหัส ซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามความในข้อ 9 บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่พนักงานนั้นตามที่บริษัทฯ เห็นสมควรเป็นรายๆ ไป หรือในกรณีที่พนักงานประสบอันตรายจากการทำงานในขั้นสาหัสแต่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน บริษัทฯ จะให้การรักษาพยาบาลหรือจัดทำศัลยกรรมตกแต่งให้กับ พนักงานนั้น ตามที่บริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร แต่ในกรณีใดที่บริษัทฯ ไม่สามาถตัดสินใจดำเนินการตามความในวรรคต้นได้ บริษทัฯ จะหารือกับผู้แทนสหภาพแรงงานเพื่อดำเนินการตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควรต่อไป
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 11.  บริษทัฯ ตกลงจะให้เงินรางวัลความเพียรประจำปีแก่พนักงาน คนละ 2,000 บำท หากพนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานเต็มตลอดปีปฏิทิน คือ ไม่ลาป่วย,ไม่ขาดงาน,ไม่ลากิจ ตลอดปี หรือ มาทำงานสายครั้งละไม่เกิน 5 นาที รวมกันไม่เกินกว่า 30 นาที ตลอดปี โดยบริษัทฯ จะมอบเงินรางวัลนี้ ให้ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของแต่ละปี
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 12.  บริษทัฯ ยินดีจัดทุนการศึกษาให้กับบุตรของพนักงานตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 
 
12.1  ทุกการศึกษาตามข้อตกลงฯ นี้ให้บังคับใช้เฉพาะบุตรซึ่งเกิดจากพนักงานของบริษัทฯ ซึ่งได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือนๆ ละ 6,000 บาท ลงไป         
กรณีสามีและภรรยาเป็นพนักงานของบริษัทฯ การที่จะพิจารณาว่าบุตรจะมีสิทธิได้รับทุนหรือไม่ให้พิจารณาจากบุคคลที่มีเงินเดือนสูงสุดเป็นหลักเกณฑ์
12.2  บริษัทฯ จะจัดทุนการศึกษาปีละ 35 ทุนๆละ 1,000 บาท
12.3  บุตรของพนักงานที่มีสิทธิได้รับทุนนี้ต้องเป็นบุตรซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้น ป.1 ถึง ม.6 เท่านั้น
12.4  บุตรของพนักงานผู้นั้นต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยปลายปีการศึกษาในแต่ละชั้นตั้งแต่เกรด 3 ขึ้นไป
12.5  ทุนการศึกษานี้จะให้กับบุตรของพนักงานครอบครัวละ 1 ทุน ต่อปีเท่านั้น ทั้งนี้เว้นแต่ จะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นตามข้อ 12.6
12.6  กรณีผู้มีสิทธิน้อยกว่าจำนวนทุนที่กำหนดไว้ตามข้อ 12.2 และมีบุตรของพนักงานมีสิทธิได้รับทุนเกินกว่า 1 คน บุตรของพนักงานครอบครัวนั้นๆ มีสิทธิได้รับทุนเพิ่มจากข้อ 12.5 ขึ้น อีก 1 ทุน
12.7 กรณีผู้มีสิทธิมากกว่าจำนวนทุนที่กำหนดไว้ตามข้อ 12.2 และ/หรือ 12.6 ให้ตัดสินโดย วิธีการจับสลาก
12.8  ให้พนักงานซึ่งขอรับทุนการศึกษาสำหรับบุตรส่งหลักฐานการศึกษาของบุตรตามข้อ 12.3 และ 12.4 ต่อบริษัทฯ เพื่อพิจารณาภายในเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี
12.9  บริษัทฯ จะทำการมอบทุนการศึกษาภายในเดือนมิถุนายนของแต่ละปี สำหรับทุนการศึกษาประจำ ปี 2529 ให้พนักงานซึ่งขอรับทุนการศึกษา สำหรับบุตรส่งหลักฐานการศึกษาตามข้อ 12.3 และ 12.4 ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2529 โดยบริษัทฯ จะมอบทุนการศึกษาภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2529
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 13.  บริษัทฯ ตกลงจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ให้กับพนักงานตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้
 
13.1  งบประมาณในการจัดงาน ปีละ 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) 
13.2  ให้จัดทำคูปองระบุชนิดอาหารและปริมาณของอาหาร เพื่อแจกแก่พนักงานที่มาร่วมงาน 
13.3  ให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดงานขึ้น โดยมีผู้แทนของทั้งสองฝ่ายๆ ละ ไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงฯ นี้
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 14.  ให้ยกเลิกข้อตกลงฯ เกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 30 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ในกรณีพนักงานใดเสียชีวิต บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าทำศพ จำนวน 15,000 บาท (หน่ึงหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ให้แก่ทายาทตามกฎหมายของพนักงานนั้น
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 15.  บริษัทฯ จะจัดเสื้อส่วนกลางสำหรับปฏิบัติงานแก่พนักงานแผนกซีวิล และชุดหมีแก่พนักงน แผนกเอฟ.ไอ.พี. ดังนี้ 
 
15.1  บริษัทฯ จะจัดเสื้อแขนยาวสีกรมท่า จำนวน 10 ตัวต่อปี เพื่อให้พนักงานในแผนกซีวิล ใช้เป็นส่วนกลางขณะปฏิบัติงาน 
15.2  บริษัทฯ จะจัดชุดหมี จำนวน 10 ชุดต่อปี เพื่อให้พนักงานในแผนก เอฟ.ไอ.พี. ใช้ในขณะเจียร์ถังหรือพ่นทราย
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 16.  บริษัทฯ ตกลงจะทำการขยายสำนักงานของสหภาพแรงงานฯ เพิ่มอีก 1 ห้อง ขนาดพื้นที่ ประมาณ 16 ตารางเมตร ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 9 เดือน และจะติดตั้งโทรศัพท์ให้ 1 เครื่องภายใน 3 เดือน
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 17.  บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงที่พักสำหรับญาติซึ่งมาเยี่มพนักงานให้และติดตั้งพัดลมและจัดทำห้องสุขาในบริเวณห้อง หรือบริเวณใกล้เคียง ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 9 เดือน
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 18. 
 
18.1  บริษัทฯ จะสร้างโรงเก็บรถยนต์ ณ บริเวณจุด 8 ให้สามารถจอดรถยนต์ส่วนบุคคลได้ จำนวน 15 คัน 
18.2  บริษัทฯ จะขยายโรงเก็บรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น ตามแต่บริษัทฯ จะเห็นสมควร 
18.3  บริษัทฯ จะปรับปรุงโรงเก็บรถจักรยานยนต์ (เก่า) ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม 
18.4  บริษัทฯ จะจัดสร้างให้ภายใน 9 เดือน
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องสหภาพฯ ข้อที่ 19.  ให้บริษัทฯ พิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 20.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 9 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 และให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน     บริษัทฯ จะให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน เพื่อประโยชน์แก่สมาชิก ของสหภาพแรงงานและพนักงานของบริษัทฯ ในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติปีละ 20,000 บาท ทั้งนี้ สหภาพฯ ต้องนำบิลค่าใช้จ่ายมาแสดงต่อบริษัทฯ
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 21.  ให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 4.2 ลงวนัที่ 1 มิถุนายน 2527 และให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน 
 
21.1  สำหรับพนักงานขับรถระหว่าง กรุงเทพฯ – อ่างทอง จะได้รับเบี้ยเลี้ยง ดังนี้ 
  • เบี้ยเลี้ยงอาหาร มื้อเช้า          20 บาท     
  • เบี้ยเลี้ยงอาหาร มื้อกลางวัน   25 บาท
  • เบี้ยเลี้ยงอาหาร มื้อฃเย็น       25 บาท 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 22.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 3 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 และให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน ในกรณีที่รัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ บริษทัฯ ตกลงปรับอัตราค่าจ้างของพนักงานตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
 
22.1 บริษัทฯ จะปรับอัตราค่าจ้าง 50% ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิมให้กับพนักงานที่มีค่าจ้างตั้งแต่ระดับค่าจ้างถัวเฉลี่ยขึ้นไป ค่าจ้างถัวเฉลี่ยในข้อตกลงนี้หมายถึง ค่าจ้างถัว เฉลี่ยของพนักงานตามข้อตกลงฯ ข้อ 4.1,4.2 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 และข้อ 3 ของข้อตกลงฯ ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526
22.2 สำหรับค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างถัวเฉลี่ยลงไปถึงค่าแรงขั้นต่ำ บริษัทฯ จะแบ่งช่วงค่าจ้างออกเป็น 3 ช่วง
ตัวอย่างประกอบการพจิารณา
 

ก.  สมมติว่าค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิม 59 บาท เป็น 69 บาท ต่อวัน

ข.  50% ของ 10 บาท คือ 5 บาท

ค.  สมมติว่าค่าจ้างถัวเฉลี่ยเป็น 75 บาท

ง.  การแยกช่วงค่าจ้างให้ถือเอาระหว่าง 59 บาท ถึง 79 บาท แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้   

  • 79  บาท  ขึ้นไป   เพิ่ม  5   บาท   
  • 72.50 – 78.75     เพิ่ม  6.75  บาท   
  • 65.75 – 72.25     เพิ่ม  8.50  บาท   
  • 59.00 – 65.50     เพิ่ม  10  บาท
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 23. 
การปรับเงินค่าครองชีพ
 
23.1 สำหรับปี พ.ศ. 2529 บริษทัฯ ตกลงเพิ่มเงินค่าครองชีพจากเดิม 990 บาทต่อเดือน เป็น 1,100 บาท ต่อเดือน และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2529 
23.2 สำหรับปี พ.ศ. 2530 ให้ใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานรายวันทั้งหมดรวมพนักงานรายเดือนที่มีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 8,000 บาท ลงมาและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2530 
23.3 สำหรับปี พ.ศ. 2531 ให้ใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานรายวันทั้งหมดรวมพนักงานรายเดือนที่มีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 9,000 บาท ลงมาและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2531 
23.4  สูตรการคิดคำนวณเงินค่าครองชีพพร้อมหลักเกณฑ์การจ่ายค่าครองชีพตามข้อ 23.2 และข้อ 23.3 ให้เป็นไปตามข้อตกลงฯ เดิม 
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 24. 
 
24.1 บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2529 ให้แก่พนักงานดังนี้   
อายุงานได้รับโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี 75 วัน     
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี 80 วัน   
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป 85 วัน
24.2  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2530 ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงานได้รับโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี 75 วัน     
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี 80 วัน   
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป 85 วัน
24.3  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2531 ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงานได้รับโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี 80 วัน    
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี 85 วัน   
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป 90 วัน 
24.4 พนักงานที่ทำงานครบ 6 เดือนขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 1 ปี โดยนับถึงวันจ่ายเงินโบนัสให้ได้รับเงินโบนัส ลดลงตามส่วนตามจำนวนวันของอายุงาน 1 ปี สำหรับโบนัสประจำปี 2529,2530,2531
24.5  ระเบียบการหักเงินโบนัสให้เป็นไปตามระเบียบเดิมที่ไม่ขัดแย้งกับข้อตกลงฯ นี้
24.6  การจ่ายเงินโบนัสตามข้อตกลงนี้ บริษัทฯ จะจ่ายให้แก่พนักงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529, ธันวาคม พ.ศ. 2530,และ ธันวาคม พ.ศ. 2531
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 25.  และข้อตกลงข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 2. ทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 25 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 2.5,2.6,2.7,2.8 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 โดยให้ใช้ระบบ “โครงการประกันสุขภาพหมู่” ให้กับพนักงานทุกคนโดยรวมถึง สามี,ภรรยา และบุตร ตามกฎหมาย ของพนักงานโดยมีหลกัเกณฑ์ ดังนี้     
 
25.1  พนักงานของบริษัทฯ สามี,ภรรยา และบุตร (อายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 20 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้สมรส) ตามกฎหมายของพนักงานจะได้รับการคุ้มครองตาม “โครงการประกันสุขภาพหมู่” นี้
25.2  การคุ้มครองตามโครงการนี้จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลนอกงาน ซึ่งรวมอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยธรรมดา ให้กับบุคคลตามข้อ 25.1 ทั้งหมด 
25.3  ผลประโยชน์ที่จะได้รับตามโครงการประกันสุขภาพหมู่ มีดังนี้
  • 25.3.1.1  กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะคนไข้ใน (ต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้งต่อคน)
  • 25.3.1.2  ค่าห้องและค่าอาหารสูงสุด 30 วัน วันละ 450 บาท
  • 25.3.1.3  ค่าใช้จ่ายทั่วไป 7,000 บาท
  • 25.3.1.4  ค่าธรรมเนียมผ่าตัดไม่เกิน 8,500 บาท
  • 25.3.1.5  ค่าดูแลโดยแพทย์ (สูงสุด 30 วัน) วันละ 100 บาท   
  • 25.3.1.6  ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษกรณีไม่ผ่าตัด 700 บาท (คิดรวมกับข้อ 25.3.1.2)
  • 25.3.1.7  ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษ กรณีผ่าตัด 850 บาท (คิดรวมกับข้อ 25.3.1.3)
  • 25.3.1.8.  การรักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุแต่ละครั้ง 1,000 บาท เฉพาะผู้ป่วยนอก (ภายใน 24 ชั่วโมง) (คิดรวมกับข้อ 25.3.1.2)
25.3.2  การรับการรักษาที่คลีนิคหรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
  • 25.3.2.1 พนักงาน โสด ต่ออาการป่วย 1 ครั้ง 130 บาท (วันละ 1 ครั้ง ปีละไม่เกิน  45 ครั้ง)
  • 25.3.2.2 พนักงาน คู่สมรส และบุตร ต่ออาการป่วย 1 ครั้ง 130 บาท (วันละ 1 ครั้ง ปี ละไม่เกิน 30 ครั้ง)
25.3.3  กรณีคลอดบุตร    เฉพาะการคลอดบุตรโดยการผ่าตัดหน้าท้อง (ที่ตั้งครรภ์หลังจากการประกันสุขภาพหมู่ มีผลบงัคบัใช้ ),การแท้งบุตรโดยธรรมชาติ (หลังจากประกันสุขภาพหมู่ มีผลบังคับใช้เกินกว่า 6 สัปดำห์ )หรือการท้องนอกมดลูก สูงสุดปีละ 1,500 บาท
25.3.4  กรณีถอนฟัน (ไม่คุ้มครองบุตรของพนักงาน) สูงสุดปีละ 300 บาท
25.3.5  บริษัทฯ ตกลง (นอกเหนือจากการประกันสุขภาพหมู่) จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล กรณีคลอดบุตร  ปกติของพนักงานหญิงของบริษัทฯ โดยเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1,000  บำท
25.3.6  บริษัทฯ จะมอบสำเนากรมธรรม์ประกันสุขภาพหมู่ให้สหภาพฯ 1 ชุด
25.3.7 กรณีการรักษาพยาบาลที่คลีนิคโดยใชเ้ครดิต ให้บริษัทฯ รับประกันสุขภาพหมู่ตกลง กับคลีนิค โดย ให้พนักงานใช้บริการโดยเครดิตซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตอำเภอเมืองอ่างทอง จำนวน 3 คลินิก และเขตอำเภอป่าโมก,เขตอำเภอวิเศษชัยชาญ,เขตอำเภอพระนครศรีอยธุยา สถานที่ละ 1 แห่ง
25.3.8  กรณีการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของรัฐบาล ถ้าโรงพยาบาลของรัฐบาลนั้น จะตกลงให้ใชเ้ครดิตได้ ให้บริษทัฯ รับประกันสุขภาพหมู่ตกลงกับโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 3 โรงพยาบาล เพื่อให้พนักงานเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใชเ้ครดิตได้ 
25.3.9  กรณีรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชน ถ้าโรงพยาบาลเอกชนนั้นจะตกลงให้ใช้ เครดิตได้ ให้บริษัทฯ รับประกันสุขภาพหมู่ตกลงกับโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 5 โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้พนักงานเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใชเ้ครดิตได้
25.3.10  ในการกำหนดชื่อคลีนิค,โรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ตามข้อ 25.3.6,25.3.7,25.3.8 ให้ทั้งสองฝ่ายปรึกษากับบริษัทฯ ประกันสุขภาพหมู่เพื่อกำหนดรายชื่อต่อไป
25.3.11 กรณีพนักงานเข้ารับการรักษาพยาบาลที่คลีนิคเอกชน,โรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลของรัฐบาล นอกจากข้อ 25.3.7,25.3.8 และ 25.3.9 ให้พนักงานจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นเงินสดและนำบิลค่ารักษาพยาบาลมาเบิกจากบริษัทฯ ได้ก่อนตามระเบียบเดิม และบริษัทฯ จะเบิกจากบริษัทฯ รับประกันสุขภาพหมู่ต่อไป การจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามบิลจะจ่ายเท่ากับจำนวนเงินคุ้มครองตาม “โครงการประกันสุขภาพหมู่” นี้
25.3.12  บรรดาข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเบิกค่ารักษาพยาบาลนอกงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันให้ยกเลิกในวันที่ 30 มิถุนายน 2529 และ “โครงการประกันสุขภาพหมู่” จะมีผลบังคับใช้  ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2529 ข้อตกลงฯ 
 
ตามข้อเรียกร้องของบริษัท ข้อที่ 1.  สหภาพแรงงานฯ ตกลงรับหลักการตามข้อเรียกร้องของบริษัทฯ และผู้แทนของทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันทำการศึกษาโครงสร้างค่าจ้างตามระบบจำแนกตำแหน่งที่ทั้งสองฝ่ายจะได้กำหนด (Position and Classification) ในระหว่างที่ข้อตกลงนี้มีผลใช้บังคับอยู่ ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำเอาโครงสร้าง (Structure) ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างสูงสุด (Ceiling Rate) ในแต่ละระดับ (Job Grade) และเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบการขึ้นค่าจ้างประจำปี เพื่อให้มีผลบังคับใช้  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2533 เป็นต้นไป 
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 26.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 32 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน  บริษัทฯ ตกลงอนุญาติให้กรรมการบริหารสหภาพแรงงานฯ ไปร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงานได้คราวละไม่เกิน 2 คน และรวมวันลาทั้งหมดของทุกคนแล้วจะต้องไม่เกินปีละ 40 วัน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ การลาดังกล่าวจะต้องทำเป็นหนังสือพร้อมแสดงหลักฐานต่อบริษัทฯ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน คาว่า “ปี” ในข้อตกลงนี้หมายถึง “ปีปฏิทิน” 
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 27.  ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่นๆ ที่มีผลบังคับใช้อยู่และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้  มีผลบังคับใช้ต่อไป 
 
ข้อตกลงฯ ตามข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 3.   ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน คือสิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2532 และสหภาพแรงงานฯ จะไม่ยื่นข้อเรียกร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว 
 
อนึ่ง เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดี  และเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน กรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายจัดการของบริษัทฯ ในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจ ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย จากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับฝ่ายจัดการในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย 
 
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ฝ่ายจัดการจะจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับกรรมการสหภาพแรงงานฯ ปีละ 4 ครั้ง ในกรณีเกิดปัญหาตีความตามข้อตกลง ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้แรงงานจังหวัดท้องที่ และผู้แทนของทั้งสองฝ่ายๆ ละ 1 คน ร่วมกันเป็นผู้ตีความชี้ขาด ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ ได้อ่านข้อความและเข้าใจโดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่่อไว้เป็นหลักฐาน   

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2532

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง2532
 
ระหว่าง
  
สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับ บริษัทไทยเรยอน จำกัด
  
**************** 
 บริษัทไทยเรยอน จำกัด 
 
 วนัที่  21  มิถุนายน  2532  
 
ตามที่ฝ่ายคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอน  ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงสภาพการจ้างต่อบริษัทไทยเรยอน จำกัด  เมี่อวันที่  31  พฤษภาคม  2532  รวม  47  ข้อ  (ตาม สำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้ ) 
 
 
ฝ่ายบริหารของบริษัทไทยเรยอน จำกัด และผู้แทนของสหภาพแรงงานไทเรยอน  ได้เริ่มเจรจากันครั้งแรกเมื่อวันที  3  มิถุนายน  2532  และในที่สุดผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ สามารถทำความตกลงกันได้เมื่อวันที่  21 มิถุนายน 2532 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า  “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง”  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 1.  บริษัทฯ ตกลงกรณีการเพิ่มค่าจ้าง  เช่น  การปรับค่าจ้างประจำปี  การปรับค่าจ้างเมื่อเลื่อนตำแหน่ง การปรับค่าจ้างขั้นต่ำฯลฯ ดังนี้ 
1.1  กรณีพนักงานซึ่งได้รับค่าจ้างรายเดือน  หลังการคำนวณแล้วมีเศษสตางค์ปรับเป็นหน่ึงบาท 
1.2  กรณีพนักงานซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน  หลังการคำนวณแล้วมีเศษสตางค์ปรับ ดังนี้           
  • 1.2.1  กรณีเป็นเศษสตางค์ซึ่งน้อยกว่ำ 50 สตางค์ ปรับเป็น  50  สตางค์       
  • 1.2.2  กรณีเป็นเศษสตางค์มากกว่า 50 สตางค์ ปรับเป็นหน่ึงบาท
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพข้อที่ 2.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 22  ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2529 และให้ใช้ ข้อความต่อไปนี้แทน ในกรณีที่รัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำบริษัทฯ ตกลงปรับอัตราค่าจ้างของ พนักงานตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
 
2.1  กรณีที่ค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 3 บาท  จะปรับให้เท่ากับจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากเดิมให้กับพนักงานทุกคน 
2.2  กรณีที่ค่าจ้ำงขั้นต่ำใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิมเกินกว่า 3 บาท  จะปรับค่าจ้าง ดังนี้ 
     
  • 2.2.1  บริษัทฯ จะปรับค่าจ้าง 50% ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างขั้นต่ำเดิมให้กับพนักงานที่มีค่าจ้างตั้งแต่ระดับค่าจ้างถัวเฉลี่ยขึ้นไป             
  • 2.2.2  ส่วนพนักงานที่มีค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างถัวเฉลี่ยลงไปถึงค่าแรงขั้นต่ำ บริษัท จะปรับให้ 100% ขอจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น

****คำว่า  “ค่าจ้างถัวเฉลี่ย” หมายถึงค่าจ้างพนักงานปั้มบัตรทุกคนหารด้วยจำนวนคน

ข้อตกลงข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 3.  
3.1  บริษัทฯ ตกลงเพิ่มเงินค่ำครองชีพจากเดิม 1,399 บาทต่อเดือน เป็น 1,650  บาทต่อเดือน ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2532
3.2  ในการปรับเงินค่าครองชีพในวันที่ 1 มิถุนายน 2533 ให้ใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานรายวันทั้งหมด รวมกับพนักงานรายเดือนที่มีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 11,000 บาท  ลงมา
3.3  ในการปรับเงินค่าครองชีพในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ให้ใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานรายวันทั้งหมด  รวมกับพนักงานรายเดือนที่มีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 12,000 บาท  ลงมา สูตรการคิดคำนวณเงินค่าครองชีพพร้อมหลักเกณฑ์การจ่ายค่าครองชีพตาม ข้อ 3.2 และข้อ 3.3 ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4.  ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 4 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 และข้อ 3 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 
 
4.1  กรณีที่พนักงานที่มีคุณวุฒิการศึกษา ตั้งแต่ประโยคอาชีวศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ม. ศ.6) หรือพนักงานที่มีคุณวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6 หรือ ม.ศ.5) หรือเทียบเท่าขึ้นไป จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานครบทดลองงาน 180 วันแล้วเท่ำนั้น 
4.2  กรณีที่พนักงานมีคุณวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3 หรือ ม.ศ.3) หรือ เทียบเท่าจะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานครบ 2 ปี แล้วเท่านั้น 
4.3  กรณีที่พนักงานช่างฝีมือ เช่น ช่างไฟฟ้า , ช่างซ่อมบำรุง , พนักงานขับรถ หรือผู้ทำงานเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมฯลฯ แม้จะไม่มีคุณวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.1 และ 4.2 ให้มีสิทธิ ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเช่นเดียวกัน การที่จะกำหนดว่าพนักงานตามข้อ 4.3  มีสิทธิเช่นเดียวกันกับพนักงานตามข้อ 4.1 , 4.2 หรือไม่นั้นให้นำประสบการณ์ อัตราค่าจ้างและความสามารถเป็นหลักในการพิจารณาเปรียบเทียบ 
4.4  กรณีพนักงานรายวันที่มิได้อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ 4.1 , 4.2  และ 4.3 จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานครบ 3 ปี แล้วเท่านั้น 
4.5  การพิจารณาปรับค่าจ้างของพนักงานรายวันเป็นพนักงานรายเดือนตามข้อตกลงนี้ให้นำผลการปฏิบัติงานการมาทำงานโดยสม่ำเสมอ และความประพฤติมาเป็นหลักในการพิจารณา ประกอบด้วย ในกรณีที่พนักงานมีอายุครบที่จะได้รับการพิจารณาปรับค่าจ้างเป็นพนักงานรายเดือนตามคุณวุฒิของแต่ละคน หากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นที่พอใจของบริษัทฯ บริษัทฯ จะไม่ปรับเป็นพนักงานรายเดือนในทันที แต่จะพิจารณาผลการปฏิบัติงานอีกครั้งเมื่อครบ 3 เดือน หากยังไม่ปฏิบัติงานได้ดีขึ้นบริษัทฯ จะใหโ้อกาสอีก 2 ครั้ง ๆ ละ 3 เดือน เมื่อครบกำหนดดังกล่าว (รวม 9 เดือน) พนักงานผู้นั้นยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ให้บริษทัฯ มีสิทธิเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นโดยจ่ายเงิน ชดเชยให้ตามกฎหมาย
4.6  การปรับอัตราค่าจ้างรายวันเป็นค่าจ้างรายเดือนตามข้อนี้ให้เอาค่าจ้างปัจจุบันคูณด้วย 30
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 5.  ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม (คือข้อที่ 1 ลงว้นที่ 1 มิถุนายน 2527)
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 6.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 5 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 และข้อที่ 2 ลง วันที่ 1 มิถุนายน 2527  และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 
6.1  บริษัทฯ จะหักเงินสะสม 5% (ห้าเปอร์เซ็น) จากค่าจ้างมูลฐานของพนักงานแต่ละคน ทุก ๆ เดือนไม่ว่าพนักงานผู้นั้นจะได้รับค่าจ้างจริงเท่าใด เว้นแต่พนักงานผู้นั้นมีค่าจ้างที่ได้รับจริงน้อยกว่าจำนวนเงิน  สะสม ที่จะต้องหักไว้ 
 
***คำว่าค่าจ้างมูลฐานตามข้อตกลงนี้ หมายถึง ค่าจ้างของพนักงานแต่ละคนที่บริษัทฯ ได้กำหนด ไว้โดยไม่รวมเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 
 
ตัวอย่าง  อัตราค่าจ้าง 6,000 บาท หักเงินสะสม 5% เป็นเงิน 300 บำท 
 
ในกรณีพนักงานผู้นั้น ทำงานล่วงเวลาหรือลาโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็ตามก็คงหักเงินสะสม 5% จากอัตราค่าจ้าง 6,000 บาท เช่นเดิม ในกรณีการหักเงินสะสมตามวรรคแรก ถ้ามีเศษของจำนวนเต็มเป็นเศษสตางค์ตั้งแต่ 0.25 สตางค์หรือตั้งแต่ 5.25 บาท จะปรับเป็น 5 บาท หรือ 10 บาท ตามลำดับ 
 
ตัวอย่าง  กรณีคำนวณได้ 100.25 บาท ปัดเป็น 105 บาท  กรณีคำนวณได้ 105.25 บาท ปัดเป็น 110 บาท 
 
6.2  การหักเงินสะสมตามข้อ 6.1 นี้จะมีผลบังคับใช้เฉพาะพนักงานที่ทำงานครบ 1 ปีขึ้นไป แล้วเท่านั้น 
 
6.3  บริษทัฯ จะนำเงินทั้งหมดของพนักงานฝากไว้กับธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด ตามที่สหภาพแรงงานฯ และบริษัทฯ เห็นชอบร่วมกัน         
 
6.3.1 กรณีนำเงินสะสมทั้งหมดฝากไว้กับธนาคาร บริษทัฯ  จะขอความร่วมมือจากธนาคารเพื่อให้ทำสมุดคู่ฝากในนามของพนักงานแต่ละคนมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามระเบียบของธนาคาร
6.3.2  กรณีนำเงินสะสมทั้งหมดฝากไว้กับสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด ให้พนักงานแสดงความประสงค์ตามแบบที่บริษัทฯ กำหนดและสหกรณ์ออมทรัพย์จะปฏิบัติเช่นเดียวกับธนาคาร ทั้งนี้บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบหากพนักงานไม่สามารถขอคืนเงินสะสม จากสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ว่ากรณีใด ๆทั้งสิ้น 
6.4  เงินสะสมตามข้อ 6.1 บริษัทฯ จะนำฝากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพยส์หภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด ภายใน 3 วัน หลังจากวันจ่ายค่าจ้างงวดประจำวันที่ 7  ของแต่ละเดือน  ทั้งนี้ไม่รวมถึงวันหยุดราชการ,วันหยุดของธนาคาร หรือวนัหยุดของสหกรณ์ออมทรัพย์และบริษัทฯ จะมอบสำเนาใบรับฝากเงินซึ่งธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ออกให้มอบให้แก่สหภาพแรงงานฯ  ทุกครั้งที่ได้นำเงินสะสมไปฝากแล้ว
 
6.5  บริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบตามยอดเงินสะสมที่หักจากค่าจ้างมูลฐานของพนักงานแต่ละคน ดังนี้   
จำนวนปีของเงินสะสม    บริษัทฯจะจ่ายอัตตราเงินสมทบ   
  • ครบ  3  ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ  4  ปี     30%   
  • ครบ  4  ปี ”   5  ปี     40%   
  • ครบ  5  ปี ”   6  ปี     50%   
  • ครบ  6  ปี ”   7  ปี     60%   
  • ครบ  7  ปี ”   8  ปี     70%   
  • ครบ  8  ปี ”   9  ปี     80%   
  • ครบ  9  ปี ”  10  ปี     90%   
  • ครบ 10  ปีขึ้นไป        100% 

6.6  อัตราเงินสมทบตามข้อ 6.5 นี้ บริษัทฯ จะจ่ายให้ก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นพ้นสภาพจากการ เป็นพนักงานของบริษัทฯ ทั้งนี้เว้นแต่พนักงานผู้นั้นได้รับโทษทางวินัยถึงขั้นไล่ออกจากงานหรือปลดออกจากงาน ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบจากบริษัทฯแต่มีสิทธิได้รับเฉพาะเงินสะสมและดอกเบี้ย ตามระเบียบของธนาคารหรือ สหกรณ์ออมทรัพย์เท่านั้น
6.7  บริษัทฯ จะแจ้งยอดเงินสะสมให้พนักงานทุกคนทราบรายปีๆละครั้ง
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 7. 
7.1  บริษัทฯ ยินดีจะโอนเงินสะสมซึ่งฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาอ่างทอง ไปฝากกับธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาอ่างทอง หรือธนาคารอื่นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด อ่างทอง ซ่ึงให้บริการและผลประโยชน์ตอบแทนที่ดีกว่าแก่พนักงาน
7.2  ให้จัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารกองทุนเงินสะสมพนักงานบริษัทไทยเรยอน จำกัด”  ขึ้นมาคณะหนึ่งประกอบด้วย ผู้แทนบริษัทฯ และผู้แทนสหภาพแรงงานฯ ฝ่ายละ 3 คน เพื่อทำหน้าที่ บริหารกองทุนนี้แทนพนักงานทั้งหมด และมีอำนาจออกกฎหรือระเบียบใดๆ เกี่ยวกับเงินกองทุนนี้
7.3  ในการถอนเงินจากกองทุนฯ  เพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานผู้พ้นสภาพการเป็นพนักงานของ บริษทัฯ จะต้องมีคณะกรรมการ 2 ใน 6 คน เป็นผู้ลงนามถอนเงิน กรรมการผู้ลงนามจะต้องประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายบริษัทฯ และสหภาพแรงงานฝ่ายละ 1 คน และหากเงินสะสมดังกล่าวของพนักงาน ต้องถูกหักเพื่อการชำระหนี้ใดๆ ให้หักชำระหนี้แก่บริษัทฯ ก่อน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 8.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 13 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523 ข้อ 3 ข้อ 9 และ ข้อ 10 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2529 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 
8.1  บริษัทฯ จะจ่ายค่าทำขวัญให้แก่พนักงานผู้ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเงิน 1,000 บาท  (หนึ่งพันบาทถ้วน) ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง 
 
โดยให้นำหลักเกณฑ์ต่อไปนี้มาพิจารณา
  • ก.  มีบาดแผลแตกเย็บตั้งแต่  1  เข็มขึ้นไป
  • ข.  แขน ขา หรือวัยวะส่วนอื่นหักหรือเดาะ
  • ค.  สิ้นสติ (สลบ)
  • ง.  กรณีอื่นๆ ตามที่บริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯ ร่วมกันพิจารณาเห็นสมควร
 
8.2  ในกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงานไม่ถึงขั้นสาหัสบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างเต็ม 100%  (เพิ่มขึ้นอีก 40% จำกกองทุนเงินทดแทน) สำหรับการรักษาพยาบาลตามใบรับรองแพทย์ซึ่งไม่ เกิน 15 วัน
8.3 ในกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นสาหัส และเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างเต็ม 100%  (เพิ่มขึ้นอีก 40% จากกองทุนเงินทดแทน) ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลและจ่าย 100% สำหรับระยะเวลาที่แพทย์อนุญาตให้พักฟื้นซึ่งไม่เกิน 30 วันด้วย
8.4  ในกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงานที่ไม่เข้าข่ายตามข้อ 8.2 และ 8.3 บริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานตามกฎหมายแรงงาน 
8.5  กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นสาหัส  แต่ไม่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงานบริษัทฯ จะปรึกษากับแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลเพื่อทำศัลยกรรมตกแต่งให้ดีที่สุด จนกระทั่ง แพทย์ลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาหรือทำศัลยกรรมตกแต่งให้ดีกว่านั้นแล้ว อย่างไรก็ดี บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินค่าทำขวัญนอกเหนือจากข้อ 8.1 แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ซ่ึงจะเป็นจำนวน เท่าใดให้คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานเป็นผู้พิจารณาเสนอต่อประธานบริษัทฯ เพื่อ อนุมัติต่อไป
8.6  บริษัทฯ จะไม่นำเอาวันหยุดตามข้อตกลงฯ ข้อ 8.2 และ 8.3 มาคิดคำนวณในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีและการจ่ายเงินโบนัส
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 9.   ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ ในปัจจุบัน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 10. 
 
10.1  ในกรณีพนักงานถูกพิจารณาโทษทางวินัยถึงขั้นเลิกจ้าง และถูกสั่งให้พักงานระหว่างการสอบสวน เมื่อบริษัทฯ เห็นสมควรไม่เลิกจ้าง ในกรณีนี้ถ้าบริษัทฯ ใช้เวลาในการตัดสินเกินกว่า 6 วัน บริษทัฯ จะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เกิน 6 วัน นั้น 
10.2  ในกรณีพนักงานถูกพิจารณาโทษทางวินัยถึงขั้นเลิกจ้างและถูกสั่งให้พักงานในระหว่างการสอบสวนเมื่อบริษัทฯ ตัดสินเลิกจ้าง ในกรณีนี้ถือว่าพนักงานถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ถูกสั่ง ให้พักงาน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 11. 
 
11.1  บริษัทฯ ตกลงเพิ่มค่าคุ้มครองการประกันสุขภาพหมู่ตามตารางผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ 
 
ตารางผลประโยชน์  
 
1.  ค่าห้องและค่าอาหารวันละ 600 บาท (สูงสุด 30 วัน ต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง) 
2.  ค่าใช้จ่ายและบริการทั่วไปของโรงพยาบาล 15,000 บาท (สูงสุดต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง) 
3.  ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด 9,000 บาท (ตามความเป็นจริงแต่ละครั้ง)   
4.  ค่าธรรมเนียมแพทย์ดูแล วันละ 150 บาท (สูงสุด 30 วัน ต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง)   
5.  ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษเฉพาะโรค 1,500 บำท (จะนำไปรวมกับข้อ 2 และข้อ 3 แล้วแต่กรณี) 
6.  ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน 1,000 บาท (สูงสุดต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง) 
7.  ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับโรงพยาบาล 400 บาท ค่ารักษาผู้ป่วยนอกกับคลีนิค 100 บาท (15 ครั้งต่อ 15 วันต่อโรค สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี)
8.  ค่าผ่าตัดเพราะการคลอดบุตรตามความเห็นของแพทย์ 3,000 บาท ค่าคลอดบุตรปกติและแท้งบุตร 1,500 บาท
9.  ค่าถอนพัน (สูงสุดต่อปีไม่เกิน  300 บาท) 300 บาท 
10.  ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล (คนไข้ใน) และต้องรักษา ต่อเนื่องเมื่อแพทย์นัดหมายครั้งละ 500 บาท (ภายในระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน นับตั้งแต่ที่ออกจากโรงพยาบาล) 
 
11.2  กรณีพนักงาน,คู่สมรสหรือบุตรของพนักงานเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล โดยใช้เครดิตบริษัทฯ จะจ่ายเงินส่วนที่เกินจากการคุ้มครองตามตารางผลประโยชน์ข้อที่  1-10  แทน  พนักงานไปก่อน และจะหักคืนจนกว่าจะครบดังนี้     
11.2.1  กรณีพนักงานได้รับค่าจ้าง ณ วันสิ้นเดือน หักคืนเดือนละ 1,000 บาท 
11.2.2  กรณีพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเดือนละ 2 งวด หักคืนงวดละ 500 บาท  
           
 ***สำหรับเงินซ่ึงบริษัทฯ จะออกแทนพนักงานนั้นจะเป็นเงินซึ่งเกินจากตาราง ผลประโยชน์ ข้อ 11.1 ไม่เกิน  80,000  บาท  หากจำนวนเงินเกินกว่า 80,000 บาท พนักงานต้องนำหลักทรัพย์ หรือข้าราชกำรตั้งแต่ ซี.3  หรือพนักงานอื่นจำนวน 2 คน ขึ้นไปค้ำประกันต่อบริษัทฯ
 
11.3  บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล กรณีการเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใช้เงินสด ให้แก่พนักงาน ภายใน 5 วัน นับตั้งแต่วันที่พนักงานผู้นั้นได้มอบหลักฐานถูกต้อง
11.4  ให้คงจำนวนคลีนิคซึ่งสามารถรับการรักษาพยาบาลโดยเครดิตไว้เท่าเดิม 
 
11.5  เพิ่มโรงพยาบาลโดยใช้เครดิตในโรงพยาบาลต่อไปนี้ 
  • 11.5.1  โรงพยาบาลอ่างทองเวชการ จ.อ่างทอง
  • 11.5.2  โรงพยาบาลนายแพทย์ประเจิด  จ.สิงห์บุรี         
  • 11.5.3  โรงพยาบาลพญาไท 2  จ.กรุงเทพมหานคร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 12.  บริษัทฯ ได้สั่งซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับรถพยาบาลฉุกเฉินแล้วตั้งแต่ วันที่ 12 พฤษภาคม  2532 และกาหนดหลักเกณฑ์การใช้ ดังนี้ 
 
12.1  กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงานหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินในบริเวณบริษัทฯ ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเร่งด่วน ณ โรงพยาบาลอ่างทอง บริษัทฯ จะอำนวยความสะดวกโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ   
12.2  กรณีพนักงานของบริษัทฯ ป่วยนอกงานหรือบิดา,มารดา,คู่สมรส และบุตร ของ พนักงานเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะคนไข้ในของโรงพยาบาลซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ภาคกลาง หากแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลมีความเห็นควรส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ให้ร้องขอใช้รถพยาบาลฉุกเฉินต่อบริษัทฯ ทั้งนี้พนักงานต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในอัตรากิโลเมตรละ 2 บาท 
12.3  บริษัทฯ สงวนสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ทั้งของรัฐและเอกชนใช้ประโยชน์จากรถพยาบาลฉุกเฉินนี้ด้วย ตามที่บริษทัฯ พิจารณาเห็นสมควร  อน่ึง ระเบียบการใช้รถพยาบาลฉุกเฉิน บริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯ จะร่วมกันจัดทำขึ้นและประกาศให้พนักงานได้ทราบต่อไป
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 13.  บริษัทฯ ตกลงในเรื่องระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานและการจ่ายเงินค่าครองชีพ ดังนี้คือ 
 
13.1  พนักงานใหม่ซึ่งอยู่ในสัญญาทดลองปฏิบัติงาน 180 วัน บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าครองชีพให้กับพนักงานผู้นั้นเมื่อทดลองปฏิบัติงานครบ 90 ว้นแล้ว
13.2 พนักงานชั่วคราวซึ่งต่อมาภายหลังบริษัทฯ เห็นเหมาะสมให้ว่าจ้างเป็นลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน โดยทำงานในหน้ำที่เดิม พนักงานผู้นี้จะต้องอยู่ในสัญญาทดลองปฏิบัติงานไปจนครบ 180 วัน โดยนับรวมวันรวมวันทำงานในระหว่างการเป็นลูกจ้างชั่วคราวด้วย และมีสิทธิได้รับเงินค่าครองชีพทันทีหากได้ทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวมาแล้วเกิน 90 วัน แต่ถ้าพนักงานผู้นั้นทำงานชั่วคราวมาไม่ครบ 90 วัน เมื่อรวมระยะเวลาซึ่งได้ทำงานชั่วคราวกับระยะเวลาทดลองงานครบ 90 วันแล้ว ก็ให้ได้รับเงินค่าครองชีพด้วยเช่นกัน
13.3  พนักงานชั่วคราวซึ่งได้ปฏิบัติงานมาแล้วเกิน 180 วัน และต่อมาภายหลังบริษัทฯ เห็นเหมาะสมให้ว่าจ้างเป็นพนักงานประจำในหน้าที่เดิม พนักงานผู้นั้นจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำและมีสิทธิได้รับผลประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับพนักงานประจำ
13.4  พนักงานชั่วคราวตามข้อ 13.2  และหรือ 13.3 ซึ่งต่อมาในภายหลังบริษัทฯ เห็นเหมาะสมให้ว่าจ้างเป็นพนักงานทดลองงานในหน้าที่ใหม่ ในกรณีนี้ให้นำข้อตกลงข้อ 13.1 มาใช้โ้ดยอนุโลม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 14.  พนักงานที่มีความประสงค์จะขอเกษียณอายุตัวเองก่อนครบกำหนดเกษียณอายุตามระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ ไม่เกิน 5 ปี บริษัทฯ อาจอนุญาตให้พนักงานผู้นั้นเกษียณอายุก่อนได้โดยบริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าชดเชยให้เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือน บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้พนักงานซึ่งประสงค์จะเกษียณอายุตัวเองล่วงหน้าก็ได้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 15.  เงินโบนัสประจำ ปี 2532,ปี 2533 และ ปี2534 
 
15.1  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2532  ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงาน ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี   85 วัน   
ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี   90 วัน   
ครบ  4  ปี  ขึ้นไป  110 วัน 
 
15.2  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2533 ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงาน    ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี   90 วัน   
ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี   95 วัน   
ครบ  4  ปี  ขึ้นไป     110 วัน 
 
15.3  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2534 ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงาน    ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี   95 วัน  
ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี  100 วัน 
  ครบ  4  ปี  ขึ้นไป   112 วัน 
 
15.4  พนกังานที่ทำงานครบ 6 เดือนขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 1 ปี โดยนับถึงวันจ่ายเงินโบนัส ให้ได้รับเงินโบนัสลดลงตามส่วน ตามจำนวนวันของอายุงาน 1 ปี สำหรับโบนัสประจำ ปี 2532,2533,2534 สำหรับระเบียบการหกััฃเงินโบนัสให้เป็นไปตามระเบียบเดิม 
 
15.5  ในกรณีพนักงานปฏิบัติงานครบ 5 ปีขึ้นไป และลาออกจากงานบริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสให้ตามสัดส่วนของระยะเวลาการทำงานในปีนั้นๆ
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 16.  บริษัทฯ จะให้ผู้รับเหมารถ รับ-ส่ง พนักงานกะจี ทั้งสายระหว่าง โรงงาน-ป่าโมก และ โรงงาน-อ่างทอง ทำการแก้ไขปรับปรุงสภาพรถให้อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยกว่าที่เป็นอยู่
 
ข้อตกลงข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 17.  บริษัทฯ ตกลงเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 
17.1  ในกรณีที่พนักงานของบริษัทฯ  ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ห่างโดยระยะทางทั้งไป และ กลับ รวมกันเกินกว่า 150 กิโลเมตร และหรือทั้งไปและกลับรวมกันใช้เวลารวมกันเกินกว่า 5 ชั่วโมง บริษัทฯ จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ดังนี้   
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเช้า              25   บาท
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อกลางวัน       35  บาท
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเย็น              35  บาท 
 
17.2  สำหรับพนักงานขับรถและพนักงานประจำรถซ่ึง รับ-ส่งสินค้า ระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง จะได้รับเบี้ยเลี้ยง ดังนี้         
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเช้า           25 บาท
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อกลางวัน    30  บาท
  • เบี้ยเลี้ยงอาหารมื้อเย็น           30  บาท
 
17.3  ในกรณีพนักงานขับรถออกไปปฏิบัตงานนอกสถานที่จากที่ระบุไว้ในข้อ 17.2  ห่างโดย ระยะทางทั้งไปและกลับรวมกันเกินกว่า 150 กิโลเมตร และหรือทั้งไปและกลับใช้เวลารวมกันเกินกว่า 5 ชั่วโมง บริษทัฯ จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เช่นเดียวกับพนักงานตามข้อ 17.1 
 
*****หมายเหตุ  ความหมายของอาหารแต่ละมื้อ
  • มื้อเช้า หมายถึง การรับประทานอาหารในเวลา 07.00 น.
  • มื้อกลางวัน หมายถึง การรับประทานอาหารในเวลา  12.00 น.
  • มื้อเย็น หมายถึง การรับประทานอาหารในเวลา  18.00 น.
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 18.  บริษัทฯ ตกลงจะให้การช่วยเหลือเป็นเงินแก่พนักงานในกรณี ดังต่อไปนี้ 
 
18.1  กรณีพนักงานเสียชีวิต บริษัทฯ จะจ่ายเงินช่วยค่าทำศพจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ให้แก่ทายาทตามกฎหมายของพนักงาน 
18.2  กรณีบิดา,มารดา,คู่สมรส หรือบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานถึงแก่กรรมบริษัทฯ จะทำบุญรายละ 2,000 บาท พร้อมพวงหรีดคารวะศพในนามบริษัทฯ 1 พวง
18.3  กรณีพนักงานอุปสมบท หรือสมรส บริษทัฯ จะจ่ายเงินทำบุญหรือช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท พนักงานซึ่งจะได้รับสิทธิตามข้อนี้จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งบริษัทฯ กำหนด  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 19.  บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงร้านอาหารปัจจุบัน ณ ตึกวิสโคส ดังนี้ 
 
19.1  ให้มีร้านอาหาร รวมเป็น 3 ร้าน     
19.2  เพิ่มราคาค่าข้าวต้มซึ่งผู้รับเหมา จัดทำสำหรับพนักงานซ่ึงปฏิบัติหน้าที่ในกะดึกเป็นคน ละ 5 บาท
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 20.  บริษัทฯ ตกลงให้เพิ่มผู้แทนทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายสหภาพแรงงาน เป็นฝ่ายละ 5 คน ในคณะกรรมการควบคุณคุณภาพอาหาร,คณะกรรมการกีฬา และคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 21.  บริษัทฯ ยินดีจัดสรรงบประมาณสำหรับการเลี้ยงส่งให้แก่พนักงานซึ่งครบกำหนดเกษียณอายุ ดังนี้ 
 
21.1  ซื้อของที่ระลึกให้กับพนักงานผู้นั้น มูลค่าประมาณ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) 
21.2  บริษัทฯ จะจัดงบประมาณเพื่อการเลี้ยงส่งพนักงานผู้เกษียณอายุ โดยจ่ายให้เป็นรายบุคคลเป็นเงินคนละ 30 บาท ตามจำนวนพนักงานที่มีอยู่ในแผนกนั้นๆ ทั้งนี้จะไม่น้อยกว่า 1,500 บาท (หน่ึงพันห้าร้อยบาทถ้วน) ต่อกำรจัดงานเลี้ยงส่งให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุแต่ละคน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 22.  บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมาณสำหรับการทัศนาจรให้แก่พนักงานเป็นเงินปีละ 120,000 บาท โดยให้ผู้แทนสหภาพแรงงานฯ และบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดรูปแบบการจัดการทัศนาจรในแต่ละปี ทั้งนี้จะต้องใช้เวลาไปกลับจากโรงงานยังสถานที่ท่องเที่ยวไม่เกิน 24 ชั่วโมง
 
งบประมาณที่บริษัทฯ จัดสรรให้นี้ให้สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเช่ารถ,ค่าเข้าชมสถานที่,ค่าอาหาร,ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายจะกำหนดขึ้นในแต่ละปี 
 
***อนึ่ง พนักงานที่มีสิทธิเดินทางทัศนาจรต้องเป็นพนักงานซึ่งมีวันหยดุประจำสัปดาห์ ณ วันที่กำหนด
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 23. 
บริษัทฯ จะจัดทุนการศึกษาปีละ 60 ทุนๆ ละ 1,000 บาท ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ พนักงาน ซึ่งได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือนๆ ละไม่เกิน 9,000 บาท (เก้าพันบาทถ้วน) สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องสหภาพฯ ข้อที่ 24. 
 
24.1  บริษัทฯ จะจัดงบประมาณสำหรับจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ดังนี้         
  • ประจำ ปี พ.ศ. 2532  จำนวนเงิน 100,000 บาท  
  • ประจำ ปี พ.ศ. 2533  จำนวนเงิน 110,000 บาท         
  • ประจำ ปี พ.ศ. 2534  จำนวนเงิน 120,000 บาท 
 
24.2  ในการจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ทุกปี บริษัทฯ จะมอบหมายให้ฝ่ายบริหารงานบุคคลและธุรการดำเนินการตามที่พิจารณาเห็นสมควรเพื่อเชิญบุคคลใดๆ นอกเหนือจากพนักงานประจำมาร่วมงานและรวมทั้งการของบประมาณเพิ่มเพื่อการจัดงานสำหรับบุคคลซ่ึงรับเชิญด้วย 
24.3 ให้มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนของฝ่ายบริหารและสหภาพแรงงานฯ ฝ่ายละไม่เกิน 5 คน ดำเนินการจัดงานรวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณตาม ข้อ 24.1
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 25.  บริษัทฯ ตกลงแจกรองเท้าให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุง ดังนี้ 
 
25.1  แจกภายในเดือนมกราคมของทุกปี 1 คู่ และแจกภายในเดือนมิถุนายนของทุกปี 1 คู่  ให้ผู้แทนของฝ่ายบริหารและสหภาพแรงงานฯ ร่วมกันกำหนดรูปแบบรองเท้าที่เหมาะสม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 26.  บริษัทฯ ตกลงตัดเครื่องแบบประจำปีจ่ายให้กับ แผนก เอฟ.ไอ.พี. และ ซีวิล ทุกคน โดยพิจารณาจากสภาพการทำงานว่าพนักงานคนใดควรใช้เสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวในการทำงาน
 
***อนึ่ง ให้งดจ่ายชุดทำงานซึ่งจัดไว้เป็นส่วนกลางในแผนกซีวิลด้วย
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 27.  บริษัทฯ จะจัดงบประมาณเพื่อการกีฬาให้แก่พนักงานในวงเงินปีละ 60,000 บาท และกำหนดหลักเกณฑ์ดังนี้ 
27.1  ให้ใช้งบประมาณนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในระหว่าง พนักงานของบริษัท และการจัดทีมกีฬาเพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างบริษัทฯ และ หน่วยงานอื่นตามที่คณะกรรมการกีฬาเห็นสมควร 
27.2  หากการใช้งบประมาณแต่ละปียังมียอดคงเหลืออยู่จะไม่มีการนำไปสมทบกับงบประมาณในปีอื่นใด 
27.3  การจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้ผ่านฝ่ายจัดซื้อของบริษัทฯ ทั้งสิ้น กรณีจะจัดซื้ออุปกรณ์ใดๆ ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกีฬากำหนดให้คืนฝ่ายจัดซื้อเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามที่ต้องการ   
27.4  การเบิกจ่ายงบกีฬาให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ใช้ในขณะนี้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 28.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อที่ 11 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2529 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทนบริษัทฯ ตกลงจะให้เงินรางวัลความเพียรประจำปีแก่พนักงานที่ปั้มบัตรเข้ำทำงาน หากพนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานเต็มตลอดปีปฏิทินคือ ไม่ลาป่วย,ไม่ขาดงาน,ไม่ลากิจ ตลอดปี หรือ มาทำงานสายครั้งละไม่เกิน 5 นาที รวมกันไม่เกิน 30 นาทีต่อปี จะได้รางวัลความเพียร ณ วันจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ดังนี้ 
 
28.1  กรณีพนักงานซ่ึงปฏิบัติงานเฉพาะเวลาปกติ (กะจี) ให้ได้รับรางวัลความเพียรคนละ 3,000 บาท 
28.2  กรณีพนักงานซ่ึงปฏิบัตติงานเป็นกะ (กะเช้า,บ่าย,ดึก) ให้ได้รับรางวัลความเพียรคนละ 4,000 บาท   
28.3  พนักงานคนใดทำงานเข้ากะ ( เอ,บี หรือ ซี ) สลับกับทำงานในกะจี (กะปกติ) หากรวมจำนวนวันซ่ึงได้ปฏิบัติงานตลอดปีในกะ (เอ,บี หรือซี) แล้วน้อยกว่า 180 วัน ให้ได้รับรางวัลตามข้อ 28.1 หากมากกว่า 180 วัน ให้ได้รับรางวัลตาม ข้อ 28.2 แล้วแต่กรณี 
 
***อนึ่ง การเหล่านี้ไม่นำมาพิจารณาในการได้รับสิทธิรางวัลความเพียร ได้แก่ พนักงานซ่ึงลางานเพื่องานศพ บิดา,มารดา,คู่สมรสหรือบุตร,ลาแต่งงาน,ลาเพื่อให้การเป็นพยานในศาล,ลาเพื่อรับการเกณฑ์ทหารตามกำหนดของทางราชการ ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน 8 วัน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 29.  บริษัทฯ จะสร้างหอพักครอบครัวซ่ึงมีห้องนอน และแยกห้องครัวกับห้องโถงออกจากกัน ให้กับพนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งลีดเดอร์ จำนวน 24 ครอบครัว ภายในเวลา 24 เดือน และทำการปรับปรุงหอพักพนักงานหญิงโสด ดังนี้
 
29.1  ขยายจำนวนห้องเพิ่มเป็น 8 ห้อง พร้อมทั้งจัดทำห้องอาบน้ำและห้องส้วมให้อยู่ด้านหลังของแต่ละห้องอย่างเป็นสัดส่วน
29.2  จัดทำฝ้ากันความร้อนโดยใช้วัสดุที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการแผ่ความร้อนจากหลังคา
29.3  เปลี่ยนทางเข้าใหม่ให้เข้าทางด้านตึกหอพักครอบครัว ทั้งนี้จะจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 30.  บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงหอพักพนักงานชายโสดและครอบครัว ดังนี้ 
30.1  บริษัทฯ จะทำการปรับปรุงห้องพักชั้นที่ 3 โดยจัดทำฝ้าด้วย วัสดุที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน การแผ่ความร้อนจากหลังคา หากบริษัทฯ ไม่สามารถหาวัสดุที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการดังกล่าวได้  บริษทัฯ จะใช้ฝ้าเพดานโดยใช้แผ่นวัสดุไมโครไฟเบอร์ ทั้งนี้จะดำเนินการให้เสร็จก่อนเดือนเมษายน 2533 
30.2  บริษัทฯ จะเจาะช่องหน้าต่างจำนวน 2 ช่อง พร้อมติดตั้งเหล็กดัดด้านหลังห้องพักแต่ละห้อง 
30.3  บริษัทฯ จะทำการต่อท่อน้ำโดยการแยกเฉพาะหอพักให้ใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 31.  บริษัทฯ ยินดีจะจัดหอพักให้แก่พนักงานที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดและทำงานเพียงคนเดียวให้ตามจำนวนห้องว่างที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยยึดถือตำแหน่งงาน,อายงุาน และอัตราเงินเดือนเป็นหลัก ในการพิจารณาตามลำดับก่อนหลัง  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 32.  บริษทัฯ ตกลงขยายสำนักงานสหภาพแรงงานฯ โดยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 80 ตารางเมตร (ตามแบบที่แนบข้อตกลงฯ นี้) ทั้งนี้จะแล้วเสร็จภายใน 9 เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 33.  บริษัทฯ จะขยายโรงจอดรถยนต์ซึ่งสามารถจอดได้รวม 30 คัน ทั้งนี้จะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 34.  บริษัทฯ จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของ “กองทุนช่วยเหลือเพื่อนพนักงานไทยเรยอน” ดังนี้ 
 
34.1 อนุญาตให้เบิกเงินเป็นการล่วงหน้าในทุกครั้งที่สมาชิกกองทุนหรือสมาชิกสมทบ เสียชีวิตตามจำนวนเงินที่จะหักจากสมาชิกกองทุน ซ่ึงสหภาพฯ จะจัดทำบัญชีรายชื่อมอบต่อบริษัทฯ และบริษัทฯ จะจ่ายเงินภายใน 3 วัน 
34.2  บริษัทฯ จะหักเงินค่าจ้างของสมาชิกกองทุนแต่ละคนจากค่าจ้างงวดประจำวันที่ 22 ของทุกเดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 35.  บริษัทฯ อนุญาตให้กรรมการสหภาพแรงงานฯ ลาไปดำเนินกิจกรรมของสหภำพฯ และ กิจกรรมของสหกรณ์ได้ปีละไม่เกิน 60 วัน สำหรับเงื่อนไขอื่นให้เป็นไปตำมข้อตกลงเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 36.  บริษัทฯ ยินดีให้กรรมการสหกรณ์สามารถลาไปเพื่อดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ได้ โดยการใช้วันลาร่วมกับคณะกรรมการบริหารสหภาพฯ ในข้อ 35 และปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การลา เช่นเดียวกับ ข้อ 35 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 37.  กรณีคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานและผู้แทนประจำแผนก จะจัดสัมมนา ให้สหภาพฯ เสนอรายละเอียดของการสัมมนาเพื่อขออนุญาติต่อบริษัทฯ ได้ป้ีละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 วัน โดยบุคคลที่เข้าร่วมอบรมสัมมนาดังกล่าวจะถือเป็นวันทำงานตามปกติ ผู้แทนสมาชิกประจำแผนก กรรมการบริหารสหภาพแรงานฯ และกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย ท์ี่ลาเมตตาจิตตาม ข้อ 28 ลาไปดำเนินกิจกรรมสหภาพฯ และสหกรณ์ฯ ตามข้อ 35 และเข้าร่วม อบรมสัมมนาตาม ข้อ 37 หากรวมวันลาทั้งหมดแล้วไม่เกิน 10 วัน จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลความเพียร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 38.   ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ยกเลิก
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 39.  บริษัทฯ ตกลงให้งบประมาณสนับสนุนการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหภาพแรงงานฯ เป็นเงินปีละ 12,000 บาท  ทั้งนี้ให้สหภาพแรงงานฯ นำใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่ายแต่ละรายการมอบให้ บริษัทฯทุกครั้ง  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 40  ทั้งสองฝ่ายให้ยกเลิกข้อนี้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 41.  บริษัทฯ ตกลงจัดประชุมร่วมกับสหภาพแรงงานฯ 3 เดือน ต่อครั้ง และในการประชุมจะมี ประธานบริษัทฯ รองประธานฯ (ฝ่ายวิศวกรรม) หรือรองประธานฯ (ฝ่ายผลิต) และผู้แทนฝ่ายบริหาร คนอื่นร่วมประชุมด้วย
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 42.  ทั้งสองฝ่ายตกลงให้จัดทำเป็นร้านค้าสวัสดิการพนักงานต่อไปตามเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 43.  บริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯ จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทน ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละ 10 คน และมีที่ปรึกษาฝ่ายละไม่เกิน 2 คน เพื่อทำการศึกษาโครงสร้างค่าจ้างตามระบบ จำแนกตำแหน่งที่ทั้งสองฝ่ายจะได้กำหนด โดยต้องทำการศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2533  ทั้งนี้เพื่อจะนำโครงสร้างดังกล่าวซึ่งรวมถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างสูงสุดในแต่ละระดับ และ เปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบการขึ้นค่าจ้างประจำปี เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 
ทั้งนี้ก่อนที่จะนำผลการศึกษาของคณะทำงานมาบังคับใช้ให้คณะทำงานส่งผลการศึกษาดังกล่าวให้ ผู้แทนในการเจรจาต่อรองที่มีรายชื่อตามท้ายข้อตกลงฯ ฉบับนี้ทำการอนุมัติให้ใช้ได้ก่อน  หากคณะทำงานไม่สามารถทำการศึกษาเสร็จก่อนเดือนกรกฎาคม 2533 หรือมีปัญหาในระหว่างการศึกษา โครงสร้างนี้ ให้คณะทำงานชี้แจง สาเหตุที่ทำให้ไม่อาจทำการศึกษาโครงสร้างค่าจ้างได้เสร็จทันกำหนดระยะเวลาหรือชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้แทนในการเจรจาต่อรองที่มีรายชื่อท้ายข้อตกลง ฉบับนี้เป็นผู้ตัดสินพิจารณาดำเนินการต่อไป 
 
การศึกษาโครงสร้าง การกำหนดอัตราค่าจ้างสูงสุดในแต่ละระดับ และการเปลี่ยนแปลง แก้ไขระบบการขึ้นค่าจ้างประจำปีดังกล่าวจะทำการศึกษาตั้งแต่พนักงานระดับต่ำกว่าผู้ช่วยหัวหน้าแผนกและผู้ช่วยหัวหน้าแผนกประจำกะลงมาจนถึงระดับคนงาน 
 
ในระหว่ำงที่กำลังทำการศึกษาโครงสร้างผู้นี้ ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้นำระบบ การขึ้นค่าจ้ำงประจำปีเป็นระบบเปอร์เซ็นมาใช้ โดยแบ่งเป็นช่วงตั้งแต่ 8,9,10 และ 11%   
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 44.  บริษัทฯ จะปรับค่าจ้างกรณีพนักงานได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากระเบียบเดิมเป็นระเบียบใหม่ คือ 
 
44.1  พนักงานใดได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากตำแหน่งคนงาน (Worker) มาเป็นตำแหน่ง เซมิ-สกิลล์  โอเปอร์เรเตอร์  (Semi-Skilled Operator) หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าพนักงานผู้นั้นจะได้รับ ค่าจ้างเพิ่ม 350 บาท (สามร้อยห้าสิบบาทถัวน) และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2532 เป็นต้นไป
44.2  พนักงานใดได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากตำแหน่ง เซมิ - สกิลล์  โอเปอร์เรเตอร์ ( Semi-Skilled Operator ) มาเป็นตำแหน่ง โอเปอร์เรเตอร์ (Operator) หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า พนักงานผู้นั้นจะได้รับค่าจ้างเพิ่ม 450 บาท  (สี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน) และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2532 เป็นต้นไป
44.3  พนักงานใดได้รับการเลื่อนตำแหน่ง จากตำแหน่งโอเปอร์เรเตอร์ (Operator) มาเป็นตำแหน่งลีดเดอร์ (Leader) พนักงานผู้นั้นจะได้รับค่าจ้างเพิ่ม 600 บาท (หกร้อยบาทถ้วน) และให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน  2532
44.4  สำหรับพนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งลีดเดอร์ในปัจจุบันจะได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นคนละ 300 บาท (สามร้อยบาทถ้วน) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2532 เป็นต้นไป 44.5  พนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งตามข้อ 44.1 และข้อ 44.2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2532 หากได้รับเงินเพิ่มน้อยกว่า 350 บาท หรือ 450 บาท ตามลำดับ บริษัทฯ ยินดีจ่ายเงินเพิ่ม จนครบตำมจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2532 เป็นต้นไป
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 45.  บริษัทฯ อาจพิจารณาเพิ่มกำลังคนตามที่บริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควรในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ ซีวิล,แวร์เฮำ้ส์,เอฟ.ไอ.พี. และไฟฟ้ำ
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 46.  บริษัทฯ จะปรับปรุงสนามฟุตบอลให้มีสภาพที่ดีขึ้น ให้มีลักษณะความลาดเอียงแบบหลังเต่า ที่เพียงพอทีจะไม่ทำให้น้ำขังในบริเวณสนาม พร้อมปลูกหญ้าแพรกและจัดทำก๊อกน้ำในบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้รดหญ้าในสนามฟุตบอลให้อยู่ในสภาพที่สวยงามให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 47. ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่น ๆ ที่มีผลบังคับใช้อยู่และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้มีผลใช้บังคับต่อไป 
 
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน คือสิ้นสุด ณ วนัที่ 31 พฤษภาคม 2535 และสหภาพแรงงานฯ จะไม่ยื่นข้อ เรียกร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว 
 
****อนึ่ง เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน กรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจ ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตยส์ุจริต และ สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย 
 
ในกรณีเกิดปัญหาตีความตามข้อตกลง ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้แรงงานจังหวัดท้องที่ และผู้แทนของทั้งสองฝ่ายๆ ละ 1 คน ร่วมกันเป็นผู้ตีความชี้ขาด ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ ได้อ่านข้อความและเข้าใจโดยตลอดแล้วจึง ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน   

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2535

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2535
 
ระหว่าง
 
สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับ บริษัทไทยเรยอน จำกัด
 
****************   
 
บริษัทไทยเรยอน จำกัด 
 
วันที่  4  กรกฎาคม  2535  
 
        ตำมที่ฝ่ายคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อบริษัทไทยเรยอน จำกัด เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม  2535 รวม 46 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้) และฝ่ายบริหารของบริษัทไทยเรยอน จำกัด ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงานไทยเรยอน เมื่อวันที่  30  พฤษภาคม  2535 รวม 1 ข้อ  เมื่อวันที่  2  มิถุนายน  2535  ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเจรจาต่อรองโดยตกลงให้เจรจำข้อเรียกร้อง ของทั้งสองฝ่ายรวมกันไป  ในที่สุดผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตามรายนามข้างท้ายข้อตกลงนี้  สามารถทำความตกลงกันได้เมื่อวันที่  4  กรกฎำคม  2535  ซึ้งต่อไปนี้เรียกว่า  “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 1.  กรณีที่รัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่  บริษัทฯ จะปรับอัตราค่าจ้างของพนักงานตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 
 
1.1  กรณีค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 5 บาท  จะปรับให้เท่ากับจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ให้กับพนักงานทุกคน 
 
1.2  กรณีที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากเดิมเกินกว่า 5 บาท จะปรับค่าจ้าง ดังนี้       
 
1.2.1  บริษัทฯ จะปรับค่าจ้าง 50%  ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างขั้นต่ำเดิมให้กับพนักงานที่มีค่าจ้างตั้งแต่ระดับค่าจ้างถัวเฉลี่ยขึ้นไป       
1.2.2  ส่วนพนักงานที่มีค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างถัวเฉลี่ยลงไปถึงค่าแรงขั้นต่ำ บริษัทฯ จะปรับให้ 100% ของจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น     
*****คำว่า “ค่าจ้างถัวเฉลี่ย” หมายถึง ค่าจ้างพนักงานปั้มบัตรทุกคนหารด้วยจำนวนคน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 2.     
2.1  บริษัทฯ ตกลงเพิ่มเงินค่าครองชีพจากเดิม 2,253 บาท ต่อเดือน เป็น 2,600 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535
2.2  ในการปรับเงินค่าครองชีพในวันที่ 1 มิถุนายน 2536 ให้ใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานรายวันทั้งหมดรวมกับพนักงานรายเดือนที่มีอัตราเงินเดือน ตั้งแต่ 15,000 บาท ลงมา 
2.3  ในการปรับเงินค่าครองชีพในวันที่ 1 มิถุนายน 2537 ให้ใช้ค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานรายวันทั้งหมดรวมกับพนักงานรายเดือนที่มีอัตราเงินเดือน ตั้งแต่ 16,000 บาท ลงมา สูตรการคิดคำนวณเงินค่าครองชีพตามข้อ 2.2 และ 2.3 ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 3.   ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 4. ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ข้อความ ต่อไปนี้แทน 
3.1  พนักงานที่มีคุณวุฒิการศึกษาตั้งแต่ มธัยมปีที่ 6 หรือ มธัยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.5) หรือ ประโยคอาชีวศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ป.ว.ช.) หรือเทียบเท่าขึ้นไป  จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานครบ 120 วัน แล้วเท่านั้น 
3.2  พนักงานที่มีคุณวุฒิการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3 หรือ ม.3)  หรือเทียบเท่าจะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานครบ 1 ปี แล้วเท่านั้น  
3.3  พนักงานช่างฝีมือ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างซ่อมบำรุง พนักงานขับรถ หรือผู้ทำงานเกี่ยวกับ ด้านวิศวกรรม ฯลฯ แม้จะไม่มีคุณวุฒิการศึกษาตามข้อ 3.1 และ 3.2 ให้มีสิทธิได้รับค่าจ้างรายเดือน เช่นเดียวกันการที่จะกำหนดว่าพนักงานตามข้อ 3.3 มีสิทธิเช่นเดียวกับพนักงานตามข้อ 3.1 และ ข้อ 3.2 หรือไม่นั้น ให้นำประสบการณ์  อัตราค่าจ้าง  และความสามารถเป็นหลักในการพิจารณาเปรียบเทียบ
3.4  พนักงานรายวันที่มิได้อยู่ในเกณฑ์ตามข้อ 3.1,3.2 และ 3.3 จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน เมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานครบ 2 ปี แล้วเท่านั้น
3.5  การพิจารณาปรับค่าจ้างของพนักงานรายวันเป็นรายเดือนตามข้อตกลงนี้ ให้นำผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานโดยสม่ำเสมอ และความประพฤติ มาเป็นหลักในการพิจารณาประกอบด้วย เมื่อพนักงานปฏิบัติงานครบระยะเวลาที่จะได้รับการพิจารณาปรับค่าจ้างเป็นพนักงานรายเดือน หากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นที่พอใจของบริษัทฯ บริษทัฯ จะไม่ปรับเป็นพนักงานรายเดือนทันทีแต่จะ พิจารณาผลการปฏิบัติงานอีกครั้งเมื่อครบ 3 เดือน หากยังไม่ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น บริษัทฯ จะให้โอกาส อีก 2 ครั้งๆ ละ 3 เดือน เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว (รวม 9 เดือน) พนักงานผู้นั้นยังไม่สามารถ ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น  บริษัทฯ มีสิทธิเลิกจ้างพนักงานผู้นั้น โดยจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย
3.6  การปรับอัตราค่าจ้างรายวันเป็นค่าจ้างรายเดือนตามข้อนี้ ให้เอาค่าจ้างปัจจุบันคูณด้วย 30
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4.  แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 1. ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 โดยเพิ่มวันลาหยุด พักผ่อนประจำปี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 ดังนี้
 
ระยะเวลาทำงานครบ   มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ดังนี้   
  • 1  ปี     6 วัน   
  • 2  ปี     7 วัน   
  • 3  ปี     10 วัน   
  • 4  ปี     11 วัน   
  • 5  ปี     12 วัน   
  • 6  ปี     13 วัน   
  • 7  ปี     14 วัน   
  • 8  ปี     15 วัน  
  • 9  ปี     16 วัน                 
  • 10  ปี     16 วัน               
  • 11  ปี     17 วัน               
  • 12  ปี     17 วัน               
  • 13  ปี     17 วัน               
  • 14  ปีขึ้นไป  18 วัน  
 ****สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิมซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 5.  ผู้แทนทั้งสองฝ่ายให้ยกเลิกข้อตกลงว่าด้วยเงินสมทบและเงินสะสม ตามข้อตกลงข้อที่ 6 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532  ซ่ึงจะมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2536 และให้จัดตั้งกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ขึ้นแทน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้.- 
 
5.1  ให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนของทั้งสองฝ่ายๆ ละไม่เกิน 5 คน ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2535 เพื่อศึกษาและเตรียมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้น 
5.2  ให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นตน้ไป 
5.3  ในการหักเงินสะสมและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ บริษัทฯ ตกลงหักเงินสะสมในอัตราร้อยละห้า (5%) จากค่าจ้างมูลฐานต่อเดือนของพนักงานแต่ละคนตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ในข้อ 6.1 และ 6.2 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และบริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่ากับจำนวนเงินสะสมซึ่งหักจากค่าจ้างมูลฐานของพนักงานนั้นทุก ๆ เดือน ๆ ละครั้ง 
5.4  ให้ข้อตกลงข้อที่ 6 ลงวนัที่ 21 มิถุนายน 2532  มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2536 และให้เงินสะสมซึ่งหักจากค่าจ้างของพนักงานโดยนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2536 ฝากไว้กับธนาคารตามข้อตกลงข้อ 6.3 และบริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบตามจำนวนปีที่จะต้องจ่ายเงินสมทบตาม ข้อตกลงข้อที่ 6.5 โดยนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2536 ให้แก่พนักงานตามเงื่อนไขในข้อตกลงข้อ 6.6 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 ตามเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 6.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 8.3 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน  
 
6.1  กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นสาหัส และเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างเต็ม 100%  (เพิ่มขึ้นอีก 40% จากกองทุนเงินทดแทน)  ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลและจ่าย 100% สำหรับระยะเวลาพักฟื้นอีกตามความเป็นจริงตามคำสั่งของแพทย์ แต่ไม่เกิน 60 วันโดยรวมวันหยุดด้วย 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 7.  แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงข้อที่ 11 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532  โดยให้เพิ่มเติมข้อความ ดังต่อไปนี้ “ในกรณีที่ปรากฏพยานหรือหลักฐานของการรักษาพยาบาลตามข้อ 7 วรรคสอง ซึ่งส่อไปในทางทุจริตและประพฤติมิชอบของคลีนิคใด ฝ่ายจัดการมีสิทธิยกเลิกค่ารักษาพยาบาลจากคลีนิคนั้น ได้ โดยจะแจ้งให้สหภาพแรงงานทราบเป็นหนงัสือ”  เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิมซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 8. 
 
8.1  บริษัทฯ จะอำนวยความสะดวกในการใช้รถพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อการนำ บิดา มารดา คู่ สมรสและบุตรของพนักงาน ซึ่งป่วยในฐานะคนไข้ในของโรงพยาบาลในจังหวัดอ่างทองเพื่อรับการรักษา ณ โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครหรือโรงพยาบาลในจังหวัดอื่น ๆ ระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยพนักงานต้องเสียค่าใช้จ่ายในอัตรากิโลเมตรละ 2 บาท 
8.2  ในการขออนุญาตใช้รถพยาบาลฉุกเฉินนี้ให้พนักงาน บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตร ยื่นคำร้องตามแบบที่บริษัทฯ กำหนดโดยแนบในแสดงความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือประวัติการรักษาพยาบาลในฐานะคนไข้ในของโรงพยาบาลเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต 
8.3  บริษัทฯ สงวนสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนใช้ประโยชน์จากรถพยาบาลฉุกเฉินตามที่บริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 9.  บริษัทฯ ตกลงให้งบประมาณสนับสนุน วันแรงงานแห่งชาติ แก่สหภาพแรงงานฯ เป็นเงิน ปี ละ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ทั้งนี้ให้สหภาพแรงงานฯ นำใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่ายแต่ละรายการมามอบใหบ้ริษัทฯ ทุกครั้ง
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 10.  ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิมซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 11.  เงินโบนัสประจำ ปี พ.ศ. 2535,พ.ศ.2536,พ.ศ. 2537 
 
11.1  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2535  ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
 
อายุงาน - ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี     95  วัน   
  • ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี   100  วัน   
  • ครบ  4  ปี  ขึ้นไป    120  วัน
11.2  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2536 ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
 
อายุงาน -ได้รับเงินโบนัสเท่ากบัค่าจ้าง   
  • ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี   100  วัน
  • ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี   105  วัน   
  • ครบ  4  ปี  ขึ้นไป   125  วัน 
 
11.3  บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2537  ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
 
อายุงาน - ได้รับเงินโบนัสเท่ากบัค่าจ้าง   
  • ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี   100  วัน   
  • ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี    105 วัน   
  • ครบ  4  ปี  ขึ้นไป    125  วัน 
 
11.4  พนักงานที่ทำงานครบ 6 เดือนขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 1 ปี โดยนับถึงวันจ่ายเงินโบนัส ให้ได้รับเงินโบนัสลดลงตามส่วนตามจำนวนวันของอายุงาน 1 ปี สำหรับโบนัสประจำปี พ.ศ.2535,พ.ศ.2536 และ พ.ศ. 2537   
11.5  สำหรับระเบียบการหักเงินโบนัสให้เป็นไปตามระเบียบเดิม 
11.6  พนักงานเมื่อปฏิบัติงานกับบริษัทฯ ครบ 5 ปีขึ้นไป และลาออกจากบริษัทฯ บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสให้ตามสัดส่วนของระยะเวลาที่ทำงานในปีนั้น 
11.7  ข้อตกลงเรื่องเงินโบนัสนี้ สหภาพแรงงานฯ ให้สัตยาบันว่าเป็นข้อตกลงที่สมบูรณ์และ ไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมอีกเมื่อข้อตกลงฉบับนี้หมดอายุแล้ว ทั้งนี้เว้นแต่บริษัทฯ ประสบปัญหาเศรษฐกิจ และการตลาดจึงจะให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ำยพิจารณาทบทวนได้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 12.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 19  ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 
 
12.1  บริษัทฯ ตกลงจัดโต๊ะอาหารซึ่งนั่งได้ไม่เกิน 6 คน จำนวน 21 ตัว และเก้าอี้ที่มีพนักพิงนั่งได้คนเดียว จำนวน 126 ตัว สำหรับร้านอาหารตึกวิสโคส โดยจะจัดให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน 
12.2  โต๊ะและเก้าอี้ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน บริษัทฯ จะทำการเปลี่ยนเป็นโต๊ะและเก้าอี้แบบเดียวกับข้อ 12.1 เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ทั้งนี้บริษัทฯ จะเปลี่ยนให้หมดภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2538   
12.3  บริษัทฯ ตกลงเปลี่ยนราคาข้าวต้ม ซ่ึงผู้รับเหมาจัดทำสำหรับพนักงานซ่ึงปฏิบัติหน้าที่ ในกะดึกเป็นคนละ 8 บาท 
12.4  ให้มีร้านอาหารรวมเป็น 3 ร้าน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 13.   บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าทำศพเมื่อพนักงานเสียชีวิตนอกงาน รายละ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)  โดยจ่ายตามลำดับความสำคัญให้แก่ทายาทเหล่านี้ 
  • ก.  พนักงานซึ่งมีคู่สมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) จ่ายให้กับคู่สมรส ทั้งหมด 
  • ข.  พนักงานซึ่งมีคู่สมรสโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่จดทะเบียนสมรส) จ่ายให้สามีหรือ ภรรยา 2 ส่วน และจ่ายให้บิดาหรือมารดาของพนักงานอีก 1 ส่วน 
  • ค.  พนักงานโสด จะจ่ายให้บิดาหรือมารดาของพนักงานทั้งหมด 
  • ง.  กรณีพนักงานเสียชีวิตและไม่มีทายาทตามข้อ ก. ข. และ ค. ให้จ่ายให้แก่ทายาทอื่นตาม กฎหมาย

ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 14.  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินสำหรับงบประมาณด้านต่างๆ เพิ่มเติม เป็นดังนี้ 

 14.1  งบประมาณสำหรับด้านการจัดการทัศนาจร 
 
 14.1.1  งบประมาณค่าใช้จ่าย        
  • พ.ศ. 2535  เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท         
  • พ.ศ. 2536  เป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท         
  • พ.ศ. 2537  เป็นจำนวนเงิน 170,000 บาท         

14.1.2  ให้ผู้แทนสหภาพแรงงานฯ และบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดรูปแบบการจัดการทัศนาจร ในแต่ละปี ทั้งนี้จะต้องใช้เวลาไปกลับจากโรงงานยังสถานที่ท่องเที่ยวไม่เกิน  24 ช.ม.         

14.1.3  งบประมาณที่บริษัทฯ จัดสรรนี้ให้นี้สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการ เช่ารถ ค่าเข้า ชมสถานที่ ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายจะกำหนดขึ้นไป แต่ละปี         
14.1.4 พนักงานที่มีสิทธิเดินทางทัศนาจรต้องเป็นพนักงานซ่ึงมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ณ วันที่กำหนด 
 
14.2  งบประมาณสำหรับการจัดงานปีใหม่         
 
14.2.1  งบประมาณค่าใช้จ่าย             
  • พ.ศ. 2535 เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท         
  • พ.ศ. 2536 เป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท         
  • พ.ศ. 2537 เป็นจำนวนเงิน 170,000 บาท         
 
14.2.2  ในการจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ทุกปี บริษทัฯ จะมอบหมายให้ฝ่ายบริหารงานบุคคลและธุรการดำเนินการตามที่พิจารณาเห็นสมควรเพื่อเชิญบุคคลใดๆ นอกเหนือจากเหนือจากพนักงานประจำมาร่วมงาน และรวมทั้งการ ของบประมาณเพิ่มเพื่อการจัดงานสำหรับบุคคลที่รับเชิญด้วย         
14.2.3  ให้มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนของฝ่ายบริหารและสหภาพแรงงานฯ ฝ่ายละไม่เกิน 5 คน ดำเนินการจัดงานรวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณ ตามข้อ 14.2.2  
 
14.3  งบประมาณสำหรับการจัดการแข่งขันกีฬา       
 
14.3.1  งบประมาณค่า่ใช้จ่าย 
  • พ.ศ. 2535 เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท         
  • พ.ศ. 2536 เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท       
  • พ.ศ. 2537 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท               
 
14.3.2  ให้ใช้งบประมาณนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในระหว่าง พนักงานของ บริษัทฯและการจัดทีมกีฬาเพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ และหน่วยงานอื่นตามที่คณะกรรมการกีฬาเห็นสมควร               
14.3.3   การจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้ผ่านฝ่ายจัดซื้อของบริษัทฯ ทั้งสิ้น กรณีการจัดซื้ออุปกรณ์ใดๆ ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้คืนฝ่ายจัดซื้อเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามที่ต้องการ         
14.3.4  หากการใช้งบประมาณแต่ละปียังมียอดคงเหลืออยู่จะไม่มีการไปสมทบกับ งบประมาณในปีอื่น           
14.3.5  การเบิกจ่ายเงินงบประมาณการกีฬาให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ใช้อยู่ในขณะนี้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 15.  บริษัทฯ ตกลงจัดสรรงบประมาณเพื่อการเลี้ยงส่งพนักงานผู้เกษียณอายุโดยจ่ายให้เป็น รายบุคคลเป็นคนละ  60  บาท ตามจำนวนพนักงานที่มีอยู่ในแผนกนั้นๆ ทั้งนี้ไม่น้อยกว่า 2,000 บาท และซื้อของที่ระลึกให้กับพนักงานผู้นั้นมูลค่าประมาณ 2,500 บาท
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 16.  บริษัทฯ ยินดีจัดทุนการศึกษาทุนละ 1,100 บำท (หน่ึงพันหน่ึงร้อยบาทถ้วน) ให้กับบุตรของ พนักงานตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 
 
16.1  จำนวนทุนและจำนวนค่าจ้างของพนักงานที่บุตรมีสิทธิรับทุนการศึกษา
  • พ.ศ. 2535   จำนวน  70  ทุน  สำหรับพนักงานที่มีค่าจ้างไม่เกิน 11,000 บาท  (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)         
  • พ.ศ. 2536   จำนวน  80  ทุน  สำหรับพนักงานที่มีค่าจ้างไม่เกิน 12,000 บาท   (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)
  • พ.ศ. 2537   จำนวน  80  ทุน  สำหรับพนักงานที่มีค่าจ้างไม่เกิน 13,000 บาท   (หนึ่งหมื่นสามพันบาทถ้วน)         
***กรณีสามีและภรรยาเป็นพนักงานของบริษัทฯ การที่จะพิจารณาว่าบุตรจะมีสิทธิได้รับทุน หรือไม่ให้พิจารณาจากบุคคลที่มีเงินเดือนสูงสุดเป็นหลักเกณฑ์ 
 
16.2  บุตรของพนักงานที่มีสิทธิได้รับทุนนี้ต้องเป็นบุตรซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้น ป.1 – ป.6 ป.ว.ช. เท่านั้น 
16.3  บุตรของพนักงานผู้นั้นต้องได้คะแนนเฉลี่ยปลายปีการศึกษาในแต่ละชั้นตั้งแต่เกรด 3  ขึ้นไป 
16.4  ทุนการศึกษาบุตรนี้จะให้กับบุตรของพนักงานครอบครัวละ 1 ทุน ต่อปีเท่านั้น ทั้งนี้เว้น แต่จะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นตามข้อ 16.5 
16.5  กรณีผู้มีสิทธิน้อยกว่าจำนวนทุนที่กำหนดไว้ตามข้อ 16.1 และมีบุตรของพนักงานมีสิทธิ ได้รับทุนการศึกษาเกินกว่า 1 คน บุตรพนักงานครอบครัวนั้นๆ มีสิทธิได้รับทุนการศึกษาเพิ่มขึ้นจาก ข้อ 16.4 ขึ้นอีก 1 ทุน 
16.6  กรณีผู้มีสิทธิมากกว่าจำนวนทุนที่กำหนดไว้ตามข้อ 16.1 และ/หรือ 16.5 ให้ตัดสินโดย การจับสลาก 
16.7  ให้พนักงานซ่ึงขอรับทุนการศึกษาสำหรับบุตร ส่งหลักฐานการศึกษาของบุตรตามข้อ 16.2 และ 16.3 ต่อบริษัทฯ เพื่อพิจารณาภายในเดือนมิถุนายน ของแต่ละปี  16.8  บริษัทฯ จะทำการมอบทุนการศึกษาภายในเดือนกรกฎาคม ของแต่ละปี
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 17.   ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 4 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2529 และข้อที่ 25 ลง วันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 
 
17.1  บริษัทฯ จะจัดรองเท้าผ้าใบสีขาวพื้นยางใสให้กับพนักงานหญิง คนละ 2 คู่ต่อปี 
17.2  บริษัทฯ จะจัดรองเท้าหนังหุ้มส้นให้กับพนักงานชาย (ฝ่ายผลิต) คนละ 2 คู่ต่อปี 
17.3  บริษัทฯ  จะจัดรองเท้าหนังนิรภัยแบบหุ้มข้อ (เสริมหัวเหล็ก ) ให้กับพนักงานชาย (ฝ่ายซ่อมบำรุง) คนละ 2 คู่ต่อไป 
17.4  เมื่อพนักงานได้รับรองเท้าซ่ึงบริษัทฯ ได้จัดให้ตามข้อ 17.1 ข้อ 17.2 และข้อ 17.3 แล้ว ต้องใส่เข้าทำงานมิฉะนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำงาน และอาจถูกลงโทษทางวินัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการจ้างแรงงาน บทที่ 9 ข้อ (ก-4) 
17.5  หากบริษัทฯ ไม่อาจจัดรองเท้าให้กับพนักงานตามข้อ 17.1 ข้อ 17.2 ข้อ 17.3 ได้ให้พนักงานผู้นั้นซื้อรองเท้าแบบชนิดใกล้เคียงในราคาตลาดและนำใบเสร็จรับเงินมายื่นต่อบริษัทฯ เพื่อ ขอเบิกเงินต่อไป 
17.6  การจัดรองเท้าตามข้อ 17.1 ข้อ 17.2 ข้อ 17.3 จะแจกให้ภายในเดือนมกราคม ของทุกปี 
17.7  ให้ผู้แทนของบริษัทฯ และสหภาพฯ เป็นผู้พิจารณากำหนดชนิดของรองเท้าตาม ข้อตกลงนี้   
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 18.  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 28 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ ข้อความต่อไปนี้แทน  บริษัทฯ ตกลงให้เงินรางวัลความเพียรประจำปี แก่พนักงานที่ปั้มบัตรเข้าทำงาน  หากพนักงาน ผู้นั้นปฏิบัติงานเต็มตลอดปีปฏิทิน คือ ไม่ลาป่วย ไม่ขาดงาน ไม่ลากิจ ตลอดปี หรือมาทำงานสายครั้ง ละ 5 นาที รวมกันไม่เกิน 30 นาที  ต่อปี  จะได้รางวัลความเพียร ณ วันจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับ ปีใหม่ ดังนี้.- 
 
18.1  พนักงานซ่ึงปฏิบัติงานเฉพาะเวลาปกติ (กะจี) ให้ได้รับรางวัลความเพียรคนละ 4,000 บาท 
18.2  พนักงานซึ่งปฏิบัติงานเป็นกะ (กะเช้า,บ่าย,ดึก) ให้ได้รับรางวัลความเพียงคนละ 5,000 บาท 
18.3  พนักงานใดทำงานเข้ากะ (เช้า,บ่าย,ดึก) สลับกันการทำงานในกะจี (กะปกติ) หากรวม จำนวนวันซึ่งได้ปฏิบัติงานตลอดปีในกะ เช้า , บ่าย หรือดึก แล้วน้อยกว่า 180 วัน ให้ได้รับรางวัลตาม ข้อ 18.1 หากมากว่า 180 วัน ให้ใด้รับรางวัลตามข้อ 18.2 แล้วแต่กรณี  อนึ่ง การลาเหล่านี้ไม่นำมาพิจารณาในการได้รับสิทธิรางวัลความเพียรได้แก่พนักงานซึ่งลางานเพื่องานศพบิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตร ลาแต่งงาน ลาเพื่อให้การเป็นพยานศาล ลาเพื่อรับการเกณฑ์ทหารตามกำหนดของทางราชการ ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน 8 วัน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 19.  ทั้งสองฝ่ายให้นำข้อเรียกร้องในข้อ 19 และ 20 มาพิจารณาร่วมกันและตกลงโดยให้เพิ่ม ห้องนอนที่หอพักครอบครัว  (ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากหอพักโสด) ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 20.
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 20.  บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงหอพักชายโสดและหอพักครอบครัว ดังนี้ 
 
20.1 ปรับปรุงการระบายอากาศของห้องพักครอบครัวโดยทำช่องระบายอากาศระหว่างฝ้า เพดานกับคานคอนกรีตของหลังคาตามที่บริษัทฯ พิจารณาเห็นสมควร 
20.2  ปรับปรุงห้องพักครอบครัวโดยสร้างห้องเพิ่มเติมด้านหลังของแต่ละห้องอีก 1 ห้อง ขนาด 3.50 x 3.50 เมตร  โดยจัดทำทั้งภายในและภายนอกตามแผนผังแนบ 
20.3  บริษัทฯ จะจัดตู้เก็บของแบบแขวนติดผนัง จำนวน 1 ตู้ ให้กับทุกห้องของหอพัก ครอบครัว 
20.4  บริษัทฯ จะจัดตู้เหล็กพร้อมลิ้นชักเก็บของ จำนวน 1 ลิ้นชักภายในตู้ เพิ่มให้แก่หอพัก ครอบครัว จำนวน 1 ตู้ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน 
20.5  บริษัทฯ จะทำการซ่อมแซมและพ่นสีตู้เหล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้อยู่ในสภาพที่ดีและ สวยงามให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน หากบริษัทฯ เห็นว่าตู้เหล็กของห้องใดไม่อยู่ในสภาพที่ จะใช้งานได้แล้วบริษัทฯ จะจัดซื้อมาทดแทนให้ใหม่ 
20.6  บริษัทฯ จะดำเนินการตามข้อ 20.1 , 20.2 และ 20.3  ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2536
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 21.  บริษัทฯ ตกลงจัดหอพักครอบครัวให้แก่พนักงา่นซึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ต่างจังหวัดแม้ทำงาน เพียงคนเดียวและมีอายุงานเกินกว่า 3 ปี ให้ตามจำนวนห้องว่างที่มีอยู่ในขณะนี้โดยให้พิจารณา ตำแหน่งงาน  อายุงาน  และเงินเดือน  เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเปรียบเทียบ  
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 22.  บริษัทฯ รับไปพิจารณาเป็นโครงการในอนาคตตามที่เห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 23.  บริษัทฯ จะปรับปรุงเกี่ยวกับสถานที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ดังนี้ 
 
23.1  สร้างโรงจอดรถยนต์เพิ่มขึ้นอีก 10 คัน ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน 
23.2 จัดทำรั้วตาข่ายด้านร้านอาหารของโรงจอดรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันตามความ เหมาะสมและปรับพื้นคอนกรีตซึ่งมีระดับไม่เท่่ากันให้อยู่ในระดับเดียวกัน  ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 6  เดือน 
23.3 บริษัทฯ จะออกบัตรเพื่อควบคุมการเข้าออกของรถจักรยานยนต์และพนักงานต้องปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 24.  บริษัทฯ จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของ “กองทุนช่วยเหลือเพื่อนพนักงานไทยเรยอน” ดังนี้ 
24.1 อนุญาตให้เบิกเงินเป็นการล่วงหน้าในทุกครั้งที่สมาชิกกองทุน  หรือสมาชิกสมทบ เสียชีวิตตามจำนวนเงินที่จะหักจากสมาชิกกองทุนซ่ึงสหภาพฯ จะจัดทำบัญชีรายชื่อมอบต่อบริษัทฯ และบริษัทฯ จะจ่ายเงินภายใน 3 วัน 
24.2  บริษัทฯ จะหักเงินค่าจ้างของสมาชิกกองทุนแต่ละคนจากค่าจ้างงวดประจำเดือนวันที่ 7 และวันที่ 22 ของทุกเดือน
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 25.  บริษัทฯ ตกลงให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ลาไปดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงาน และกิจกรรมของสหกรณ์ได้ปีละไม่เกิน 80 วัน สำหรับเงื่อนไขอื่นให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 26.  บริษัทฯ ตกลงให้กรรมการสหกรณ์ลาเพื่อไปดำเนินกิจกรรมสหกรณ์โดยใช้จำนวนวันลา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารสหภาพฯ ในข้อ 25  และปฏิบัติเกี่ยวกับการลาเช่นเดียวกับข้อ 25
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 27.  ให้เป็นไปตามระเบียบเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 28.  บริษัทฯ ตกลงให้งบประมำณสนับสนุนการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหภาพแรงงาน
  • ประจำปี 2536 เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ประจำปี 2537 เป็นเงิน 17,000 บาท 
  • ประจำปี 2538  เป็นเงิน 20,000 บาท 
**ทั้งนี้ให้สหภาพแรงงานนำใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่ายแต่ละรายการมอบให้บริษัทฯ ทุกครั้ง**
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 29.  กรณีพนักงานประจำอยู่ ณ สำนักงานใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์  บริษทัจะอำนวย 
 ความสะดวกในเรื่องการหักเงินค่าหุ้น  เงินต้น  เงินกู้  ดอกเบี้ย  เงินฝาก  ตามที่สหกรณ์ฯ แจ้งเป็นลาย ลักษณ์อักษรให้บริษัทฯ ทราบ
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 30.  บริษัทฯ จะปรับปรุงการระบายอากาศของแผนกเวอร์คชอฟ ดังนี้ 
 
30.1  ทำกระจกบานเกร็ดด้านบนของหน้ำต่างด้านทิศเหนือ 
30.2  จัดพัดลมดูดอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18” จำนวน 5 ตัวที่ผนังด้านทิศใต้ 
30.3  ให้แผนกสโตร์เปิดประตูบริเวณโกดังเก็บวัสดุในเวลากลางวัน 
30.4  ทั้งนี้จะจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 31.  บริษ้ทฯ จะปรับปรุงการระบายอากาศบริเวณแผนกแบลิ่งเพรส ดังนี้ 
 
31.1  จัดพัดลมเพื่อดูดอากาศจากหลังคาของอาคาร  เข้ามายังบริเวณแบลิงเพรสและดรายเออร์ 
31.2  จัดพัดลมดูดอากาศขนาด 16 นิ้ว จำนวน 6 ตัว ที่ผนังด้านทิศเหนือ 
31.3  ปรับปรุงกำแพงเพื่อการระบายอากาศที่ดียิ่งขึ้นตามความเหมาะสม 
31.4  ทั้งนี้จะจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 32.  บริษัทฯ ตกลงจัดตู้เหล็กเพื่อเก็บของใช้ส่วนตัวของพนักงานทุกคนในแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ 
 
32.1  ถ้าเป็นตู้เหล็กขนาด 12 ช่อง ให้พนักงานใช้ช่องละคน 
32.2  ถ้าเป็นตู็เหล็กขนาด 6 ช่อง ให้พนักงานใช้ช่องละ 2 คน 
32.3  ทั้งนี้จะจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 33.  พนักงานประจำซึ่งปั้มบัตรเข้าทำงานจะได้รับ “เงินขยัน” ประจำเดือนเมื่อพนักงานปฏิบัติงาน ครบระยะเวลา 1 เดือน  โดยไม่ขาดงาน  ไม่ลาป่วย  ไม่มาทำงานสาย กลับก่อนเลิกงาน หรือละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติงาน จะได้รับเงินขยันประจำเดือน ดังนี้ 
 
33.1  พนักงานปฏิบัติงานในกะปกติ (กะจี) จะได้รับเงิน 150 บาท 
33.2  พนักงานที่ปฏิบัติงานเป็นกะ  (เช้า,บ่าย,ดึก) หากปฏิบัติงานครบเงื่อนไขทุกกะ จะได้รับเงิน 250 บาท 
33.3  พนักงานที่ปฏิบัติงานเป็นกะ  (เช้า,บ่าย,ดึก) หากปฏิบัติงานครบเงื่อนไขเฉพาะกะดึกกะ เดียวจะได้รับรางวัล 50 บาท การจ่ายเงินขยันจะจ่ายพร้อมกับค่าจ้างงวดวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 34.   บริษัทฯ จะจัดรถเข็นเยื่อด่ำงแก่พนักงำนที่ท ำงำนห้องฮอปเปอร์รูมอีก 8 คนั
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 35. 
35.1  บริษทัฯ จะยำ้ยแผนกเอฟ.ไอ.พี.ไปอยู่ติดกับแผนกแอลซิลลำรี่ (ซ่อมบ ำรุง)  โดยจดัหอ้งท ำงำนของพนักงำนไว้ชั้นบน  และปรับปรุงสภำพทั่วไปเช่นเดียวกันแผนกแอลซิลลำรี่ (ซ่อมบ ำรุง) ให้ แลว้เสร็จภำยในวนัที่ 30 มิถุนำยน  25436 
35.2  ต่อเติมบริเวณที่ทำงานของแผนกสปินนิ่ง (ซ่อมบำรุง) จากอาคารปัจจุบันตามที่ผู้แทน ของทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้แล้ว ให้แล้วเสร็จภายในวนัที่  30  มิถุนายน  2536
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 36.บริษัทฯ จะขยายบริเวณห้องทำงานของหน่วยรีฟิเจอร์เรชั่นตามความเหมาะสม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 37. 
 
37.1  บริษัทฯ จะขยายบริเวณห้องทำงานของพนักงานหน่วยรีไฟเนอรี่ตามความเหมาะสม 
37.2  ให้พนักงานซ่ึงปฏิบัติงานที่ เอชทูเอส ไปใช้ห้องซึ่งใช้ปฏิบัติการขณะสร้างปล่องสูง 100  เมตร และปรับปรุงให้ใหม่ตามความเหมาะสม 
37.3  บริษัทฯ จะก่อสร้างห้องพนักงานที่บ่อน้ำเสียให้ใหม่โดยสร้างบริเวณทางเข้าห้องทำงานเดิม 
37.4  บริษัทฯ จะปรับปรุงตามข้อ 37.1 , 37.2 และ 37.3 ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 12 เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 38.  การตรวจสุขภาพประจำปี 
 
38.1  ให้ใช้ฟิล์มใหญ่เพื่อเอกซเรย์ทรวงอก 
38.2 ให้คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานเป็นผู้พิจารณากำหนดว่าจะตรวจเฉพาะ เรื่องใดเกี่ยวกับบุคคลของหน่วยงานตามที่เห็นสมควร  ทั้งนี้  บริษัทฯ จะส่งพนักงานดังกล่าวไป ตรวจที่สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน หรือ กองชีวอนามัย กรมอนามัย หรือหน่วยงานใดที่ คณะกรรมการความปลอดภัยพิจารณาเห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 39.  บริษัทฯ จะจัดทำแพเหล็กพร้อมอุปกรณ์ผูกเรือที่แข็งแรง  อย่างไรก็ตามการจัดทำและมีใช้ซึ่ง แพดังกล่าวต้องดำเนินการเท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการมีสิ่งกีดขวางในลำแม่น้ำด้วย  ทั้งนี้จะแล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 40.  เมื่อบริษัทฯ นำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เป็นเหตุให้มีพนักงานเกินกว่าตาม ต้องการบริษัทมีสิทธิย้ายพนักงานผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่าในหน่วยงานอื่นตามแต่ บริษัทจะเห็นสมควร อย่างไรก็ตามหากพนักงานผู้นั้นมีความประสงค์ที่จะไม่ปฏิบัติงานกับบริษัทอีก ต่อไปให้ยื่นคำร้องต่อบริษัทเพื่อขอความช่วยเหลือจากบริษัทฯ บริษัทฯ จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามสมควร ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 41. และ ข้อที่ 42.  ให้อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายจัดการที่จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 43.   กรณีพนักงานซึ่งได้ปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วครบ 10 ปี ณ วันที่  4 กรกฎาคม 2535 และยังไม่เคยได้รับการเลื่อนตำแหน่ง จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งเมื่อพนักงานผู้นั้นมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตำมที่ฝ่ายจัดการกำหนดไว้และจะแจ้งให้พนักงานทราบ ซ่ึงรวมถึงความรู้ความสามารถในงาน  ผลการปฏิบัติงาน  ความประพฤติและการรักษาระเบียบวินัย และความอุตสาหวิริยะด้วย ทั้งนี้ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2538   
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 44.   บริษัทฯ อาจพิจารณาเพิ่มจำนวนพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ ตามแต่บริษัทฯ เห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 45. 
 
45.1  บริษัทฯ จะให้คำแนะนำแก่ผู้รับเหมาให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
45.2  บริษัทฯ จะเพิ่มพนักงานซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกะละ 1 คน เพื่อเก็บเศษลวด และ กระดาษบริเวณใกล้กับแผนกสเลอรี่มิกเซอร์  อย่างไรก็ตามบริษัทฯ จะพิจารณาคุณสมบัติของบุคคลซ่ึง ทำงานเกี่ยวกับเศษเหล็กและกระดาษอยู่ในขณะนี้เป็นอันดับแรก
 
ขอ้ตกลงตำมขอ้เรียกร้องของบริษทัฯ ขอ้ที่ 1. ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 46.  ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่น ๆ ที่มีผลใช้บังคับอยู่ และไม่ขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างนี้ให้มีผลใช้บังคับต่อไป 
 
    ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้  ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกันคือสิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2538 และสหภาพแรงานฯ จะไม่ยื่นข้อเรียก ร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว 
 
     อนึ่ง เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานกรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจ ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและ สร้างความเข้ำใจที่ดีต่อกัน พร้อมกับให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย 
 
ในกรณีเกิดปัญหาตีความตามข้อตกลง ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้แรงงานจังหวัดท้องที่ และผู้แทนทั้งสองฝ่ำยๆ ละ 1 คน ร่วมกันเป็นผู้ตีความชี้ขาด. ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ได้อ่านข้อความและเข้าใจโดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน 

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2538

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2538
 
ระหว่าง
 
สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับ บริษัทไทยเรยอน จำกัด
 
****************   
บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)
 
 
วันที่  3  กรกฎาคม  พ.ศ. 2538 
 
  ตามที่ฝ่ายคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอน  ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงของสภาพการจ้างต่อบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม  2538 รวม 47 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้)  และบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)  ได้ยื่นข้อเรียกร้องของ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงของสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงานไทยเรยอน  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2538 รวม 8 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้) ฝ่ายบริหารของบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และผู้แทนของสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้เริ่มเจรจากันครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2538 โดยให้นำข้อเรียกร้องทั้งหมดมาเจรจาร่วมกัน และในที่สุดผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ สามารถทำความตกลงกันได้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง”  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 1.และ ข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 2. 
 
การปรับอัตราค่าจ้างเมื่อมีประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 
 
 
1.  เมื่อรัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ บริษัทฯ จะปรับอัตราค่าจ้างของ พนักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้   
   
1.1  กรณีค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 5 บาท จะปรับให้เท่ากับจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากเดิมให้กับพนักงานทุกคน
1.2  กรณีที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากเดิมเกินกว่า 5 บาท จะปรับค่าจ้างดังนี้   
 
1.2.1  บริษัทฯ จะปรับค่าจ้าง 50% ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างขั้นต่ำเดิมให้กับพนักงานที่มีค่าจ้างตั้งแต่ระดับค่าจ้างถัวเฉลี่ยขึ้นไป   
1.2.2  ส่วนพนักงานที่มีค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างถัวเฉลี่ยลงไปถึงค่าแรงขั้นต่ำ บริษัทฯจะปรับให้ 100% ของจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นคำว่า “ค่าจ้างถัวเฉลี่ย” หมายถึง ค่าจ้างพนักงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างลงข้อที่ 3 วันที่ 4  กรกฎาคม 2535 ทุกคนหารด้วยจำนวนคน       
 
1.3  การปรับจำนวนเงินเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามข้อนี้ให้ปรับ จำนวนเงินตามข้อ 1.2.1 และ 1.2.2 ให้แก่พนักงานที่มีค่าจ้างหรือเงินเดือนต่ำกว่า 18,000 บาท ลงมาเท่านั้น
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 2.  และข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 1. 
 
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 
 
ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 2 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2535 และตกลงกำหนดจำนวนเงินกัน ดังนี้   
 
2.1  ตั้งแต่  1 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เป็นจำนวนเงิน 3,400 บาท/เดือน   
2.2  ตั้งแต่  1 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็นจำนวนเงิน 3,600 บาท/เดือน 
2.3  ตั้งแต่  1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,800 บาท/เดือน
 
ขอ้ตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 3. 
เงินสะสม
แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสาพการจ้างข้อที่ 5 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2535 ดังนี้ 
 
3.1  พนักงานใดซึ่งถูกหักเงินสะสมรวมกับระยะเวลาที่จ่ายเงินสะสมไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วครบ 15 ปี    บริษัทฯ จะถอนเงินฝากจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาอ่างทอง และบริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินสมทบเท่ากับจำนวนเงินสะสม (ยกเว้นดอกเบี้ย) ที่มีอยู่ในธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา อ่างทอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2536 และนำฝากในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้วในนามของพนักงานแต่ละคน     
 
3.2   เมื่อพนักงานพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากถูกลงโทษทางวินัยถึงขั้นไล่ออกจากงาน หรือปลดออกจากงาน บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินสมทบในส่วนของเงินสะสมและหรือเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
 
3.2.1 จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบครบ 5 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี บริษัทฯจะจ่ายเงินสมทบให้ 50% ของจำนวนเงินสะสมและหรือเงินสะสมในกองทุนฯ แล้วแต่กรณี        3.2.2 จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบครบ 10 ปีขึ้นไป  บริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบให้ 100%  ของจำนวนเงินสะสมและหรือเงินสะสมในกองทุนฯ แล้วแต่กรณี   
 
3.3 การจ่ายเงินสมทบเงินสะสมของบริษัทฯ และหรือเงินสมทบตามระเบียบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้วให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4.  และข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 3. :  การประกันสุขภาพหมู่  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 25 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2529 และข้อ 11 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้โครงการประกันสุขภาพหมู่ ดังข้อตกลงนี้ให้ใช้ระบบ “โครงการประกันสุขภาพหมู่” ให้กับพนักงานทุกคนโดยรวมถึงสามี , ภรรยา และบุตรตามกฎหมายของพนักงาน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
 
4.1  พนักงานของบริษัทฯ สามี ภรรยา และบุตร (อายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 20 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้สมรส) ตามกฎหมายพนักงานจะได้รับการคุ้มครองตาม “โครงการประกันสุขภาพหมู่”  
4.2  การคุ้มครองตามโครงการนี้จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลนอกงาน ซึ่งรวมอุบัติเหตุหรือ การเจ็บป่วยธรรมดาให้กับบุคคลตามข้อ 4.1 ทั้งหมด
4.3  ผลประโยชน์ที่จะได้รับตามโครงการประกันสุขภาพหมู่ มีดังนี้
 
4.3.1  กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ;     
  1.   ค่าห้องและค่าอาหารวันละ  1,000 บาท (สูงสุด 30 วันต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง) 
  2.   ค่าใช้จ่ายและบริการทั่วไปของโรงพยาบาล 20,000 บาท (สูงสุดต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง)           
  3.   ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด 12,000 บาท (ตามความเป็นจริงแต่ละครั้ง)     
  4.   ค่าธรรมเนียมแพทย์ดูแลวันละ 150 บาท (สูงสุด 30 วันต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง) 
  5.   ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษเฉพาะโรค 1,500 บาท (จะนำไปรวมกับข้อ 2 และข้อ 3 แล้วแต่กรณี)
  6.   ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน 1,000 บาท (สูงสุดต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง)
  7.   ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับโรงพยาบาล 400 บาท ค่ารักษาผู้ป่วยนอกกับคลีนิค 100 บาท  (15 ครั้งต่อ 1 วันต่อโรค สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี)       
  8.   ค่าผ่าตัดเพราะการคลอดบุตรตามความเห็นของแพทย์ 3,000 บาท  ค่าคลอดบุตรปกติและแท้งบุตร 1,500 บาท       
  9.   ค่าถอนฟัน (สูงสุดต่อปีไม่เกิน 300)  300 บาท     
  10.   ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล (คนไข้ใน) และ ต้องรักษาต่อเนื่องเมื่อแพทย์นัดหมายครั้งละ 500 บาท (ภายในระยะเวลาไม่เกิน 45 วันนับตั้งแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาล) 
 
4.4  กรณีพนักงาน  คู่สมรส  หรือบุตรของพนักงาน  เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล โดยใช้เครดิตบริษัทฯ จะจ่ายเงินส่วนที่เกินจากการคุ้มครองตามตารางผลประโยชน์ ข้อที่ 1 – 10  แทน พนักงานไปก่อนและจะหักคืนจนกว่าจะครบ ดังนี้
 
4.4.1  กรณีได้รับค่าจ้าง ณ วันสิ้นเดือน หักคืนเดือนละ 1,000 บาท
4.4.2  กรณีพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเดือนละ 2 งวด หักคืนงวดละ 500 บาท สำหรับเงินซ่ึงบริษัทฯ จะออกแทนพนักงานนั้นจะเป็นเงินซึ่งเกินจากตาราง ผลประโยชน์ข้อ   4.3 ไม่เกิน  80,000 บาท หากจำนวนเงินกว่า 80,000 บาท พนักงานต้องนำหลักทรัพย์หรือ ข้าราชการตั้งแต่ ซี 3 หรือพนักงานอื่น จำนวน 2 คน ค้ำประกันต่อบริษัทฯ โดยพลัน
4.5  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีการเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใช้เงินสดให้แก่พนักงานภายใน 5 วัน นับตั้งแต่วันที่พนักงานผู้นั้นได้มอบหลักฐานถูกต้อง
4.6  ให้สามารถรับการรักษาพยาบาลเครดิตโดยใช้คลีนิคซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตอำเภอ  เมือง อ่างทอง จำนวน 3 คลินิก และเขตอำเภอป่าโมก  เขตอำเภอวิเศษชัยชาญ  สถานที่ละ  1 แห่ง 
4.7  กรณีรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนใช้โรงพยาบาลเอกชนจำนวน 5 โรงพยาบาลใน กรุงเทพมหานคร คือ
  • 1.  โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล
  • 2.  โรงพยาบาลวิภาวดี
  • 3.  โรงพยาบาลมิชชั่น
  • 4.  โรงพยาบาลพญาไท 1
  • 5.  โรงพยาบาลพญาไท 2

4.8  กรณีรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของรัฐบาล ให้ใช้เครดิตที่โรงพยาบาลอ่างทอง

4.9  ให้ใช้โรงพยาบาลโดยใช้เครดิตในโรงพยาบาลต่อไปนี้ด้วย
  • 4.9.1  โรงพยาบาลอ่างทองเวชการ  จังหวัดอ่ำงทอง
  • 4.9.2  โรงพยาบาลราชธานี  จังหวัดพระนครศรีอยธุยา
 
4.10  กรณีพนักงานเข้ารับการรักษาพยาบาลที่คลีนิคเอกชน  โรงพยาบาลเอกชน  หรือ โรงพยาบาลของรัฐบาล  นอกเหนือจากขอ้  4.6 , 4.7 , 4.8 , 4.9  ให้พนักงานจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็น เงินสดและนำบิลค่ารักษาพยาบาลมาเบิกจากบริษัทฯ การจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามบิลจะจ่ายเท่ากับ จำนวนเงินคุ้มครองตาม
“โครงการประกันสุขภาพหมู่” นี้ 
4.11  กรณีการเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลของรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชนให้ทั้งสองฝ่ายเป็น ผู้พิจารณาตัดสิน 
4.12  กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อคลีนิคในจังหวัดอ่างทองสำหรับการใช้เครดิต ตามข้อ 4.6 ให้อยู่ ในดุลยพินิจของฝ่ายจัดการตามแต่ละเห็นสมควร 
4.13  กรณีพบว่าใบเสร็จรับเงินใดอาจส่อไปในทางไม่สุจริต  บริษัทฯ สามารถใช้เวลา ตรวจสอบได้ตามเวลาอันสมควร และพนักงานผู้ทุตจริตอาจถูกลงโทษทางวินัย
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 5. และข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 7.
  
เงินโบนัสประจำปี 
 
5.1  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2538   ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงาน   ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ 1 ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี  101 วัน 
  • ครบ 2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี 106 วัน   
  • ครบ 4  ปี  ขึ้นไป  126 วัน
5.2  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2539   ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงาน   ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ 1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี  101  วัน   
  • ครบ 2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี  106  วัน 
  • ครบ 4  ปี  ขึ้นไป    126  วัน  
5.3  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2540   ให้แก่พนักงาน ดังนี้   
อายุงาน   ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้าง   
  • ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี  102  วัน   
  • ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี  107  วัน   
  • ครบ  4  ปี  ขึ้นไป    127  วัน 
 
5.4  พนักงานที่ทำงานครบ 6 เดือนขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 1 ปี  โดยนับถึงวันจ่ายเงินโบนัสให้ ได้รับเงินโบนัสลดลงตามส่วนตามจำนวนวันของอายุงาน  1  ปี
5.5  สำหรับระเบียบการหักเงินโบนัสให้เป็นไปตามระเบียบเดิม
5.6  พนักงานเมื่อปฏิบัติงานกับบริษัทฯ ครบ 5 ปีขึ้นไป และลาออกจากบริษัทฯ หรือ พนักงานที่เสียชีวิตระหว่างปี บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสให้ตามสัดส่วนของระยะเวลาที่ทำงานในปีนั้น
5.7  ข้อตกลงเรื่องโบนัสนี้  สหภาพแรงงานฯ ให้สัตยาบันว่าเป็นข้อตกลงที่สมบูรณ์และไม่ ขอแก้ไขเพิ่มเติมอีกเมื่อข้อตกลงนี้หมดอายุแล้ว ทั้งนี้เว้นแต่บริษัทฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและ การตลาดจึงจะให้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายพิจารณาทบทวนได้
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 6.  เงินช่วยเหลือเมื่อพนักงานถึงแก่กรรม ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 13 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2535 และให้ใช้ ข้อความต่อไปนี้ แทนเมื่อพนักงานถึงแก่กรรม บริษัทฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าทำศพคนละ 100,000 บาท  (หน่ึงแสนบาทถ้วน) ให้แก่ทายาทตามลำดับความสำคัญให้แก่ทายาท ดังนี้     
  • ก.  พนักงานซึ่งมีคู่สมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) จ่ายให้กับคู่สมรส ทั้งหมด     
  • ข.  พนักงานซึ่งมีคู่สมรสโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่จดทะเบียนสมรส) จ่ายให้สามี หรือภรรยา 2 ส่วน และจ่ายให้บิดาหรือมารดาของพนักงานอีก1ส่วน     
  • ค.  พนักงานโสด จะจ่ายให้บิดาหรือมารดาของพนักงานทั้งหมด     
  • ง.  หากพนักงานถึงแก่กรรมและไม่มีทายาทตามข้อ ก , ข , ค จ่ายให้แก่ทายาทอื่นตามกฎหมาย 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 7.  งบประมาณ (การทัศนาจร , งานปีใหม่ , การกีฬา) 
 
7.1  งบประมาณเพื่อการทัศนาจร       
7.1.1  บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมาณสำหรับการทัศนาจรให้แก่พนักงาน ดังนี้  
  • พ.ศ.  2538 เป็นจำนวนเงิน 180,000 บาท       
  • พ.ศ.  2539 เป็นจำนวนเงิน 190,000 บาท       
  • พ.ศ.  2540 เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท 
       
7.1.2  บริษัทฯ ตกลงจัดกะของพนักงานที่วันหยุดประจำสัปดาห์วันเดียวกันให้มีกะทำงานตรงกันด้วยส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม 
 
7.2  งบประมาณเพื่อการจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่  บริษัทฯตกลงจัดงบประมาณสำหรับจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ดังนี้       
  • พ.ศ.  2538  เป็นจำนวนเงิน 190,000 บาท     
  • พ.ศ.  2539  เป็นจำนวนเงิน  200,000 บาท       
  • พ.ศ.  2540   เป็นจำนวนเงิน 210,000 บาท         
*** ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม 
 
7.3  งบประมาณเพื่อการกีฬา
       
7.3.1  บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมาณเพื่อการกีฬาให้แก่พนักงาน ดังนี้       
  • พ.ศ.  2538  เป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท       
  • พ.ศ.  2539  เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท       
  • พ.ศ.  2540  เป็นจำนวนเงิน 130,000 บาท       
7.3.2  กรณีพนักงานซึ่งเป็นนักกีฬาใด้รับบาดเจ็บ เนื่องจากการแข่งขันกีฬาในฐานะ นักกีฬาของแผนกต่างๆ ในฤดูการแข่งขัน หรือนักกีฬาในนามของบริษัทฯ และต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 15 วันติดต่อกัน บริษัทฯจะไม่นำวันลาป่วยดังกล่าวคำนวณการขึ้นเงินค่าจ้างประจำปีและการจ่ายเงินโบนัส  ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 8.  การจัดงานเลี้ยงส่งกรณีพนักงานเกษียณอายุ ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 15 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2535  และให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน เมื่อพนักงานคนใดครบกำหนดเกษียณอายุตามระเบียบของบริษัทฯ หรือขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดตามระเบียบของบริษัทฯ บริษัทฯ ตกลงจัดซื้อของที่ระลึกให้กับพนักงานผู้นั้นมูลค่า ประมาณ  2,500  บาท  (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)  และจัดงานเลี้ยงส่งให้แก่พนักงานผู้เกษียณอายโุดย จ่ายให้เป็นรายบุคคล เป็นเงินคนละ  75 บาท  (เจ็ดสิบห้าบาทถ้วน) ตามจำนวนพนักงานที่มีอยู่ใน แผนกนั้น ทั้งนี้จะไม่น้อยกว่า 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)  ต่อการจัดเลี้ยงส่งให้แก่พนักงาน ที่เกษียณอายุแต่ละคน   
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 9. :  ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน  บริษัทฯตกลงจัดทุนการศึกษาให้แก่บุตรพนักงานซึ่งมีเงินเดือนไม่เกินเดือนละ 16,000 บาท   ดังนี้ 
  • 9.1  ปีการศึกษา  พ.ศ.  2538  ปีละ   90  ทุน ๆ ละ 1,400 บาท 
  • 9.2  ปีการศึกษา  พ.ศ.  2539  ปีละ   100  ทุน ๆ ละ 1,400 บาท 
  • 9.3  ปีการศึกษา  พ.ศ.  2540  ปีละ   100  ทุน ๆ ละ 1,400 บาท 
*****เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 10. :  เงินรางวัลความเพียรประจำปี  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างข้อที่ 18 ลงวันที่  4  กรกฎาคม  2535  และให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน  บริษัทฯ ตกลงให้เงินรางวัลความเพียรประจำปีแก่พนักงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อที่ 3 ลงวันที่  4  กรกฎาคม  2535  หากพนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานเต็มตลอดปีปฏิทิน คือ ไม่ลาป่วย ไม่ขาดงาน ไม่ลากิจ ตลอดปี หรือมาทำงานสายครั้งละไม่เกิน 5 นาที รวมไม่เกิน 30 นาทีต่อปี จะได้รับ รางวัลความเพียร ณ วันจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ดังนี้ 
 
10.1  กรณีพนักงานซึ่งปฏิบัติงานเฉพาะเวลาปกติ (กะจี)  ให้ได้รับรางวัลความเพียรคนละ 5,500 บาท  (ห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
10.2  กรณีพนักงานซี่งปฏิบัติงานเป็นกะ (กะเช้า , กะบ่าย , กะดึก) ให้ได้รับรางวัลความเพียร คนละ 6,500 บำท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน)
10.3  พนักงานคนใดทำงานเข้ากะ   (เอ , บี , ซี)  สลับกับกะปกติ (จี)  หากรวมจำนวนวันซึ่งได้ปฏิบัติงานตลอดปีในกะ เอ , บี หรือ ซี แล้วน้อยกว่า 180 วัน ให้ได้รับรางวัลตามข้อ  10.1  หากมากกว่า 180  วัน  ให้ได้รับรางวัลตามข้อ 10.2  แล้วแต่กรณีการลาเหล่านี้ไม่นำมาพิจารณาในการ ได้รับสิทธิรางวัลความเพียร คือ  พนักงานซ่ึงลางานเพื่องานศพบิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตร  ลาแต่งงาน ลาเพื่อให้การเป็นพยานในศาล ลาเพื่อรับการเกณฑ์ทหารตามกำหนดของทางราชการ ทั้งนี้ รวมกันต้องไม่เกิน  8  วัน และพนักงานซ่ึงประสบอันตรายเนื่องจากการงาน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 11. 
การปรับปรุงหอพักพนักงานจุด 8
 
11.1  บริษัทฯ ตกลงจัดทำตู้ชนิดแขวนผนังขนาดความกว้างประมาณ 60 x 150 ซ.ม. ที่ห้องพัก ชายโสด และหญิงโสด ห้องละ 1 ตู้
11.2  บริษัทฯ ตกลงจัดซื้อหรือซ่อมแซมตู้เหล็กสำหรับเก็บเสื้อผ้าเท่ากับจำนวนพนักงานที่พักอาศัยในแต่ละห้อง ส่วนการพิจารณาว่าห้องใดควรจัดซื้อหรือซ่อมแซมให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณาตัดสิน และเสนอฝ่ายบริหารระดับสูงพิจารณาสั่งการต่อไป
11.3  บริษัทฯ ตกลงจัดซื้อหรือซ่อมแซมเตียง  ที่นอน  โต๊ะรับประทานอาหาร  เก้าอี้รับประทานอาหาร  ส่วนการพิจารณาว่าห้องใดควรจัดซื้อหรือซ่อมแซมให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณาตัดสิน และเสนอฝ่ายบริหารระดับสูงพิจารณาสั่งการต่อไป
11.4  บริษัทฯ ตกลงติดตั้งกริ่งสัญญาณเรียกหาให้หอพักครอบครัวทุกห้อง  และติดตั้งฝ้าเพดานให้ครบทุกห้อง  
11.5  บริษัทฯ ตกลงติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อนำสัญญาณไปยังบริเวณห้องพักของพนักงานทุกห้อง การดำเนินการตามข้อ 11.1 – 11.5  จะดำเนินกำรให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 12.  ต่อเติมสำนักงานสหภาพฯ และสหกรณ์ออมทรัพย์  บริษัทฯ ตกลงขยายสำนักงานสหภาพแรงงานและสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ โดยทำเป็นอาคารสอง ชั้นขนาดพื้นที่ชั้นละประมาณ 54 ตารางเมตร (รวมประมาณ 108 ตารางเมตร) ทั้งนี้บริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 13.   ที่จอดรถยนต์  บริษัทฯ ตกลงสร้างที่จอดรถยนต์แบบมาตรฐานยาวเท่ากับความยาวแนวโกดังใกล้สนามฟุตบอล ทั้งนี้   บริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน   
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 14.  การลาของกรรมการบริหารสหภาพแรงงานฯ และ กรรมการ สหกรณ์ออมทรัพยฯ์  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 25 ลงวันที่  4  กรกฎาคม  25435  และใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน  บริษัทฯ ตกลงอนุญาตให้กรรมการบริหารสหภาพแรงงานฯ และสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ลาไป ร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงานและกิจกรรมของสหกรณ์ฯ ได้คราวละไม่เกิน 2 คน  และรวมวันลา ทั้งหมดของทุกคนจะต้องไม่เกินปีละ 100 วัน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ  การลาดังกล่าวจะต้องทำเป็นหนังสือพร้อมแสดงหลักฐานต่อบริษัทฯ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  3  วัน  คำปี “ปี” หมายถึง “ปีปฏิทิน”
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 15. การขอลาเพื่อการอบรมของสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ให้เป็นไปตามระเบียบเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 16.  งบประมาณการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของสหภาพแรงงานฯ  บริษัทฯ จัดงบประมาณสนับสนุนการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหภาพแรงงานฯ  ประจำปี พ.ศ. 2538   จำนวนเงิน 25,000 บาท   ประจำปี พ.ศ. 2539   จำนวนเงิน 28,000 บาท   ประจำปี พ.ศ. 2540   จำนวนเงิน 30,000 บาท  การจ่ายดังกล่าวให้สหภาพแรงงานฯ นำใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่ายแต่ละรายการมอบให้บริษัทฯ ทุกครั้ง
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 17.  เบี้ยขยันประจำเดือน  ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้ใช้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 18.  การปรับฐานค่าจ้างหรือเงินเดือน  บริษัทฯ จะเป็นผู้พิจารณาตามที่เห็นสมควร 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 19.   ชั่วโมงการทำงาน  ทั้งสองฝ่ายตกลงใช้ข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ เช่นเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 20.  ปรับปรุงถนนทางเข้าจุด 8  บริษัทฯ ตกลงดำเนินการขยายการปรับระดับถนนทางเข้าจุด 8 จากหน้าหอพักบริษัทไทย คำร์บอนแบ็ลค์ จำกัด  เข้ามาให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 21.   ปรับปรุงระบบระบายน้ำที่หอพัก  บริษัทฯ ตกลงดำเนินกำรติดตั้งปั้มน้ำหรือวิธีการอื่นใดเพื่อมิให้เกิดน้ำท่วมขังในฤดูฝน ณ  บริเวณหอพักพนักงานจุด  8
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 22.   การติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะที่จุด  8  บริษัทฯ ตกลงติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะที่บริเวณจุด 8 ให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 23.   บริเวณที่พักรอของพนักงานขับรถบริษัทฯ ตกลงดำเนินการจัดหาที่พักของพนักงานขับรถของบริษัทฯ ให้ดังนี้
 
23.1  ระหว่างเวลา  08.00 น. – 17.00 น.  ให้ใช้ห้องชั้น 2  ของแผนกสโตร์
23.2  ระหว่างเวลา  17.00 น. – 08.00 น.  ให้ใช้บริเวณห้องชั่งน้ำหนักซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างอยู่แล้ว
23.3  เมื่อบริษัทฯ   ต้องใช้ประโยชน์ของห้องตามข้อ 23.2  บริษัทฯ ตกลงจัดสร้างที่พักรอ ณ บริเวณอื่นพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ในอนาคต
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 24.  กรณีบริษัทฯ ออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่     
          กรณีบริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยการออกหุ้นใหม่  บริษัทฯ ตกลงนำประกาศซึ่งได้ ประกาศทางหนังสือพิมพ์ติดประกาศ ณ ป้ายประกาศของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานซึ่งมีความประสงค์ จะซื้อหุ้นในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ทราบ
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 26.  เพิ่มตู้ทำน้ำเย็น
 
26.1  บริษัทฯ ตกลงซื้อตู้ทำน้ำเย็นชนิดก๊อกเดียวเพื่อติดตั้งให้แก่พนักงานห้องปฏิบัติการเคมี
26.2  สำหรับตู้ทำน้ำเย็นสำหรับห้องชั่งน้ำหนักให้ใช้ร่วมกับพนักงานขับรถ บริษัทฯ จะ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน  2  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 27.   ปรับปรุงห้องพักผ่อนพนักงานจุด  8
 
27.1 บริษัทฯ ตกลงทำ ไม้หนีบหนังสือพิมพ์และให้มีคนอำนวยความสะดวกเพื่อให้พนักงาน ยืมหนังสือหรือคืนหนังสือในเวลา ระหว่าง  10.00 น. – 12.00 น.   ยกเว้นวันอาทิตย์หรือวันหยุดตาม ประเพณีของบริษัทฯ
27.2   จัดซื้อเก้ำอี้ พีวีซี ชนิดเท้าแขน จำนวน  15  ตัว  บริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน  2  เดือน 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 28.   การพิจารณาอุทธรณ์ของพนักงานผู้ถูกให้ออกจากงานเมื่อพนักงานถูกลงโทษถึงขึ้นถูกให้ออกจากงานและยื่นอุทธรณ์ตามระเบียบของบริษัทฯ   บริษัทฯ จะดำเนินการคือ
 
28.1  กรณีอุทธรณ์ต่อผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคลและธุรการใช้เวลาไม่เกิน 7 วันทำงาน นับตั้งแต่วันยื่นอุทธรณ์
28.2  กรณีอุทธรณ์ต่อประธานบริษัทฯ ใช้เวลาไม่เกิน  10  วันทำงาน  นับตั้งแต่วันยื่นอุทธรณ์
28.3  เมื่อการอุทธรณ์ตามข้อ  28.1  และ  28.2  นั้น  เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์แล้ว  หากปรากฏว่า ใช้เวลารวมกันเกินกว่า 17 วันทำงาน  บริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างให้สำหรับระยะเวลาที่เกินกว่า  17  วัน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 29.   การจ่ายเงินคืนเมื่อพนักงานครบกำหนดเกษียณอายุ  เมื่อพนักงานเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ บริษัทฯ จะจ่ายเงินซึ่งพนักงานมี สิทธิได้รับภายในระยะเวลา 7 วันทำงาน  นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นพนักงาน  ทั้งนี้ไม่รวมการจ่ายเงิน จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซ฿่งต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการเฉพำะ
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 30.           
 
30.1  เงินช่วยเหลือกรณีบิดา มารดา  คู่สมรสหรือบุตร  ที่ชอบด้วยกฎหมายถึงแก่กรรม   กรณีบิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตร  ที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานถึงแก่กรรม บริษัทฯ จะทำบุญรายละ 5,000 บาท พร้อมหรีดคารวะศพในนามของบริษัท 1 พวง 
30.2  เงินช่วยเหลือกรณี อุปสมทบ  หรืองานมงคลสมรส   กรณีพนักงานอุปสมบท หรือสมรส  บริษัทฯ จะจ่ายเงินทำบุญหรือเงินช่วยเหลือคน ละ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)   พนักงานซึ่งได้รับสิทธิตามข้อนี้จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งบริษัทฯ กำหนดไว้ เดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 32.   เครื่องกรองน้ำ บริษัทฯ ตกลงดำเนินการนำน้ำจากตู้น้ำเย็นเพื่อให้ห้องปฏิบัติการเคมีตรวจสอบ  หากผลการ ตรวจสอบพบว่าอาจไม่เหมาะสมต่อการบริโภคแล้ว  บริษัทฯ จะดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองน้ำให้
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 33. :  การแต่งตั้งพนักงานเพื่อทำหน้าที่แทนพนักงานที่ได้เลื่อนตำแหน่ง  ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายจัดการตามแต่ละพิจารณาเห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 34. :  ซุปเปอร์ไซเซอร์ที่แผนกอ๊อกซิลลารี่ ผลิต ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายจัดการตามแต่ละพิจารณาเห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 35. :  การเพิ่มพนักงานในแผนกต่างๆ ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายจัดการตามแต่ละพิจารณาเห็นสมควร 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 36. :  เงินกู้โดยไม่มีดอกเบี้ย ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 28 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2526 ดังต่อไปนี้  
 
36.1  กรณีกู้เพื่อการรักษาพยาบาล บิดา มารดา บริษัทฯ ให้กู้ในวงเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) โดยบริษัทฯจะหักเงินค่าจ้างของพนักงานเพื่อการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ในระยะเวลาไม่เกิน 40 งวด สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายงวดหรือ 20 งวด สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้วแต่กรณี
 
36.2  กรณีกู้เพื่อการซื้อที่ดิน ค่าเล่าเรียนบุตร อุปสมบท หรือแต่งงาน บริษัทฯ ให้กู้ในวงเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยบริษัทฯ จะหักเงินค่าจ้างของพนักงานเพื่อการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ในระยะเวลาไม่เกิน 20 งวด สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายงวด หรือ 10 งวด สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน แล้วแต่กรณี ส่วนการดำเนินการหรือเงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 37. :  ปรับปรุงระบบการระบายอากาศที่ซิมเพลค ผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานเป็นผู้พิจารณาเกี่ยวกับ ระบบการระบายอากาศบริเวณที่ทำงานของโอปะเรเตอร์ที่หน่วยงานซิมเพลคตมความเหมาะสม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 38. :  การหยุดเครื่องสปินนิ่ง บริษัทฯตกลงที่จะหยุดเครื่องสปินนิ่งแมทชีนเมื่อซ่อมเครื่องดรายเยอร์หรือเบลลิ่งเพรสเกินกว่า 1 ชั่วโมง
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 39. :  ห้องอาบน้ำที่หน่วยงานบำบัดน้ำเสีย บริษัทฯ ตกลงสร้างห้องอาบน้ำ 1 ห้อง ให้แก่พนักงานที่หน่วยงานบำบัดน้ำเสีย
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 40. :  การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ห้องประชุมของ แผนกแอลซิลลารี่ ผลิต บริษทัฯตกลงติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องประชุมของแผนกแอลซิลลารี่ผลิต จำนวน 1 เครื่อง
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 41. :  ผู้รับเหมาคนงานสวทำน บริษทัฯตกลงดำเนินการเพื่อให้ผู้รับเหมามีข้อบังคับในการทำงานและการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำและกฎหมายประกันสังคมต่อไป โดยให้ผู้รับเหมาส่งเอกสารการดำเนินการดังกล่าวให้แก่ บริษัทฯทราบ
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 42. :  ขอเกษียณอายุก่อนกำหนด เมื่อพนักงานขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสตามสัดส่วนของการทำงานในปีที่ขอเกษียณอายุนั้น 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 43. :  เบี้ยเลี้ยงทำงานนอกสถานที่ ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 17 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ในกรณีที่พนักงานขบัรถ และพนักงานอื่นออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ ให้ได้รับเบี้ยเลี้ยงดังต่อไปนี้ 
เบี้ยเลี้ยงอาหาร 
  • มื้อเช้า                30  บาท
  • กลางวัน              50  บาท
  • เย็น                    50  บาท  

        ****หมายเหตุ  ควำมหมำยของอำหำรแต่ละมื้อ   

  • มื้อเช้า หมายถึงการรับประทานอาหารในเวลา  07.00 น.   
  • มื้อกลางวัน หมายถึงการรับประทานอาหารในเวลา  12.00 น.   
  • มื้อเย็น  หมายถึงการรับประทานอาหารในเวลา 18.00 น.
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 44. :  เครื่องปรับอากาศที่ห้องปฏิบัติการเคมี บริษัทฯ ตกลงติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่ให้แก่ห้องของพนักงานตรวจสอบคุณภาพเส้นใยของห้องปฏิบัติการเคมี  บริษัทฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน  6  เดือน
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 45. :  วันลาประชุมกรรมการสหภาพฯ  ให้เป็นไปตามระเบียบเดิมของบริษัทฯ
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 46. :  ร้านค้าสวัสดิการ  ให้บริษัทฯ ดำเนินการเกี่ยวกับร้านค้าสวัสดิการตามแต่บริษัทฯ จะพิจารณาเห็นสมควร
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4. :  โครงสร้างค่าจ้างระบบจำแนกตำแหน่ง ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขอ 43 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2532 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน 
 
4.1  ให้มีระบบ “โครงสร้างค่าจ้างระบบจำแนกตำแหน่ง”  ในบริษัทฯ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1.1  ตำแหน่งงานซึ่งมีในโครงสร้างค่าจ้าง : คือตำแหน่งงานตั้งแต่ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกผู้ช่วยหัวหน้าแผนกประจำกะ จนถึงระดับคนงาน
4.1.2  ส่วนประกอบต่างๆ ของโครงสร้างค่าจ้าง : คือตำแหน่งงานในแต่ละระดับ ค่าจ้างต่ำสุดในแต่ละระดับ ค่าจ้างสูงสุดในแต่ละระดับ วิธีการเลื่อนตำแหน่ง เงินค่าตอบแทนเมื่อเลื่อนตำแหน่ง วิธีประเมินผลการประจำปีเพื่อขึ้นค่าจ้างประจำปี ค่าตอบแทนเมื่อพนักงานมีค่าจ้าง สูงสุดในแต่ละระดับ วิธีการและระยะเวลาการปรับโครงสร้างค่าจ้าง (อัตราค่าจ้างต่ำสุดและสูงสุด)

4.1.3  อัตรำกำรขึ้นค่ำจ้ำงประจ ำปีและค่ำจ้ำงเฉลี่ยของพนักงำนในแต่ละระดับกำหนดดังนี้ 
4.1.3.1  เกรด เอ เท่ำกับจ ำนวนเงินเทียบเท่ำ 11% ของค่ำจ้ำงเฉลี่ยของพนกั- งำนในแต่ละระดับโดยไม่รวมค่ำครองชีพ   
4.1.3.2  เกรด บี เท่ำกับจ ำนวนเงินเทียบเท่ำ 10% ของค่ำจ้ำงเฉลี่ยของพนกั- งำนในแต่ละระดับโดยไม่รวมค่ำครองชีพ  
4.1.3.3 เกรด ซี เท่ำกับจ ำนวนเงินเทียบเท่ำ 9% ของค่ำจ้ำงเฉลี่ยของพนกังำน ในแต่ละระดับโดยไม่รวมค่ำครองชีพ
4.1.3.4 เกรด ดี เท่ำกับจ ำนวนเงินเทียบเท่ำ 8% ของค่ำจ้ำงเฉลี่ยของพนกังำน ในแต่ละระดับโดยไม่รวมค่ำครองชีพ
4.1.3.5  จ ำนวนเงินเทียบเท่ำตำมข้อ 4.1.3.1 – 4.1.3.4 ก ำหนดเป็นจ ำนวนเงิน ที่แน่นอนโดยบงัคบัใชเ้ป็นระยะ 3 ปีติดต่อกัน
4.1.3.6  ส ำหรับจ ำนวนเงินกำรขึ้นค่ำจ้ำงประจ ำปีซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี  พ.ศ. 2540  และ พ.ศ. 2541 ให้ใช้ค่ำจ้ำงเฉลี่ยแต่ละระดับ ณ วนัที่  31  ธนัวำคม  2539 และใชเ้พียง  2 ปี ติดต่อกัน
4.1.3.7  ส ำหรับจ ำนวนเงินกำรขึ้นค่ำจ้ำงประจ ำปีในครั้งต่อไปให้ใช้ค่ำจ้ำง เฉลี่ย ณ  วนัที่   31 ธนัวำคม 2541 และวนัที่ 31 ธนัวำคม ของทุก ๆ 3 ปี เป็นตน้
 
4.1.4  คะแนนประเมินผลสุทธิเพื่อเทียบเกรดส ำหรับขึ้นค่ำจำ้งประจำ ปี :  ก ำหนดให้  91  - 100  คะแนน   คือเกรดเอ ,  81 – 90  คะแนนคือเกรดบี , 71 – 80 คะแนนคือเกรดซี ,   61 - 70  คะแนน คือเกรดดี
4.1.5   เงินค่ำครองชีพปัจจุบัน  :  ให้แยกจำกโครงสร้ำงค่ำจ้ำง     
 
4.2  เพื่อควำมเป็นธรรมให้ทั้งสองฝ่ำยคัดเลือกบุคคลหรือคณะบุคคล  เรียกว่ำ  “ผดู้ำ เนินกำร”  ภำยใน 2 เดือน นับแต่วันที่ลงนำมในข้อตกลงนี้เพื่อเร่งรัดให้ผู้ด ำเนินกำรท ำงำนให้เสร็จสมบูรณ์ ภำยในวนัที่ 1 กรกฎำคม  2539
4.3  ให้ทั้งสองฝ่ำยแต่งตั้งผู้แทนจำกผู้แทนในกำรเจรจำต่อรองในข้อตกลงนี้ฝ่ำยละ 5 คน    ภำยในวนัที่ 15 กรกฎำคม  2538  เรียกว่ำ “ คณะกรรมกำรที่ปรึกษำ”  โดยมีประธำนบริษทัฯ หรือ ประธำนบริษทัฯ (ร่วม) เป็นประธำนคณะกรรมกำรที่ปรึกษำ โดยต ำแหน่งและให้มีกำรประชุมอย่ำง นอ้ยเดือนละ 2 ครั้ง และบันทึกกำรประชุมทุกครั้ง
4.4  ให้ทั้งสองฝ่ำยแต่งตั้งผู้แทนจำกผู้แทนในกำรเจรจำต่อรองในข้อตกลงนี้ฝ่ำยละ 1 คน ภำยในวนัที่ 15  กรกฎำคม 2538 เรียกว่ำ “ผู้ประสานงาน”  เพื่อประสำนงำนกับ “ผู้ด าเนินการ” 
4.5  ทั้งสองฝ่ำยให้เริ่มน ำระบบโครงสร้ำงค่ำจ้ำงซึ่งผู้ด ำเนินกำรได้ด ำเนินกำรแล้วเสร็จและ คณะกรรมกำร ที่ปรึกษำไดอ้นุมตัิแลว้มำบังคับใช้ให้มีผลตั้งแต่วันที่  1  มกรำคม  2540   เป็นตน้ไป 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 5. :  วิธีกำรจ่ำยค่ำจ้ำงให้ใช้วิธีกำรจ่ำยค่ำจ้ำงตำมวิธีกำร เดิม
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 6. :  เงินทำ ขวญักรณีประสบอนัตรำยจำกกำรทำ งำน  แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภำพกำรจ้ำงข้อ 8 ลงวนัที่ 21 มิถุนำยน 2532 โดยเพิ่มข้อควำม ดังต่อไปนี้  “ ขอ้ 8.7 กรณีพนกังำนประสบอนัตรำยจำกกำรทำ งำนให้คณะกรรมกำรควำมปลอดภยั สอบสวนเพื่อหำสำเหตุของอุบัติเหตุนั้น หำกผลสอบสวนปรำกฏว่ำกำรเกิดอุบัติเหตุเกิดจำกกำรกระทำดว้ยควำมประมำทเลินเล่อแล้ว พนักงำนผู้ประสบอันตรำยจะไม่ได้รับเงินท ำขวัญตำมที่ก ำหนดไว้ใน ขอ้ 8.1 ” 
 
ข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 47. :  และขอ้เรียกร้องของบริษทัฯ ขอ้ที่ 8. : 
             ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภำพกำรจ้ำงอื่น ๆ   ที่มีผลใช้บังคับอยู่ และไม่ขัดแย้งกับข้อตกลง เกี่ยวกับสภำพกำรจ้ำงนี้ให้มีผลใช้บังคับต่อไป 
 
             ข้อตกลงเกี่ยวกับสภำพกำรจ้ำงฉบับนี้  ผู้แทนของทั้งสองฝ่ำยตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลำ 3 ปี ติดต่อกันคือสิ้นสุด ณ วนัที่  31  พฤษภำคม  2541  และสหภำพแรงงำนฯ จะไม่ยื่นข้อ เรียกร้องอีกภำยในระยะเวลำดังกล่ำว 
             อน่ึง  เพื่อส่งเสริมแรงงำนสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อประสิทธิภำพในกำรท ำงำน  กรรมกำรสหภำพ แรงงำนฯ ยินดีให้ควำมร่วมมือกับฝ่ำยบริหำรของบริษัทฯ ในกำรให้ค ำแนะน ำกับพนักงำนให้สนใจ ปฏิบตัิหนำ้ที่     และรับผิดชอบต่องำนที่ได้รับมอบหมำยจำกผู้บังคับบัญชำด้วยควำมซื่อสัตย์สุจริตและ สร้ำงควำมเข้ำใจที่ดีต่อกัน  พร้อมกับให้ควำมร่วมมือกับฝ่ำยบริหำรในกำรขจัดปัญหำข้อขัดแย้งที่อำจมี ขึ้น  ทั้งนี้  เพื่อควำมก้ำวหน้ำของบริษัทฯ และพนักงำนเป็นกำรส่วนรวมอีกด้วย 
            ในกรณีเกิดปัญหำตีควำมตำมข้อตกลง ผู้แทนของทั้งสองฝ่ำยตกลงให้สวัสดิกำรและคุ้มครอง แรงงำนจงัหวดัทอ้งที่  และผู้แทนของทั้งสองฝ่ำย ๆ ละ 1 คน ร่วมกันเป็นผู้ตีควำมชี้ขำด 
             ผู้แทนของทั้งสองฝ่ำยตำมรำยนำมท้ำยข้อตกลงนี้ได้อ่ำนข้อควำมและเข้ำใจโดยตลอดแล้วจึง ไดล้งลำยมือชื่อไวเ้ป็นหลกัฐำน

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2541

าข้อตกลงเกี่ยวกับภาพการจ้าง
 
ระหว่าง
 
สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับ บริษัทไทยเรยอน จำกัด
 
**************** 
 
บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) 
 
วันที่  20  มิถุนายน  2541  
 
           ตามที่คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)  เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 รวม 20 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้)  และบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นข้อ เรียกร้องของเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงานไทยเรยอน เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 รวม 10 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้)   
          ผู้แทนฝ่ายบริหารของบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และผู้แทนของสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้เริ่มเจรจากันครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 โดยให้นำข้อเรียกร้องทั้งหมดมาเจรจา ร่วมกัน และในที่สุดผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้สามารถทำความตกลงกันได้ เมื่อวันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2541 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
ข้อ 1.  ค่าจ้างขั้นต่ำ  
 
1.1 ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้ยกเลิกข้อตกลงฯ ว่าด้วยการปรับเงินค่าจ้างอันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างขั้นต่ำของทางราชการทุกส่วนและการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไป ตามกฎหมาย         
         อนึ่ง บริษัทฯ ตกลงปรับค่าจ้างให้พนักงานคนละ 30 บาท ต่อเดือนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 โดยให้จ่ายค่าจ้างและเงินค่าล่วงเวลา จะจ่ายให้ภายในงวดการจ่ายค่าจ้างวันที่  7  กรกฎาคม  2541  สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างรายงวดและวันสิ้นเดือนสาหรับพนักงานที่รับค่าจ้าง เดือนละครั้งและสหภาพฯ ตกลงถอนฟ้องคดีที่ฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดอ่างทอง) ในคดี หมายเลขดำ ที่ 7802/2541
 
ข้อ 2.  ค่าครองชีพ 
 
2.1  บริษทัฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ ดังนี้ 
2.2  เงินช่วยเหลือค่าครองชีพนี้ไม่รวมในค่าจ้างมูลฐาน ไม่นำมาคิดในการทำงานล่วงเวลา เงินทดแทน  เงินชดเชย และโบนสัประจำปี   
  • ตั้งแต่วันที่  1  มิถุนายน  2541    จำนวนเงิน  4,000.-  บาท/เดือน  
  • ตั้งแต่วันที่  1  มิถุนายน  2542    จำนวนเงิน  4,100.-  บาท/เดือน   
  • ตั้งแต่วันที่  1  มิถุนายน  2543    จำนวนเงิน  4,200.-  บาท/เดือน
ข้อ 3.  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
 
3.1  บริษัทฯ ตกลงถอนเงินสะสมของพนักงานซึ่งฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา อ่างทอง และตกลงจ่ายเงินสมทบตามข้อตกลงฯเดิม และนำฝากในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้วภายในวันที่  31  กรกฎาคม  2541 
3.2  สำหรับเงื่อนไขหรือระเบียบข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ อื่น ๆ ใหเ้ป็นไปตามเดิม
 
ข้อ 4.  การประกันสุขภาพหมู่ 
 
4.1  ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้แก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงฯ ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4 และข้อเรียกร้องของบริษ้ทฯ ข้อที่ 3 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 กรณีค่ารักษาพยาบาลในฐานะคนไข้ ใน 
 
4.1.1  ค่าใช้จ่ายหรือบริการทั่วไปของโรงพยาบาล 22,000 บาท (สูงสุดต่อการเจ็บป่วยต่อครั้ง)   
4.1.2  ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับคลีนิค 150 บาท (15 ครั้งต่อ 15 วัน ต่อโรค รวมกับโรงพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี)   
4.1.3  กรณีการรักษาพยาบาลในฐานะคนไข้ในและมีค่าใช้จ่ายเกินจากการคุ้มครองตามตารางผลประโยชน์ (ข้อ 1-10) ตามข้อตกลงเดิม ถ้าน้อยกว่า 80,000 บาท ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ถ้าเกินกว่า 80,000 บาท พนักงานตอ้งนำหลักทรัพย์ หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป หรือ พนักงานของบริษัทฯ จำนวน 2 คน ค้ำประกันต่อบริษัทฯ โดยพลัน
4.1.4  เงินส่วนเกินจากการคุ้มครองผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ 4.1.3 จะถูกหักจากค่าจ้าง ดังนี้   
 
4.1.4.1  พนักงานซึ่งได้รับค่าจ้างเดือนละครั้ง หักเดือนละ 1,500 บาท และ หักโบนัส ประจำปี 25% ของจำนวนเงินโบนัส   
4.1.4.2  พนักงานซึ่งได้รับค่าจ้างเดือนละ 2 งวด หักงวดละ 750 บาท และ หักโบนัส ประจำปี 25% ของจำนวนเงินโบนัส 
 
4.2 โรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาในฐานะคนไข้ในโดยใช้เครดิตได้เพิ่มเติม คือ
  • โรงพยาบาลสระบุรี 
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์  จังหวัดสระบุรี  
  • โรงพยาบาลศุภมิตร จังหวัดสุพรรณบุรี 
4.3  โรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะคนไข้นอก โดยใช้เครดิตได้ เพิ่มเติม คือ โรงพยาบาลราชธานี  จังหวัดพระนครศรีอยธุยา  
4.4  การเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใช้เครดิตตามข้อ 4.2 และ 4.3 ต้องได้รับความเห็นชอบจากโรงพยาบาลดังกล่าวด้วย  
4.5  สำหรับเงื่อนไขอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้เป็นไปตามเดิม
 
ข้อ 5.  เงินโบนัสประจำปี 
 
5.1  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2541 , พ.ศ. 2542 , พ.ศ. 2543   

อายุงาน ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน  
  • ครบ  1  ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี  102  วัน      
  • ครบ  2  ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี  107  วัน      
  • ครบ  4  ปี  ขึ้นไป 127  วัน    
 
5.2 บริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงาน โดยจ่ายเป็นเช็คระบุชื่อพนักงานแต่ละคนและขีดคร่อมคำว่าผู้ถือด้วย 
5.3  สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเดิม
 
ข้อ 6.  ทุนการศึกษา 

6.1  บริษัทฯ ตกลงจะจัดทุนเพื่อการศึกษาของบุตรพนักงานซึ่งมีเงินเดือนไม่เกิน 18,000 บาท  ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า       
  • ปีการศึกษา พ.ศ. 2541  ปีละ 120 ทุน ๆ ละ  1,600 บาท       
  • ปีการศึกษา พ.ศ. 2542  ปีละ 120 ทุน ๆ ละ  1,600 บาท       
  • ปีการศึกษา พ.ศ. 2543  ปีละ 120 ทุน ๆ ละ  1,600 บาท 

6.2  เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม 
6.3  บุตรพนักงานคนใด ซึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปจนถึงปริญญาตรี  ถ้าผลการศึกษาในปีที่ผ่านมาได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ให้ไ้ด้รับทุนโดยมิต้องจับฉลาก    
 
ขอ้ 7. งบประมาณเพื่อจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ 
 
7.1  บริษัทฯ ตกลงให้เงินสนับสนุนในการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติโดยใช้วิธีปฏิบัติตามระเบียบเดิม   
  • ปี พ.ศ. 2542  35,000 บาท   
  • ปี พ.ศ. 2543  40,000 บาท   
  • ปี พ.ศ. 2544  45,000 บาท
 
ข้อ 8.  เงินขยันประจำเดือน  ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 33 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2535 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน พนักงานประจำซึ่งบันทึกเวลาเข้า – ออก เพื่อปฏิบัติหน้าที่ (ปั้มบัตร) ตามข้อตกลงเดิม จะได้รับ “เงินขยัน” ประจำเดือนเมื่อพนักงานปฏิบัติงานครบระยะเวลา 1 เดือน โดยไม่ขาดงาน ไม่ลา ป่วย ไม่มาทำงานสายกลับก่อนเลิกงาน หรือละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติงาน จะไดร้ับเงินขยันประจำเดือน ดังนี้ 
 
8.1  พนักงานปฏิบัติงานในกะปกติ (จี) จะได้รับเงิน 200 บาท  
8.2  พนักงานที่ปฏิบัติงานเป็นกะ (เช้า , บ่าย , ดึก) หากปฏิบัติงานตามเงื่อนไขครบทุกกะ จะได้รับเงิน 300 บาท 
8.3  พนักงานซึ่งปฏิบัติงานเป็นกะ (เช้า , บ่าย , ดึก) หากปฏิบัติงานครบเงื่อนไข “เฉพาะกะดึกกะเดียว” จะได้รับเงิน 50 บาท การจ่ายเงินขยันในข้อนี้จะจ่ายพร้อมกับค่าจ้างงวดวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
 
ข้อ 9.  หน่วยงานสปินนิ่งผลืต 
           บริษัทฯ จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการดำเนินการ” ประกอบด้วยผู้แทนของบริษัทฯ และผู้แทนของสหภาพฯ ซึ่งสังกัดในแผนกนี้ จำนวน 3 คน เพื่อร่วมกันพิจารณาแก้ปัญหาการทำงานด้านต่างๆ ของแผนกสปินนิ่ง ผลิต ใหเ้รียบร้อย
 
ข้อ 10. บริษัทฯ ตกลงทำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานของแผนกสปินนิ่ง (ผลิต) ดังนี้ 
 
10.1  ติดพัดลมเพื่อดูดลมเย็นจากภายนอกอาคารเพื่อคลายความร้อนในบริเวณที่ทำงานดังนี้   
 
10.1.1  บริเวณพื้นที่พักผ่อนใกล้เครื่องสปินนิ่ง : บริเวณพื้นที่ผนังทิศตะวันตกใกล้กับหัวฉีดที่หนึ่งของเครื่อง 2 และ บริเวณพื้นที่ระหว่างเสาของเครื่อง 1 และ 3 จัดทำตู้โดยใช้โครงอะลูมิเนียม    พร้อมผนังกระจกและจัดทำท่อจ่ายลมด้านบนศีรษะ   
10.1.2  บริเวณคัทเตอร์ : บริเวณพื้นที่ทำงานของคัทเตอร์หมายเลข 1 และ 2 (ด้าน บี ของเครื่อง 1 และ ด้าน เอ ของเครื่อง 2) และบริเวณคัทเตอร์ หมายเลข 3 (ด้าน บี ของเครื่อง 3)   
10.1.3 บริเวณเครื่องอาฟเตอร์ทรีทเม้นท์ : บริเวณระหว่างเสา (ใกล้ถังเตรียมน้ำยาบลีซซิ่ง) ของเครื่อง 1 และเครื่อง 2 และบริเวณใกลบ้นัไดของเครื่อง 3 จัดทำ ตู้โดยใช้โครงอะลูมิเนียมพร้อม  ผนังกระจกและวัสดุที่เหมาะสมด้านหน้า และจัดทำท่อจ่ายลมด้านบนศีรษะ 
 
10.2  รื้อกำแพงภายใน (ด้านทิศเหนือ) ของห้องพักผ่อนของสปินเนอร์ เพื่อให้มีความกว้างมากขึ้นพร้อมประตูทางเข้า 
10.3  บริษัทฯ จะดำเนินการตามข้อ 10.1.1 – 10.1.3 ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
 
ข้อ 11.  การทำงานจากกะดึก (ซี) ต่อเนื่องกะเช้า (เอ)       
 
11.1  พนักงานที่ตารางการทำงานกำหนดอยู่ในกะดึก (ซี) ในวันใดและทำงานต่อในกะเช้า (เอ) ของวันถัดไปให้ปฏิบัติดังนี้   
 
11.1.1 หากพนักงานไม่ประสงค์จะมาทำงานในกะดึก (ซี) ของวันนั้นให้กรอกใบแลกกะเพื่อแจ้งให้หัวหน้างานทราบก่อนจะออกจากกะเช้า (เอ) และให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในกะดึก (ซี) ของวันนั้นแล้ว
11.1.2 ให้พนักงานกะบ่าย (บี) ทำงานต่อในกะดึก (ซี) แทน  
11.1.3 พนักงานสังกัดฝ่ายซ่อมบำรุง ซึ่งตามตารางการทำงานกำหนดอยู่ในกะดึก ของวันซ่อมบำรุงเครื่องจักร (พรีเวนทีพ) วันใดหากวันนั้นถูกมอบหมายให้มาปฏิบัติงาน เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในตอนเช้าแล้วต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในกะดึก (ซี) ของตนเองด้วย
 
ข้อ 12.  การกู้เงินเพื่อค่าเล่าเรียนบุตร 
    ให้ยกเลิกกรณีกู้เพื่อ “ค่าเล่าเรียนบุตร” ในข้อ 36.2 ของข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 36 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 โดยใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
 
12.1  ให้แต่ละครอบครัวกู้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ
12.2 หรือ 12.3 เพียงข้อเดียว 12.2 บุตรซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาล – มธัยมศึกษาปีที่ 6 ให้กู้ได้เท่าที่จ่ายจริงและไม่เกิน 15,000 บาท   
12.3  บุตรซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) – ปริญญาตรี ให้กู้ได้ไม่เกิน 18,000 บาท ทุกรายการดำเนินการหรือเงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
 
ข้อ 13.  การเตรียมพร้อมสำหรับรถพยาบาลฉุกเฉิน  กรณีพนักงานโอปะเรเตอร์ (ขับรถ)  สังกัดแผนกสโตร์ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ในกะบ่าย (บี) หรือกะดึก (ซี) ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ บริษัทฯจะจัดให้พนักงานโอปะเรเตอร์ (ขับรถ) คนอื่นที่ปฏิบัติงานในกะเช้าหรือกะบ่ายทำล่วงเวลาแทน ทั้งนี้ไม่หมายถึง Op. Forklift
 
ข้อ 14.  ทางเดินเท้า  บริษัทฯ จะปรับปรุงทางเดินเท้าจากบริเวณหลังหอพักชายโสดเชื่อมกับถนนสาธารณะและ ส่วนของถนนสาธารณะจากมุมด้านทิศตะวันตกของบ่อเติมอากาศไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยใช้หิน คลุกบดอัดใหเ้ป็นทางเดินเท้ามีความกว้างประมาณ 1.00 เมตร
 
ข้อ 15.  ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่น ๆ ที่มีผลใช้บังคับอยู่  และไม่ขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างนี้ให้มีผลใช้บังคับต่อไป 
 
              ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกันคือ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2544 และสหภาพแรงงานฯ จะไม่ยื่นข้อเรียกร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว 
              อนึ่ง เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานกรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจปฏิบัติหน้าที่ และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน พร้อมกับให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย 
              ในกรณีเกิดปัญหาตีความตามข้อตกลงผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดหวัดท้องที่ และผู้แทนของทั้งสองฝ่ายๆละ 1 คน ร่วมกันเป็นผู้ตีความชี้ขาด 
           ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ได้อ่านข้อความและเข้าใจโดยตลอดแล้วจึง ได้ลงลายมือไว้เป็นหลักฐาน  

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2544

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

 

ระหว่าง

สหภาพแรงงานไทยเรยอน กับบริษัท ไทยเรยอน จำกัด ( มหาชน  

………………………………   

บริษัทไทยเรยอน จำกัด ( มหาชน ) 
 
วันที่  6  สิงหาคม  2544  
 
                 ตามที่คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอนได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 รวม 31 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้) และฝ่ายบริหารบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงานไทยเรยอน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 รวม 8 ข้อ (ตามสำเนาข้อเรียกร้องแนบท้ายนี้) 
 
                  ผู้แทนของบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และผู้แทนของสหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้เริ่มเจรจากันครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2544 และทั้งสองฝ่ายตกลงให้นำข้อเรียกร้องทั้งหมดมาเจรจาร่วมกัน ในที่สุดผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตามรายนามท้ายข้อตกลงฯนี้ สามารถทำความตกลงกันได้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2544 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
ข้อ 1.  เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 2 ข้อเรียกร้องฯ ของบริษัทฯ ข้อที่ 1)ำ
 
1.1 บริษัทฯตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพดังนี้     
 
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 จำนวนเงิน 4,400 (สี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน)  บาท/เดือน     
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2545 จำนวนเงิน 4,500 (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) บาท/เดือน     
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 จำนวนเงิน 4,500 (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) บาท/เดือน
 
1.2  เงินช่วยเหลือค่าครองชีพตามข้อนี้ไม่รวมในค่าจ้างมูลฐาน ไม่นำมาคิดในการทำงานล่วงเวลาเงินทดแทน เงินชดเชยและโบนัสประจำปี
1.3  พนักงานใหม่ซึ่งอยู่ในสัญญาทดลองปฏิบัติงาน 120 วัน บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าครองชีพให้กับพนักงานผู้นั้นเมื่อทดลองปฏิบัติงานครบ 90 วันแล้ว
1.4  เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามเดิม   
 
ข้อ 2.  การประกันสุขภาพหมู่  (ขอ้เรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 4 , ข้อเรียกร้องฯ ของบริษทัฯ ข้อที่ 7) ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงฯ ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 4 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2541 กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน   
2.1 ค่าห้องและค่าอาหาร
  • ค่าห้องและค่าอาหาร (โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ) วันละ 1,600 บาท       
  • ค่าห้องและค่าอาหาร (โรงพยาบาลต่างจังหวัด) วันละ 1,200 บาท (สูงสุด 30 วันต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง)

2.2   ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด 14,000 บาท (ตามความเป็นจริงแต่ละครั้ง) 

2.3   ค่าธรรมเนียมแพทย์ดูแลไม่เกิน วันละ 400 บาท (สูงสุด 30 วัน ต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง)   

2.4   ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับโรงพยาบาล 700 บาท   

      ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับคลีนิค 170 บาท (15 ครั้งต่อ 15 วันต่อโรค สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี)       

2.5   ค่าผ่าตัดเพราะการคลอดบุตรตามความเห็นของแพทย์ 3,500 บาท

2.6   สำหรับเงื่อนไขอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้เป็นไปตามเดิม

ข้อ 3 .  เงินโบนัส (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 5,ข้อเรียกร้องฯ ของบริษัทฯ ข้อที่ 2 )

3.1  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ.2544 อายุงาน     

ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน    

  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี 102 วัน   
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี 107 วัน
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป 127 วัน

 

3.2  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ.2545 อายุงาน               

ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน    

  • ครบ 1 ปี  แต่ไม่ครบ  2  ปี      102      วัน   
  • ครบ 2 ปี  แต่ไม่ครบ  4  ปี      107      วัน
  • ครบ 4 ปี  ขึ้นไป       127      วัน

 

3.3  บริษทัฯ  ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ.  2546 อายุงาน               

ได้รับเงินโบนัสเท่ากบัค่าจ้างต่อวัน   

  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี 102 วัน   
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี 107 วัน
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป 128 วัน

3.4 บริษทัฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงาน โดยจ่ายเป็นเช็คระบุชื่อพนักงานแต่ ละคนและขีดคร่อมคำว่าผู้ถือด้วย

3.5   สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเดิม

ข้อ 4 . ทุนการศึกษาสำหรับบุตรของพนักงาน (ข้อเรียกร้องฯของสหภาพฯ ข้อที่ 6)   ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 6 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2541 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน บริษัทฯตกลงจัดทุนการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงานตามเงื่อนไขดังนี้

4.1  จำนวนทุนการศึกษา : ปีละ 130 ทุนๆละ 1,850 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
4.2  พนักงานผู้มีสิทธิยี่นคำขอรับทุน : พนักงานทุกคนซึ่งมีเงินเดือนไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท 
 
4.3   บุตรของพนักงานซึ่งมีสิทธิได้รับทุน  :
4.3.1  ศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมีผลการเรียนเฉลี่ยทั้งปีตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป 
4.3.2  ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีผลการเรียน เฉลี่ยทั้งปีตั้งแต่ 2.7 ขึ้นไป
 
4.4   ระเบียบปฏิบัติ
4.4.1  บุตรพนักงานคนใดที่มีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.7 ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับทุนโดยไม่ต้องจับสลาก                             
4.4.2  กรณีผู้มีสิทธิได้รับทุนเกินกว่าจำนวนทุนให้ใช้วิธีการจับสลาก   
4.4.3  กรณีผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษาน้อยกว่าจำนวนทุน ที่กำหนดไว้ให้พนักงานส่งรายชื่อบุตรคนใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามข้อ 4.3 เพื่อนำมาจับฉลากจนกว่าจะครบตามจำนวนทุน
4.4.4  ให้พนักงานยื่นคำขอรับทุนต่อบริษัทฯ ภายในเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี                                 
4.4.5  บริษัทฯจะมอบทุนการศึกษาภายในเดือนมิถุนายนของแต่ละปี
 
ข้อ 5.  การตรวจสอบปริมาณแก๊ซในบริเวณที่ทำงาน  ( ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 7 ) 
บริษัทฯ ตกลงเก็บตัวอย่างแก๊สเพื่อวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (แลบฯ) ทุกเดือนและนำผลการวิเคราะห์ส่งมอบให้หัวหน้าหน่วยงานเพื่อแจ้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ บริษัทฯตกลงจะทำการปรับปรุงแก้ไขปัญหากลิ่นแก๊ซที่บริเวณเครื่องสปินนิ่งแมทชีน แผนก สปินนิ่ง(ผลิต) ดังต่อไปนี้   
 
5.1  จัดทำบานเลื่อนกันแก๊ซที่บริเวณ Stretch rollers ของเครื่องสปินนิ่งแมทชีน ทั้ง 3 เครื่อง โดยขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
5.2  แก้ไขระบบ dripping drain และระบบ exhaust fan ของ Hot stretch bath M/C No.3 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2544 หากแก้ไขแล้ว ไม่สามารถทำให้ปัญหากลิ่นแก๊ซที่ฟุ้งกระจายลดลงในบริเวณดังกล่าวบริษัทฯ ตกลงจะทำบานเลื่อนปิด-เปิดที่ Hot Stretch bath M/C No.3 ให้
5.3  ปรับปรุงระบบ exhaust fan ที่ Feed rollers และ Stretch rollers ของสปินนิ่ง แมทชีน ทั้ง 3 เครื่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   
5.4  จัดทำบานเลื่อนที่ปิด-เปิด ได้สะดวกของตู้เก็บเส้นโทว์ของสปินนิ่งแมทชีน ทั้ง 3 เครื่อง    
5.5  จดัทำสวิทชป์ิด–เปิด บานเลื่อนกันแก๊ซอีก 1 ชุด ที่พนักงานเฝ้าเครื่องทั้ง 3 เครื่อง
5.6  ให้มีการตรวจเช็คแก๊ซ CS2,H2S โดยห้องแลบ (ใช้ Dragger Tube) ที่บริเวณทำงานเครื่องสปินนิ่งแมทชีนบริเวณ Hot Stretch bath บริเวณ Stretch Rollers บริเวณ Cutter Platform และบริเวณ M/C side ทั้งสองด้านของทุกเครื่อง อาทิตยล์ะ 1 ครั้ง พร้อมทั้งแจ้งผลการตรวจเช็ค โดยติดบอร์ดให้พนกังานทุกคนทราบ ทั้งนี้หลังจากมีการแก้ไขตามข้อ 5.1–5.5 แล้ว ผลการ ตรวจเช็คปรากฏว่าปัญหาเรื่องกลิ่นแก๊ซลดลงหลังจากนั้น 2 เดือน ให้ลดความถี่ในการตรวจเช็คโดย ห้องแลบได้แต่ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 
 
ข้อ 6 .  การลาของกรรมการสหภาพฯ และสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 8 และข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 4 )
บริษัทฯ อนุญาตให้กรรมการบริหารสหภาพแรงงานฯ และสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงานฯ และสหกรณ์ออมทรัพย์ฯได้คราวละไม่เกิน 2 คน และรวมวันลาทั้งหมดของทุกคนไม่เกิน 110 วันของแต่ละปีปฏิทิน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ การลาดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานต่อบริษัทฯ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 
 
ข้อ  7 . คณะกรรมการตรวจสอบอตัรากำลังพนักงาน (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 10) 
บริษัทฯ ตกลงจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้กำลังพลขึ้นมาคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนบริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯฝ่ายละ 5 คนและหรือที่ปรึกษาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน 2 คน เป็นคณะกรรมการ เพื่อศึกษากำลังพลในแต่ละแผนกว่าเหมาะสมกับสภาพงานในปัจจุบัน หรือไม่และให้เสนอเรื่องให้ประธานบริษัทฯ อนุมัติต่อไป
 
ข้อ  8 . บุคลากรของผู้รับเหมา (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 11 ) 
บริษัทฯ ตกลงยกเลิกการนำบุคลากรผู้รับเหมามาทำงานประจำแทน หรือทำงานร่วมกับพนักงานในสายการผลิตหลัก หรืองานซ่อมบำรุงในสายการผลิต เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เช่น ทำงานแทนพนักงานประจำซึ่งเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ ซึ่งลาป่วยเกินกว่า 30 วันขึ้นไป งานปรับปรุงต่างๆ การซ่อมบำรุงประจำเดือน การซ่อมเครื่องจักรใหญ่ หรืองานซึ่งมีเป็นครั้งคราว               
 
ข้อ 9.   การเกษียณอายุ (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 12 )
 
9.1  บริษัทฯ ตกลงแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้พนักงานหญิงเกษียณอายุ 55 ปี เท่ากับพนักงานชาย หากมีคำพิพากษาของศาลฎีกา (คดีแรงงาน) พิพากษาให้นายจ้างกำหนดอายุ เกษียณของพนักงานชายและพนักงานหญิงเท่ากัน
9.2  บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานซึ่งถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการทุพพลภาพถาวรตามกฎหมายประกันสังคมโดยนำหลักเกณฑ์ของค่าชดเชย ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.  2541 มาใช้โดยอนุโลม                                     
9.3  เมื่อพนักงานเกษียณอายุบริษัทฯ จะมอบของที่ระลึกเป็นพระเครื่องพร้อมกรอบทองคำสลักชื่อของพนักงานมูลค่าประมาณ 3,500 บาท  
9.4  ในการจัดงานเลี้ยงส่งแก่พนักงานที่เกษียณอายุแต่ละคน บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมาณ ให้คนละ 100 บาท เท่ากับจำนวนพนักงานของหน่วยงานนั้นๆ หรืออย่างน้อย 3,000 บาท มอบให้หัวหน้าหน่วยงานที่พนักงานสังกัดเป็นผู้ดำเนินการจัดงาน 
 
ข้อ 10.  เงินช่วยเหลือเพื่อจัดงานศพและสงเคราะห์แก่ทายาทพนักงานซึ่งถึงแก่กรรม (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 13) 
ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อ 6 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน เมื่อพนักงานบริษัทฯ ถึงแก่กรรม บริษัทฯตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อจัดงานศพและสงเคราะห์แก่ทายาทพนักงาน ซึ่งถึงแก่กรรมเป็นเงิน 133,000 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) ให้แก่ทายาทดังนี้
 
10.1  พนักงานซึ่งมีคู่สมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) จ่ายให้กับคู่สมรสทั้งหมด
10.2  พนักงานซึ่งมีคู่สมรสโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่จดทะเบียนสมรส) จ่ายให้สามีหรือภรรยา 2 ส่วน และจ่ายให้บิดาหรือมารดาของพนักงานอีก 1 ส่วน 
10.3  พนกังานโสด จะจ่ายให้บิดาหรือมารดาของพนักงานทั้งหมด 
10.4  หากพนักงานถึงแก่กรรมและไม่มีทายาท ตามข้อ 10.1 , 10.2 , 10.3 ให้จ่ายแก่ทายาทอื่นตามกฎหมาย
 
ข้อ 11  เครื่องแบบและรองเท้า (ข้อเรียกร้องฯของสหภาพฯ ข้อที่ 14)
 
11.1  บริษัทฯ ตกลงแจกเครื่องแบบแก่พนักงานคนละ 2 ชุดต่อปีและพนักงานช่างเชื่อม บริษัทฯตกลงตัดหรือซื้อเป็นชุดบลูยีนส์ให้คนละ 2 ชุด ต่อปี ภายในเดือนมกราคมของทุกปี
11.2  บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงคุณภาพของการตัดเย็บเครื่องแบบ โดยทำความตกลงกับผู้รับเหมา ตามบันทึกแนบท้ายข้อตกลงฉบับนี้
11.3  บริษัทฯ ตกลงแจกเสื้อยืดแบบไม่มีปก เพื่อใส่เป็นชุดลำลองในขณะทำงานแก่ พนักงานชายคนละ 2 ตัวในเดือนมกราคม 2545 และคนละ 1 ตัวในเดือนมกราคมปีต่อๆไป
11.4  บริษัทฯ ตกลงแจกรองเท้านิรภัย (หัวเสริมเหล็ก) แก่พนักงานคนละ 2 คู่ต่อปีในเดือนมกราคม เว้นแต่พนักงานหญิงซึ่งใช้เครื่องแบบประเภทสำนักงานให้ใช้ระเบียบเกี่ยวกับ รองเท้า เช่นเดิม
11.5  พนักงานผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบให้ครบถ้วนตามที่บริษัทฯ ได้แจกให้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในบริเวณโรงงานโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะไดร้ับโทษทางวินัย
 
ข้อ 12. การจัดงบประมาณเพื่อกิจกรรมด้านต่างๆ (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 15)
 
12.1  การจัดนำเที่ยวประจำปี :   
  • พ.ศ. 2544  จำนวนเงิน 220,000 บาท ,
  • พ.ศ. 2545  จำนวน เงิน 230,000 บาท  , 
  • พ.ศ. 2546  จำนวนเงิน 240,000 บาท
12.2  การจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่  :
  • พ.ศ. 2544 จำนวนเงิน 230,000 บาท 
  • พ.ศ. 2545 จำนวนเงิน 240,000 บาท 
  • พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 250,000 บาท 
12.3  การจัดการแข่งขันกีฬาภายใน และค่าใช้จ่ายในการไปแข่งขันกีฬานอกโรงงาน (นอกเวลาทำงาน) : ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ปีละ 140,000 บาท 
 
12.4  การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหภาพแรงงานฯ :   
  • พ.ศ. 2544 จำนวนเงิน 40,000 บาท    
  • พ.ศ. 2545 จำนวนเงิน 40,000 บาท  
  • พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 45,000 บาท                         
12.5  การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ  : 
  • พ.ศ. 2545 จำนวนเงิน 55,000 บาท 
  • พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 55,000 บาท 
  • พ.ศ. 2547 จำนวนเงิน 55,000 บาท
12.6  สำหรับเงื่อนไขหรือระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้ให้เป็นไปตามเดิม
 
ข้อ  13.  ร้านอาหาร (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 17) ปรับปรุงร้านอาหารปัจจุบนัให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 คือ 
 
13.1  ติดตั้งผนังกระจกกั้นระหว่างห้องครัวกับบริเวณจำหน่ายอาหาร
13.2  ติดตั้งหน้าต่างเป็นแบบบานเลื่อนด้านทิศใต้
13.3  ปรับปรุงรั้วเหล็กตามแนวทางเดินโดยใช้ไม้
13.4  ย้ายอ่างล้างมือและติดตั้งเพิ่มอีก 2 อ่างที่ผนังด้านทิศใต้
13.5  ติดตั้งเครื่องเป่าลมร้อน 2 ตัว                 
13.6  บริษัทฯ ตกลงจัดที่พักสูบบุหรี่ให้ที่ระเบียง และพนักงานต้องงดสูบบุหรี่ในร้านอาหาร
13.7  จ่ายค่าข้าวต้มสำหรับพนักงานในกะดึก คนละ 13 บาท แก่ผู้รับเหมา ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
 
ข้อ 14.   เฟอร์นิเจอร์สำหรับหอพักจุด 8 (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพข้อที่ 18)
บริษทัฯ ตกลงให้มีผู้แทนของฝ่ายบริหารและผู้แทนของสหภาพฯ ฝ่ายละ 3 คน ร่วมกันสำรวจสภาพเฟอร์นิเจอร์ทุกประเภทที่บริษัทฯ ได้จัดให้และตัดสินใจว่าจะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ตามที่เห็นสมควร และหลังจากนี้หากผู้พักอาศัยรายใดเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ประเภทใดควรได้รับการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ให้บันทึกในสมุดบันทึกที่จัดไว้ที่ ไทม์ออฟฟิศเพื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะได้ทราบและดำเนินการใหต้ามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้แล้ว
 
ข้อ 15.  การลาเพื่อจัดงานศพบิดาหรือมารดา ของคู่สมรส (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 19)
กรณีบิดาหรือมารดาของคู่สมรสถึงแก่กรรม บริษัทฯ ตกลงอนุญาตให้พนักงานลากิจเพื่อจัดงานจัดงานศพกรณีละ 3 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้พนักงานต้องนำเอกสารหลักฐานมาแสดงและปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการลา
 
ข้อ  16.  ถนนคอนกรีต (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 20) 
บริษัทฯ ตกลงทำถนนคอนกรีตเสริมเหล็กผิวจราจรกวำาง 2.50 เมตร จากบริเวณลานคอนกรีตสำหรับล้างรถไปยังจุดรักษาความปลอดภัยจุดที่ 9 และขยายถนนดำานหัวมุมสนามฟุตบอลออกไปอีก 1 เมตรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคม 2545           
 
ข้อ  17.  การตรวจสอบยานพาหนะและบุคคลภายนอก (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 21)     
บริษัทฯ ตกลงจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณถนนใกล้กับมุมสนามฟุตบอลด้านทิศตะวันออกเพื่อตรวจสอบรถ เข้า–ออก ของพนักงานและบุคคลภายนอกตลอดเวลาให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 ทั้งนี้บริษัทฯมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
 
ข้อ 18.  รางวัลความเพียรประจำปี (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภาพฯ ข้อที่ 22 ขอ้เรียกร้องฯ ของบริษัทฯ ข้อที่ 3)
บริษัทฯ ตกลงให้เงินรางวัลความเพียรประจำปี แก่พนักงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อ 10 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 หากพนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานเต็มตลอดปีปฏิทินคือ ไม่ลาป่วย ไม่ขาดงานไม่ลากิจ ตลอดปีหรือมาทำงานสายครั้งละไม่เกิน 5 นาที รวมไม่เกิน 30 นาทีต่อปี จะได้รับเงินรางวัลความเพียรในวันจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ดังนี้
 
18.1  กรณีพนักงานซึ่งปฏิบัติงานเฉพาะเวลาปกติ (กะจี) ให้ได้รับเงินรางวัลความเพียรคนละ 7,000 บาท   
18.2  กรณีพนักงานซึ่งงปฏิบัติงานเป็นกะ (กะเช้า,กะบ่าย,กะดึก) ให้ได้รับเงินรางวัลความเพียรคนละ 8,000 บาท   
18.3  พนักงานคนใดทำงานเข้ากะ (เอ,บี,ซี) สลับกับกะปกติ (จี) หากรวมจำนวนวันซึ่งได้ปฏิบัติงานตลอดปีในกะ เอ,บี,หรือซี แล้วน้อยกว่า 180 วัน ให้ได้รับเงินรางวัลตาม ข้อ 18.1 หากมากกว่า  180 วัน ให้ได้รับเงินรางวัลตามข้อ 18.2 แล้วแต่กรณี
18.4  การลาเหล่านี้ไม่นำมาพิจารณาในการไดร้ับสิทธิเงินรางวัลความเพียรคือ พนักงานซึ่งลางานเพื่องานศพบิดา/มารดาของตนเองหรือคู่สมรส,งานศพคู่สมรสหรือบุตร,ลาแต่งงาน,ลาเพื่อให้การเป็นพยานในศาล,ลาเพื่อรับการเกณฑ์ทหารตามกำหนดของทางราชการ ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน 8 วันและพนักงานซึ่งประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
18.5  ข้อตกลงเรื่องเงินรางวัลความเพียรนี้จะไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกเมื่อข้อตกลงนี้ หมดอายุและให้มีผลบังคับใช้ถึงปี พ.ศ.2549
 
ข้อ 19.  การปรับปรุงสนามฟุตบอล (ข้อเรียกร้องฯ ของสหภำพฯ ข้อที่ 23)
บริษัทฯ จะนำดินจำนวน 30 คันมาถมเพิ่มเติม โดยใช้รถเกรดเดอร์และรถบดเพื่อทำให้สนามฟุตบอลมีสภาพดียิ่งขึ้นพร้อมท่อสำหรับจ่ายน้ำรอบสนามฟุตบอล ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30  พฤศจิกายน 2544
 
ข้อ 20.  โครงสร้างค่าจ้างระบบจำแนกตำแหน่ง (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 24,ข้อเรียกร้องฯ ของบริษัทฯ ข้อที่ 6)               
 
20.1 บริษัทฯ ตกลงแก้ไขเพิ่มเติมในบทที่ 3 เรื่องการขึ้นเงินเดือนประจำปีของระบบโครงสร้างค่าจ้างระบบจำแนกตำแหน่งข้อ 3.1,3.2,3.3,และ 4 ดังนี้
 
 
3.1  หลกัเกณฑ์ด้านกำหนดเวลา
การขึ้นเงินเดือนพนักงานจะกระทำใน เดือนมกราคมของแต่ละปี ตามผลที่ได้จากการประเมินผลงานซึ่งกระทำปีละ 2 ครั้ง โดยใช้แบบประเมินผล 2 แบบ แยกเป็นพนักงานทั่วไป (ระดับ 1–4) และพนักงาน งานระดับผู้บังคับบัญชา (5-7) ตามแบบประเมินผล
 
3.2  หลกัเกณฑ์ว่าด้วยอตัราการขึ้นค่าจ้างประจำปี
จำนวนเงินที่พนักงานจะได้รับเพิ่มขึ้นตามผลการประเมินผลงานนั้นจะคำนวณเป็นอัตราร้อยละ (8-11%) ตามเกรดที่ได้รับจากการประเมิน (D–A)
                     
3.2.1  พนักงานซึ่งค่าจ้างมูลฐานอยู่ระหว่างค่าจ้างขั้นต่ำสุดและสูงสุดในแต่ระดับ : ให้คำนวณคะแนนประเมินผลและเกรดที่ได้รับจากการประเมินผลงานคิดเป็นเปอร์เซ็นการขึ้นค่าจ้างประจำปีดังนี้  
 
คะแนนประเมินผล เกรด %
91-100 A 11%
81-90 B 10%
71-80 C 9%
61-70 D 8%
****คำว่า "เงินเดือนเฉลี่ย" ในตารางข้างบนหมายถึงจำนวนเงินเดือนของพนักงานทุกคนซึ่งมีเงินเดือนมูลฐานถึงเพดานในแต่ละระดับหารด้วยจำนวนพนักงาน
 
3.2.2  อัตราเงินเดือนเฉลี่ยของแต่ละระดับ ณ วันสิ้นปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) จะเป็น ฐานคำนวณการขึ้นเงินเดือนสำหรับ   
  • -  มกราคม  พ.ศ.2545  ค.ศ.2002)
  • -  มกราคม  พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003)
  • -  มกราคม  พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004)
3.2.3  ในการประเมินผลงานในปีที่ผ่านมาหากปรากฏว่าเงินเดือนของพนักงานในขณะน้ัน เมื่อรวมกับอัตราเงินเดือนที่จะเพิ่มเกินกว่าอัตราค่าจ้างสูงสุด (เพดาน) ตามตารางที่ 3 พนักงานจะได้ ได้รับเงินเดือนเพิ่มเมื่อรวมกับเงินเดือนขณะนั้นแล้วเท่ากับอัตราค่าจ้างสูงสุด แต่ไม่น้อยกว่า 50 % ของแต่ละเกรดแต่ระดับ ในกรณีเงินเดือนของพนักงานเท่ากับเพดานจะได้รับเงินขึ้นค่าจ้างประจำปี ตามค่าจ้างเฉลี่ยของระดับนั้น   
 
3.2.4  พนักงานซึ่งมีค่าจ้างมูลฐานเกินกว่าค่าจ้างสูงสุด (เพดานตามตารางที่ 3) ในแต่ละดับ จะได้รับการขึ้นค่าจ้างประจำปีเท่ากับร้อยละ 50 จากจำนวนเงินซึ่งคำนวณได้จากคะแนนประเมินผล ตามเกรดที่ได้รับ (ดี,ซี,บี หรือ เอ) ระหว่ำง 8-11 % ของค่าจ้างมูลฐานของพนักงานแต่ละคน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
 
ทั้งนี้ ข้อ 3.2.4 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่การประเมินผลงานประจำปี 2544 ซึ่งมีในการขึ้นค่าจ้างประจำปีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป
  • 20.2  บริษัทฯ ตกลงยกเลิกข้อ 4 ของข้อ ข. การตอบแทนอื่นๆ คำว่า “การทำงานบางประเภท”   
  • 20.3  บริษัทฯ ตกลงแก้ไขข้อ 4.3 เรื่อง “ค่าตอบแทนเมื่อเลื่อนตำแหน่ง” เป็นดังนี้  
จากระดับ สู่ระดับ

ค่าตอบแทน/เดือน

บาท

1 2 500
2 3 600
3 4 800
4 5 1,000
5 6 1,200
6 7 2,100

20.4  สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ในหนังสือเกี่ยวกับโครงสร้างค่าจ้างระบบจำแนกตำแหน่งให้คงไวต้ามเดิม   

ข้อ 21.   ห้องทำงานของพนักงาน (ขอ้เรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 25) บริษัทฯ ตกลงสร้างห้องทำงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 ดังนี้

21.1  แผนกสปินนิ่ง (ผลิต) *โอปะเรเตอร์ของเครื่องสปินนิ่งใช้ห้องทำงานร่วมกับหัวหน้ากะ *สำหรับพนักงานเฝ้าเครื่องด้าน บี ของเครื่องสปินนิ่ง 1 และด้าน เอ ของเครื่องสปินนิ่ง 2 พร้อมท่อลมผ่านคอยล์เย็น *สำหรับโอปะเรเตอร์ของเครื่องดรายเยอร์หมายเลข 1,2 และ 3 พร้อมท่อลมผ่านคอยล์เย็น

21.2  แผนกวสิโคส (ผลิต) *สำหรับโอปะเรเตอร์ที่โซดาสเตชั่นพร้อมท่อลมผ่านคอยล์เย็น *สำหรับโอปะเรเตอร์ที่สเลอรี่มิกเซอร์พร้อมท่อลมผ่านคอยล์เย็น *สำหรับโอปะเรเตอร์ที่ดิสโซลเวอร์พร้อมท่อลมผ่านคอยล์เย็น 

ข้อ 22. การหยุดเครื่องสปินนิ่งเพื่อเปลี่ยนชนิดของเส้นใย (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 26)

  บริษัทฯตกลงวางแผนหยุดเครื่องสปินนิ่ง เพื่อเปลี่ยนชนิดของเส้นใยตามที่ลูกค้าต้องการไม่เกินเครื่องละครั้งต่อกะ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนหรือต้องผลิตเส้นใยชนิดพิเศษตามความต้องการของลูกค้า  
       ในกรณีที่มีการหยุดเครื่องสปินนิ่งมาซีนพร้อมกันทั้ง 2 เครื่อง หรือสองครั้งในหนึ่งกะ บริษัทฯตกลงจัดพนักงานทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม
 
ข้อ 23. อัตรากำลังในหน่วยงานต่างๆ (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 27)
 
23.1 บริษัทฯ ตกลงเพิ่มจำนวนพนักงานให้กับหน่วยงานดังต่อไปนี้
  • *  เทคนิเชียนหรือพนักงานทั่วไป (กะจี) ในแผนกสปินนิ่ง (ซ่อมบำรุง) 1 คน
  • *  สปินเนอร์ (กะจี) ในแผนกสปินนิ่ง (ผลิต) 1 คน
  • *  พนักงานทั่วไป (กะจี) ในฝ่ายซีวิล 1 คน
  • *  พนักงานทั่วไป (กะจี) ในแผนกซ่อมบำรุงกลุ่ม3  1  คน
2.3.2  บริษัทฯ ตกลงพิจารณาเลื่อนตำแหน่งพนักงานแผนกเอฟไอพี ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งจาก “เซมิโอเปอร์เรเตอร์” เป็นตำแหน่ง “โอเปอร์เรเตอร์”
2.3.3  กรณีรอกหนีบเบลฝ้ายเสีย ให้ทางแผนกสปินนิ่ง (ผลิต) จัดพนักงานทำงานล่วงเวลา เพิ่มอีกเครื่องละ 1 คน
23.4  สำหรับพนักงานแผนกอื่นๆ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ 
 
ขอ้ที่ 27. ให้คณะกรรมการตรวจสอบกำลังพล ตามข้อตกลงข้อที่ 7  ในข้อตกลงฯ ฉบับนี้เป็นผู้นี้เป็นผู้พิจารณา ดำเนินการตรวจสอบ ข้อ 24. เบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถซึ่งปฏิบัติหน้าที่นอกจังหวัดอ่างทอง (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 28) กรณีพนักงานขับรถออกปฏิบัติงานนอกจังหวัดอ่างทองให้ได้รับเบี้ยเลี้ยงดังต่อไปนี้ 
 
                            เบี้ยเลี้ยงสำหรับ       
  • อาหารมื้อเช้า 40 บาท
  • อาหารมื้อกลางวัน  60 บาท    
  • อาหารมื้อเย็น 60 บาท                                                   

    อนึ่งเวลารับประทานอาหารของแต่ละมื้อหมายถึง มื้อเช้าเวลา 07.00 น. ,มื้อกลางวันเวลา 12.00 น. ,มื้อเย็นเวลา 18.00 น.               

ข้อ 25. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่นใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ท้ังสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคบัใช้ตามเดิม    

 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับนี้ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน คือสิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2547 และสหภาพแรงงานฯจะไม่ยื่นข้อ เรียกร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว 
 
อนึ่ง เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานกรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจ ปฏิบัติหน้าที่ และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน พร้อมกับให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้เพื่อความก้ำวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย 
 
ในกรณีเกิดปัญหาตีความตามข้อตกลงนี้ให้ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันตีความชี้ขาด ในข้อตกลงนี้ก่อนให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดท้องที่ตีความชี้ขาด ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ได้อ่านข้อความและเข้าใจโดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไวเ้ป็นหลักฐาน              
 
บันทึกแนบท้ายข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 12 
 
12.2  บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงคุณภาพของการตัดเย็บเครื่องแบบโดยทำความตกลงกับผู้รับเหมา ดังรายละเอียดต่อไปนี
 
1.  ตั้งคณะกรรมการร่วมฝ่ายละ 5 คน เพื่อกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบของเครื่องแบบให้ผู้รับเหมายินยอมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
2.  คณะกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่ในการคัดเลือกผู้รับเหมาตัดเครื่องแบบในแต่ละปี
3.  บริษัทฯ ต้องทำสัญญากับผู้รับเหมาตัดเครื่องแบบตามที่คณะกรรมการคดัเลือก 
4.  เมื่อพนักงานทำการวัดตัว ผู้รับเหมาจะต้องแนบสำเนากระดาษบันทึกการวัดตัวให้กับพนักงานเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อตรวจสอบกับเครื่องแบบที่ได้รับว่าผู้รับเหมาได้ตัดเครื่องแบบตรงกับที่วัดตัวไว้หรือไม่  ทั้งนี้ผู้รับเหมาต้องติดตัวจริงกระดาษการวัดตัวไว้กับถุงบรรจุเครื่องแบบของ พนักงานแต่ละคนด้วย
5.  กรรมการร่วมจะทำการตรวจสอบเครื่องแบบที่ผู้รับเหมา ส่งมอบแก่บริษัทฯ หากเห็นว่าตัดได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ให้บริษัทฯ แจกเครื่องแบบแก่พนักงาน หากพนักงานคนใดรับเครื่องแบบไปแล้วมีปัญหาไม่สามารถใส่ได้ให้นำมาคืนและบริษัทฯจะต้องตัดเครื่องแบบ ให้พนักงานภายใน 30 วัน หากตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับเหมาตัดเครื่องแบบไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 บริษัทฯ ต้องส่งเครื่องแบบทั้งหมดให้กับผู้รับเหมาและตัดเครื่องแบบใหม่ให้กับพนักงานภายใน 6 เดือน
6.  เพื่อให้ผู้รับเหมาส่งมอบเครื่องแบบได้ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี บริษัทฯ และสหภาพฯตกลงรายละเอียดการตัดเย็บเครื่องแบบดังนี้
 
6.1  ให้คณะกรรมการกำหนดคุณภาพ ผ้า,ด้าย,กระดุม,ซิบ รูปแบบของเครื่องแบบ และเงื่อนไขต่างๆ ที่ให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2545 และปีต่อๆไป
6.2  ให้คณะกรรมการผู้รับเหมาตัดเครื่องแบบภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2545 และปีต่อๆไป
6.3  ทำการวัดตัวพนักงานภายในเดือน กันยายน พ.ศ.2545 และปีต่อๆไป กรณีผู้รับเหมาส่งมอบเครื่องแบบบริษัทฯไม่ตรงกำหนดภายในวันที่ 31 มกราคม บริษัทฯจะต้องให้พนักงานตัดเครื่องแบบใหม่ที่ร้านตัดเสื้อผ้าในจังหวัดอ่างทองใช้ เฉพาะหน้า 1 ชุด 

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2547

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
 
 
ระหว่าง
 
 
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) กับ สหภาพแรงงานไทยเรย่อน
 
 
เขียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอ่างทอง
 
 
********************
 
 
วันที่ 4 ตุลาคม 2547  
 
               ตามที่คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอนได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 รวม 42 ข้อ และฝ่ายบริหารบริษัท ไทยเรยอน จำกัด(มหาชน) ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อสหภาพแรงงานไทยเรยอน เมื่อวนัที่ 31 พฤษภาคม 2547 รวม 11 ข้อนั้น ผู้แทนบริษัท ไทยเรยอน จำกัด(มหาชน) และผู้แทนของสหภาพแรงงานไทยเรย่อน ได้เริ่ม เจรจากันครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 โดยทั้งสองฝ่ายตกลงให้นำข้อเรียกร้องทั้งหมดมาเจรจา ร่วมกัน การเจรจาดำเนินมาได้ 46 ครั้ง ยังไม่สำมารถตกลงกันได้ และทั้ง 2 ฝ่ายได้ทำหนังสือแจ้งข้อ พิพาทแรงงานต่อเจ้าพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ของสำนักงานสวสัดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดอ่างทอง ตามหนังสือของ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ที่ อท./ทีอาร์ซี 063/2004 ลงวันที่ 21 กันยายน 2547 และหนังสือของสหภาพแรงงานไทยเรยอน ที่ ส.ร.ย.115/2547 ลงวันที่ 20 กันยายน 2547 พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดอ่างทองได้เริ่มทำการไกล่เกลี่ย และสุดท้ายทั้งสอง ฝ่ายสามารถตกลงกันได้ทำให้ข้อเรียกร้องฯ ดังกล่าวเป็นอันยุติ ข้อตกลงฯมีรายละเอียดดังนี้
 
ข้อ 1. เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ ( ข้อเรียกร้องฯของบริษัทฯและข้อเรียกร้องฯของสหภาพฯ ข้อที่ 1 )         
1.1 บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ ดังนี้   
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2547 จำนวนเงิน    4,700    บาท/เดือน                 
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2547 จำนวนเงิน    4,700    บาท/เดือน                 
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2547 จำนวนเงิน    4,700    บาท/เดือน         

1.2 สำหรับเงื่อนไขอื่นๆให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม

ข้อ 2 . เงินโบนัส (ข้อเรียกร้องของบริษัทฯและสหภาพฯ ข้อที่่ 2 )
 
 
2.1 บริษัทฯตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2547 อายุงาน   
ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี     102 วัน
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี     107 วัน
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป      131 วัน            
2.2 บริษัทฯตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2548 อายุงาน   
ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี     102 วัน
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี     107 วัน
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป      131 วัน         
2.3 บริษัทฯตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ. 2549 อายุงาน   
ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี     102 วัน 
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี     107 วัน
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป      131 วัน         
 
2.4. บริษัทฯจะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงาน โดยจ่ายเป็นเช็คระบุชื่่อพนักงานแต่ละคนและขีดคร่อมคำว่าผู้ถือด้วย         
2.5. สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
ข้อ 3. การจัดนำเที่ยว (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 5 )
บริษัทฯตกลงจัดงบประมาณให้ดังนี้
  • ปี พ.ศ. 2547 จำนวนเงิน 250,000 บาท           
  • ปี พ.ศ. 2548 จำนวนเงิน 250,000 บาท       
  • ปี พ.ศ. 2549 จำนวนเงิน 255,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
 
ข้อ 4. การเพิ่มพนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ข้อที่ 34)
บริษัทฯ ตกลงให้มีพนักงานในหน่วยงานสปินนิ่ง แมชชีน, แผนกสปินนิ่ง ผลิต, ตำแหน่ง สปินเนอร์ จำนวนกะละ 10 คน ส่วนในแผนกอื่น ๆ ทั้งหมดให้คณะกรรมการกำลังพลเป็นผู้พิจารณาเสนอต่อประธานบริษัทฯ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการฯ ทำการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเดิม
 
ข้อ 5. การจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ (ข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ขอ้ที่ 6 )
บริษัทฯตกลงจัดงบประมำณให้ดังนี้
  • ปี พ.ศ. 2547 จำนวนเงิน 270,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2548 จำนวนเงิน 275,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2549 จำนวนเงิน 280,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
ข้อ 6. การจัดการแข่งขันกีฬาภายใน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 7)
บริษัทฯตกลงจัดงบประมำณให้ดังนี้
  • ปี พ.ศ. 2547 จำนวนเงิน 150,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2548 จำนวนเงิน 150,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2549 จำนวนเงิน 155,000 บาท
 
สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
ข้อ 7. เครื่องแบบพนักงาน (ขอ้เรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 9)
บริษทัฯ ตกลงเปลี่ยนสีและรูปแบบเครื่องแบบพนักงานเป็นแบบเดียวกันหมดโดยมีผู้แทน บริษัทฯและผู้แทนสหภาพ ฝ่ายละ 5 คน เป็นผู้กำหนดสีและรูปแบบของเครื่องแบบเพื่อใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป 
 
7.1 บริษัทฯตกลงจ่ายเครื่องแบบใหม่นี้ในปีพ.ศ.2548 จำนวน 3 ชุดต่อคนต่อปี และ ปีต่อ ๆ ไป จำนวน 2 ชุด ต่อคนต่อปี
7.2 บริษัทฯตกลงจ่ายเสื้อยืดลำลองโดยมีแบบและสีเช่นเดียวกับที่ใช้ในปัจจุบันให้ปีละ 1 ตัว
7.3 บันทึกแนบท้ายข้อตกลงฉบับลง วันที่ 6 สิงหาคม 2544 ข้อที่ 12 ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงฯ ฉบับนี้
 
ข้อ 8. หอพักพนักงานด้านจุด 8 (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 10)
8.1 บริษัทฯตกลงเปลี่ยนโถส้วมเป็นชนิดนั่งราบที่หอพักชายโสดทุกห้อง ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากวันที่ทำข้อตกลงนี้
8.2 บริษทัฯตกลงทำสีอาคารภายนอกและภายในห้องพักทุกห้องให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากวันที่ทำข้อตกลงนี้
 
ข้อ 9. การปรับปรุงร้านอาหาร (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 11)
 
 
9.1 ร้านอาหารตึกวิสโคส : จัดทำ ฝ้าเพดานบริเวณรับประทานอาหาร, ติดตั้งพัดลมเพดาน ,ทำรั้วไม้แทนรั้วเหล็ก, ติดตั้งโทรทัศน์ขนด 29 นิ้ว เพิ่มอีก 1 เครื่อง , ทำประตูทางเข้าใกล้กับ ห้องปฏิบัติการเคมีใหม่ และทาสีใหม่
9.2 ร้านอาหารจุด 8 : ทำเค้าเตอร์สำหรับวางอาหารใหม่ , จัดซื้อเตาอุ่นอาหารให้ 1 ชุด, ปรับปรุงประตูหน้าต่างให้อยู่ในสภาพดี , ติดตั้งพัดลมเพดานด้านบนโต๊ะอาหารทุกโต๊ะและทาสีใหม่, จัดทำ ฝ้าเพดาน, ติดตั้งโทรทัศน์ขนาด 29 นิ้ว 1 เครื่อง
9.3 การปรับปรุงทั้ง 2 ข้อนี้จะให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากวันที่ทำข้อตกลง
 
ข้อ 10. ข้าวสารและค่าข้าวต้ม (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 12)
 
10.1 บริษัทฯตกลงจัดข้าวสารเหลืองอ่อนชนิด 5 % ให้แก่พนักงานรับประทานที่ร้านอาหาร อาคารวิสโคสตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป
10.2. บริษัทฯตกลงจ่ายค่าข้าวต้มสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานในกะดึกคนละ 14 บาท แก่ ผู้รับเหมาและแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนฝ่ายบริหาร 5 คน ผู้แทนสหภาพ 5 คน โดยมีผู้จัดการ (บริหาร)หรือผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้ควบคุมและประสานงาน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป
 
ข้อ 11. โรงจอดรถยนต์ (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 13)
 
11.1 บริษัทฯ ตกลงขยายถนนปัจจุบันด้านโกดังฝ้าย กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร ตลอดแนวถนน
11.2 นำหินคลุกมาเทปรับระดับทั้ง 2 ข้าง ตลอดแนวของถนนขาเข้า (ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
11.3 ปรับปรุงบริเวณพื้นที่ทางโค้งตรงข้ามกับบริเวณที่ล้างรถยนต์เพื่อให้จอดรถยนต์ได้ประ- มำณ 4 คัน ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนหลังจากวันที่ทำข้อตกลงนี้ 
 
ข้อ 12. ค่าทำขวัญแก่พนักงานซึ่งประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพ แรงงานฯ ข้อที่ 15)
บริษทัฯ ตกลงจ่ายเงินค่าทำขวัญแก่พนักงานซึ่งประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน โดยมี หลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
 
 
12.1 ให้คงข้อตกลงฯ เกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 8 ข้อย่อย 8.1 ฉบบัลงวันที่ 21 มิถุนายน 2532 ไว้ตามเดิมดังนี้
“บริษทัฯ จะจ่ายค่าทำขวัญให้แก่พนักงานผู้ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเงิน 1,000 บำท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง โดยให้นำหลักเกณฑ์ต่อไปนี้มาพิจารณา
  • ก. มีบาดแผลเย็บตั้งแต่ 1 เข็มขึ้นไป
  • ข. แขน ขา หรืออวัยวะส่วนอื่นหักหรือเดาะ
  • ค. สิ้นสติ (สลบ)
  • ง. กรณีอื่น ๆ ตามที่บริษทัฯ และสหภาพแรงงานฯ ร่วมกันพิจารณาเห็นสมควร
12.2 กรณีที่พนักงานประสบอันตรายจากการทำงานและหยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป และเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน บริษัท ตกลงจ่ายเงินค่าทำขวัญดังนี้ คือ
  • พักรักษาตัว 4-7 วัน จ่ายค่าทำขวัญ 2,000 บาท       
  • พักรักษาตััว 8-14 วัน จ่ายค่าทำขวัญ 2,500 บาท 
  • พักรักษาตัว 15-30 วัน จ่ายค่าทำขวัญ 3,000 บาท
  • พักรักษาตัว 31 วันขึ้นไป จ่ายค่าทำขวัญ 5,000 บาท
 
 
อนึ่ง พนักงานซึ่งจะได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อ 12.2  นี้  แพทย์จะต้องให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน
 
12.3 สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ 13. การประกันสุขภาพหมู่ (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 17)
ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อที่ 2 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2544 ดังต่อไปนี้
 
 
13.1 ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกับคลีนิค 200 บาท
13.2 ค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยนอกกับโรงพยาบาล 750 บาท
13.3 ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด 17,000 บาท
13.4 ค่าห้องและค่าอาหาร (โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ) วันละ 1,700 บำท  ค่าห้องและค่าอาหาร (โรงพยาบาลในต่างจังหวัด) วันละ 1,200 บาท
13.5 ค่าอุปกรณ์แรกรับผู้ป่วยใน ครั้งละ 200 บำท
13.6 เพิ่มความคุ้มครองบุตรที่อยู่ระหว่างการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย อายุไม่เกิน 22 ปี
13.7 พนักงานที่รับการรักษาพยาบาลจากคลีนิค นายแพทย์องอาจ สามารถนำบิลเงินสดเบิกค่า รักษาพยาบาลได้ 
13.8 กรณีพนักงานคนใดเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายและต้องฟอกไตทุก สัปดาห์ เมื่อพนักงานร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือ บริษัทฯจะจ่ายเงินสมทบให้อีกครึ่งหนึ่ง (50%) ของจำนวนเงินที่พนักงานร่วมกันบริจาคแก่พนักงานผู้ป่วยปีละครั้ง
13.9 สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
ข้อ 14. การปรับปรุงสถานที่ทำงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 20)
บริษัทฯตกลงปรับปรุงสถานที่ทางานดังต่อไปนี้
 
 
14.1 ถัง PLOF ถังที่ 1-14 ย้ายวาลว์ เปิดปิดที่หัวถังลงมาไว้ด้านล่าง
14.2 ปรับปรุงห้องทำงาน เฮชทูเอส สครับเบอร์ โดยการเปลี่ยนกระจกรอบห้องใหม่ ติดตั้งพัด ลมดูดอากาศและย้ายโต๊ะทำงานของซุปเปอร์ไวเซอร์ไปอยู่ที่ห้องทำงานของแผนกแอนซิลลารี่ ผลิต
14.3 หน่วยงานมิกเซอร์ แผนกวิสโคส ติดตั้งพัดลมดูดอากาศด้านทิศตะวันออก 2 ตัว และด้าน ทิศตะวันตก 1 ตัว
14.4 จัดทำท่อลมผ่านคอล์ยเย็นที่ ห้องเจทรูม เปลี่ยนพดัลมเพดานที่หอ้งพนักงานสปินเนอร์ให้ พัดลมติดผนัง 2 ตัว และติดพัดลมดูดอากาศจากห้องวิศวกรมายังห้องพนักงานสปินเนอร์ 1 ตัว
14.5 ทำการปรับปรุงห้องพักพนักงานแผนกเซ็นทรัล ซ่อมบำรุง แผนกอ็อกซิลลารี่ ซ่อมบำรุง แผนกวิสโคส ซ่อมบำรุง แผนกสปินนิ่ง ซ่อมบำรุง และแผนกเวอร์คชอป ดังนี้           
  • ก. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศออกจากห้องพ้กห้องละ 1 ตัว           
  • ข. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศขนาด 24 นิ้ว จากห้องเวอร์คชอปสอง เป่าลมเข้ามายังห้องโถง รวม 2 ตัว           
  • ค. ยกเลิกการทำงานเชื่อมในห้องโถงหน้าห้องพักพนักงาน
14.6 จัดทำระบบบำบัดอากาศ ติดตั้งตะแกรงกรองอากาศก่อนนำท่อลมผ่านคอยล์เย็นไปยัง ห้องทำงานทุกห้อง
14.7 ปรับปรุงห้องทำงานพนักงาน วอเตอร์ทรีสเมนท์ โดยติดตั้งพัดลมขนาด 16 นิ้ว 2 ตัว เพื่อ ดูดอากาศเข้าทางทิศเหนือ และดูดอากาศออกทางด้านทิศใต้ พร้อมกับจัดทำหลังคากันความร้อนเหนือ ห้องพัก
14.8 ทำการเปลี่ยนเบาะนั่งของคนขับรถโฟล์คลิฟท์ทุกคันให้เป็นเบาะชนิดเดียวกันกับรถโฟล์คลิฟท เ์บอร์ 9
 
ข้อ 15. การปรับปรุงสนามฟุตบอล (ข้อเรียกร้องสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 21)
บริษัทฯตกลงทำการปรับปรุงสนามฟุตบอล ดังนี้
 
 
15.1 ติดตั้งสปริงเกอร์ 4 ชุด พร้อมปั๊มน้ำที่มีแรงดันเหมาะสม
15.2 จัดทำที่นั่ง 3 ชั้น ยาว 6 เมตร เพื่อวางตามความยาวของสนามฟุตบอลข้างละ 4 ตัว และ ปลูกต้นไม้ระหว่างช่องว่างของที่นั่ง
15.3 ซ่อมแซมรั้วเหล็กในปัจจุบันให้แข็งแรงและปรับปรุงประตูทางเข้าออกด้านทิศใต้ของ สนามฟุตบอลให้ได้มาตรฐาน 
15.4 จัดทำที่นั่ง 4 ชั้น ยาว 6 เมตร จำนวน 2 ตัว เพื่อวางที่สนามตะกร้อ
 
ข้อ 16. ท่าเทียบเรือที่ใกล้กับจุดรักษาความปลอดภัยที่ 6 (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 22)
16.1. ปรับปรุงทางขึ้นลงปัจจุบันพร้อมราวยึดให้สะดวกขึ้นภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2547
16.2. ทำบันไดคอนกรีตขนาดความกว้าง 1.5 เมตร พร้อมราวจับให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากวันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้
 
ข้อ 17. การอบรมกฎหมายแรงงานให้กับพนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 23)
บริษัทฯจะจัดอบรมกฎหมายแรงงานโดยใช้เวลาร่วมกับการอบรมด้านความปลอดภัยของ บริษัทฯให้แก่พนักงานปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง
 
ข้อ 18. วันลาเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาของกรรมการสหภาพแรงงานและผู้แทนสมาชิกประจำแผนก (ข้อ เรียกร้องของ สหภาพแรงงานฯ ขอ้ที่ 24)
ในกรณีการสัมมนาของคณะกรรมการสหภาพฯ และผู้แทนสมาชิกประจำ แผนกตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อ 37 ฉบับลง วันที่ 21 มิถุนายน 2532 ตรงกับ วันหยุดประจำสัปดาห์ของ กรรมการสหภาพฯและผู้แทนสมาชิกประจำแผนก บริษทัฯตกลงให้เลื่อนวันหยดุประจำ สัปดำห์ของ กรรมการสหภาพและผู้แทนสมาชิกประจำ แผนกเป็นวันถัดไป
 
ข้อ 19. เงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสหภาพแรงงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 32)
 
19. 1 การจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี                 
บริษัทฯตกลงจัดงบประมาณให้ดังนี้               
  • ปี พ.ศ. 2548 จำนวนเงิน 50,000 บาท                 
  • ปี พ.ศ. 2549 จำนวนเงิน 50,000 บาท               
  • ปี พ.ศ. 2550 จำนวนเงิน 50,000 บาท
 
19. 2 การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ               
บริษัทฯตกลงจัดงบประมาณให้ดังนี้                           
  • ปี พ.ศ. 2548 จำนวนเงิน 60,000 บาท             
  • ปี พ.ศ. 2549 จำนวนเงิน 60,000 บาท             
  • ปี พ.ศ. 2550 จำนวนเงิน 60,000 บาท
 
19.3 สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
ข้อ 20. การตรวจสุขภาพประจำปี (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 16)
บริษัทฯตกลงตรวจสุขภาพประจำปีเพิ่มเติมให้กับพนักงานดังนี้
 
 
20.1 การตรวจหูจะตรวจเพิ่มเติมให้กับพนักงานในหน่วยงาน เอซิคแพล้นท์,เฮททูเอสสครับ เบอร์, MSFE, และ รีฟิเจอเรชั่น
20.2 การตรวจหาสารคาร์บอนไดซัลไฟด์ ให้ตรวจกับพนักงานในหน่วยงาน ซีเอสทู,เฟอร์เนต , รีไฟเนอรี่, ซิมเพล็คไรเพนนิ่งรูม, สปินนิ่งแมทชีน และ เจทรูม ในโรงพยาบาลของรัฐหรือหน่วยงาน ของรัฐที่มีการตรวจโดยวิธี TTCA (2- thiothiazolidine – 4 carboxylic Acid) 
20.3 การตรวจปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย ให้ตรวจกับพนักงานในหน่วยงาน ดรายเออร์,เบลลิ่ง เพรส, และห้องแลปเท็กซ์ไทล์ โดยวิธีการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอดด้วยการเป่าลม เข้า เครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometor) หากพนักงานผู้ใดมีอาการผิดปกติให้ทำการตรวจซ้ำทุกหกเดือน หรือตามความเห็นของแพทย์
20.4 การตรวจการทำงานของตับ ให้ตรวจกับพนักงานทุกคน
20.5 การตรวจหาสารตะกั่ว ให้ทำการตรวจเฉพาะพนักงานช่างเชื่อมที่เชื่อมตะกั่วเท่านั้น
 
ข้อ 21. วันลาหยุดพักผ่อนประจำปี (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 28)
บริษัทฯตกลงเพิ่มวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับพนักงานที่ทำงานครบ 16 ปีขึ้นไป มีสิทธิ ลาพักผ่อนประจำปีได้ 19 วัน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯเดิม
 
ข้อ 22. การลาของกรรมการบริหารสหภาพแรงงานฯและกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ (ข้อเรียกร้อง ของสหภาพฯ ข้อที่ 26 )
บริษทัฯตกลงอนุญาตให้กรรมการบริหารสหภาพแรงงานฯและสหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ ไปร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงานและกิจกรรมของสหกรณ์ฯได้คราวละไม่เกิน 2 คน และรวมวันลาทั้งหมดของทุกคนจะต้องไม่เกินปีละ 125 วัน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ
 
ข้อ 23. การเปลี่ยนกะของพนักงานขับรถ (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 31)
บริษทัฯ ตกลงให้พนักงานขับรถที่ถูกเรียกมาปฏิบัติงานในกะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กะของตนได้ ปฏิบัติงานในกะปกติของตนเองด้วย การลาดังกล่าวจะต้องทำเป็นหนังสือพร้อมแสดงหลักฐานต่อบริษัทฯล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน คำว่า “ปี” หมายถึง “ปีปฏิทิน”
 
ข้อ 24. การติดตั้งโทรศัพท์สายในให้ที่ทำการสหกรณ์ออมทรัพย์ (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อ ที่ 39)
บริษัทฯ ตกลงติดตั้งโทรศัพท์สายในให้ที่ทำการสหกรณ์ออมทรัพย์หนึ่งหมายเลข โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลง                             
ข้อ 25. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่นใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ ท้ังสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้ตามเดิม
 
      ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน คือสิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2550 และสหภาพแรงงานฯจะไม่ยื่นข้อเรียกร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว
 
      อนึ่งเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน กรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจ ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน พร้อมกับให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อความก้าวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย ในกรณีเกิดปัญหาตีความตามข้อตกลงนี้ให้ ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันตีความชี้ขาด ในข้อตกลงนี้ก่อนให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดท้องที่ตีความชี้ขาด   

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ปี 2550

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

ระหว่าง

บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) กับ สหภาพแรงงานไทยเรยอน 

เขียนที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอ่างทอง
 

***************************

 
วันที่  5   ตุลาคม   2550  
 
               ตามที่คณะกรรมการบริหาร สหภาพแรงงานไทยเรยอน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 รวม 30 ข้อ และฝ่ายบริหารบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ได้ยี่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อ สหภาพแรงงานไทยเรยอน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 รวม 9 ข้อนั้น
               ผู้แทนบริษัทฯ และผู้แทนสหภาพฯ ได้เริ่มเจรจากันครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 โดยทั้งสองฝ่ายตกลงให้นำข้อเรียกร้องทั้งหมดมาเจรจาร่วมกัน การเจรจาดำเนินมาได้ 44 ครั้ง ยังไม่ สามารถตกลงกันได้ และทั้ง 2 ฝ่ำยได้ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อเจ้าพนักงานประนอม ข้อพิพาทแรงงานสนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอ่างทอง ตามหนังสือของบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ที่ ทีอาร์ซี. 037/2007 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2550 และหนังสือของสหภาพแรงงานไทยเรยอน ที่ ส.ร.ย. 99/2550 ลงวันที่ 15 สิงหาคม  2550 
               พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดอ่างทองได้เริ่มทำการไกล่เกลี่ยครั้งแรกเมื่อ วันที่ 17 สิงหาคม 2550 การไกล่เกลี่ยดำเนินมาได้ 22 ครั้ง และสุดท้ายทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ ทำให้ขอ้เรียกร้องฯ ดังกล่าวเป็นอันยุติ ข้อตกลงฯ มีรายละเอียด ดังนี้
 
ข้อ 1.  เงินค่าครองชีพ  (ข้อเรียกร้องของบริษทัฯ ข้อที่ 1 และข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 1) 
  • 1.1 บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 จำนวนเงิน 4,900 บาท/เดือน
  • 1.2   สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม   
ข้อ  2.  เงินโบนัส  (ข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 2 และข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯข้อที่ 2)   
2.1 บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี พ.ศ.2550,พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 ให้แก่พนักงานดังนี้ 
อายุงานได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างต่อวัน   
  • ครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี 104 วัน   
  • ครบ 2 ปี แต่ไม่ครบ 4 ปี 109 วัน
  • ครบ 4 ปี ขึ้นไป 133 วัน
2.2   สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ  3.  เงินรางวัลความเพียรประจำปี (ข้อเรียกร้องของบริษัทฯข้อที่ 7 และข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 3) บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินรางวัลความเพียรประจำปีให้พนักงาน ดังนี้ 
3.1  พนักงานซ่ึงปฏิบัติงานเฉพาะเวลาปกติ (กะจี)  เป็นเงินปีละ 8,000 บาท   
3.2  พนักงานซ่ึงปฏิบัติงาน กะเช้า,กะบ่าย,กะดึก เป็นเงินปีละ 9,000 บาท   
3.3  สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม   
 
ข้อ  4. เบี้ยขยัน  (ข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 4) บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินเบี้ยขยันให้พนักงาน ดังนี้   
4.1  พนักงานซ่ึงปฏิบัติงานเฉพาะเวลาปกติ (กะจี) เป็นเงิน เดือนละ 225 บาท   
4.2  พนักงานซ่ึงปฏิบัติงาน กะเช้า,กะบ่าย,กะดึก เป็นเงิน เดือนละ 325 บาท   
4.3  พนักงานซ่ึงปฏิบัติงานเฉพาะกะดึก เป็นเงิน เดือนละ 75 บาท สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม   
 
ข้อ  5. การจัดน าเที่ยว  (ขอ้เรียกร้องของสหภำพแรงงำนฯ ข้อที่ 5)       
5.1 บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมำณให้ดังนี้   
  • ปี พ.ศ. 2550 จำนวนเงิน 280,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2551 จำนวนเงิน 285,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2552 จำนวนเงิน 290,000 บาท 
5.2 สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ  6. การจัดงานส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 6)       
6.1  บริษัทฯ ตกลงจัดงบประมาณให้ดังนี้   
  • ปี พ.ศ. 2550 จำนวนเงิน 300,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2551 จำนวนเงิน 310,000 บาท
  • ปี พ.ศ. 2552 จำนวนเงิน 320,000 บาท
6.2 สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ  7. การจัดการแข่งขันกีฬาภายใน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 7)             
7.1 บริษัทฯตกลงจัดงบประมาณให้ดังนี้
  • ปี พ.ศ. 2550 จำนวนเงิน 155,000 บาท
  • ปี พ.ศ  2551 จำนวนเงิน 157,000 บาท           
  • ปี พ.ศ. 2552 จำนวนเงิน 160,000 บาท 
7.2 สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ  8. หอพักพนักงาน (ข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 8) 
8.1  บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการสร้างหอพักที่โรงงาน CS2 อ.หนองแค จ.สระบุรี ในกรณี พนักงานปฏิบัติงานและปัจจุบันพักอยู่ในหอพักของบริษัทฯ ที่ จ.อ่างทอง หากมีความประสงค์จะย้าย ไปปฏิบัติงานที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี บริษัทฯ ตกลงให้ประโยชน์ทดแทนเรื่องหอพัก ส่วนพนักงานที่ไม่ได้พักอยู่ในหอพักของบริษัทฯ ที่ จ.อ่างทอง บริษัทฯจะพิจารณาตามความเหมาะสม 
8.2  บริษัทฯ จะจัดให้พนักงานเข้าพักในหอพักของบริษัทฯ เมื่อมีห้องว่างโดยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยหอพักของบริษัทฯ 
8.3  บริษัทฯ ตกลงสร้างห้องพักสำหรับพนักงานไว้นอนพ้กเพื่อรอเข้ากะหรือหลังออกกะ โดยแยกห้องชาย-หญิง อย่างละ 1 ห้อง และจัดบริเวณพักผ่อนสำหรับพนักงาน โดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่เคยมีอยู่
 
ข้อ  9. การปรับปรุงร้านอาหารภายในโรงงาน (ข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 9) 
9.1  บริษัทฯ ตกลงสร้างโรงอาหาร ขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 72 ตารางเมตร ณ.บริเวณ ชั้นหนึ่งของโรงจอดรถที่บริษัทฯ จะสร้างขึ้นใหม่ 
9.2  บริษัทฯ ตกลงติดตั้งเครื่องปรับลมเย็นจำนวน 2 ตัว ที่ร้านอาหารตึก วิสโคส ผลิต
 
ข้อ  10. โรงจอดรถยนต์พนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 10) บริษัทฯ ตกลงจัดสร้างอาคารจอดรถจากที่เคยให้จอดรถยนต ์44 คัน โดยสร้างอาคารจอดรถ ใหม่ไม่ต่ำกว่า 2 ชั้น เพื่อให้พนักงานจอดรถยนต์ได้ทั้งหมด จำนวน 85 คันและจอดรถจักรยานยนต์ได้ จำนวน 110 คัน 
 
ข้อ  11.  การตรวจร่างกายประจำปีของพนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 11) 
11.1  บริษัทฯ ตกลงตรวจสมรรถภาพการทำงานของไตให้พนักงานทุกคนปีเว้นปี โดยเริ่ม ตรวจในปี 2550 เป็นปีแรก 
11.2  บริษัทฯ ตกลงจัดให้มีการตรวจหาสารคาร์บอนไดซัลไฟด์ให้แก่พนักงานในหน่วยงาน ซีเอสทูเฟอร์เนต,รีไฟเนอรี่,ซิมเพล็คไรเพนนิ่งรูม,สปินนิ่งแมทชีนและ เจทรูม โดยแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวะเวชศาสตร์ หรือผ่านการอบรมด้าน อาชีวะเวชศาสตร์ 
11.3  สำหรับเงื่อนไขหรือระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ  12. ความมั่นคงในการทำงานและการจ้างงานที่เป็นธรรม(ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 13) ทั้งสองฝ่ายตกลงปฏิบัติตามบันทึกแนบท้ายฉบับที่ 1
 
ข้อ  13. การปรับปรุงสถานที่ทำงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 14) บริษัทฯตกลงปรับปรุงสถำนที่ทำงานดังต่อไปนี้ 
13.1  สร้ำงห้องทำงานพนักงานตรวจรับโซดาไฟให้บริเวณจุดรับโซดาไฟแห่งใหม่ 
13.2  ปรับปรุงระบบดูดแก๊สบริเวณสปินนิ่งแมทชีนเครื่องที่ 4 ดังนี้ 
  • 13.2.1 เพิ่มขนาดท่อแก๊สทางเข้า-ออกของพัดลมดูดแก๊สตัวที่หนึ่งและตัวที่สองของสปินนิ่ง แมทชีน 4 จากขนาด 28 นิ้วเป็นขนาด 36 นิ้ว   
  • 13.2.2 ติดตั้งพัดลมดูดแก๊สบริเวณโกเดทของสปินนิ่งแมทชีน 4 เป็นการเฉพาะหน้า ก่อนจำนวน 1 ตัวภายใน 3 เดือน 
  • 13.2.3 การแก้ไขปัญหาการเกิดฝ้าที่บานเลื่อนป้องกันแก๊ส ให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ขอให้พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ปิดบานเลื่อนไว้ในระหว่างการปฏิบัติงานด้วย 
13.3  บริษทัฯ ตกลงจัดสร้ำงห้องระหว่ำงสปินนิ่งแมทชีน 4  และ 5 ดังนี้ 
  • 13.3.1 หอ้งทำงานของโอเปอร์เรเตอร์บริเวณอาฟเตอร์ทรีสเมนท์ 1 ห้อง (พร้อมลมผ่านคอล์ยเย็น)   
  • 13.3.2 ห้องเก็บสแปร์คัตเตอร์ 1 ห้อง (ไม่มีลมผ่านคอล์ยเย็น)   
  • 13.3.3 ห้องทำงานของโอเปอร์เรเตอร์ 1 ห้อง บริเวณดรายเออร์ (พร้อมลมผ่านคอลย์เยน็ )   
  • 13.3.4 ห้องทำงานสำหรับช่างแผนกสปินนิ่งซ่อมบำรุง 1 ห้องในบริเวณที่เหมาะสม ระหว่างสปินนิ่งแมทชีน 4 และ 5 (ไม่มีลมผ่านคอล์ยเย็น) หลังจากแมทชีน 5 แลว้เสร็จ   
13.4  ติดตั้งเครื่องตรวจวัดแก๊ส H2S จำนวน 1 ชุดบริเวณสปินนิ่งแมทชีนเพื่อใช้ทดลองวัดปริมาณแก๊ส H2S ถ้าใช้ได้ดีจะติดตั้งบริเวณอื่นตามความเหมาะสม   
13.5  ติดตั้งพัดลมโคจรจำนวน 1 ตัวที่ห้องเซ็นทรัล, และติดตั้งลมผ่านคอล์ยเย็นที่ห้องเจ็ทรูม 
13.6  ติดตั้งพัดลมดูดแก๊สบริเวณถังรีซีฟวิ่งแทงค์ในห้องเย็นเพิ่มจำนวน 1 ตัว 
13.7  สร้างห้องส้วมและห้องอาบน้ำที่บริเวณมิกเซอร์แผนกวิสโคสผลิตที่ไลน์  5 
13.8   ติดตั้งพัดลมดูดอากาศจำนวน 2 ตัวและพัดลมติดผนังจำนวน 1 ตัวในห้องทำงาน โอเปอเรเตอร์ห้องเย็น
13.9   สร้างห้องประชุมชั้นลอยที่แผนกบอยเลอร์ตามแบบที่บริษัทฯ กำหนด   
13.10   ติดตั้งไซเลนเซอร์ (เครื่องเก็บเสียง) ที่ T.F. Blower และ R.V Blower รวมจำนวน 7 ตัว
 
ข้อ  14.  การดำเนินการของสหภาพฯ – สหกรณ์ออมทรัพย์ (ข้อเรียกร้องฯ ของบริษ้ทฯ ข้อที่ 5 และข้อ ที่ 8 ข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 15) 
บริษัทฯ ตกลงจัดสร้างสถานที่ทำการของสหภาพแรงงานฯ และสหกรณ์ฯ เป็นตึก 2 ชั้น ตามแบบที่บริษัทฯ เสนอ โดยไม่มีรั้วและจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม 
 
ข้อ  15.  ระบบโครงสร้างค่าจ้าง (ข้อเรียกร้องของบริษัทฯ ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 17) 
15.1  บริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯ ตกลงให้เปลี่ยนข้อกำหนดในโครงสร้างค่าจ้าง ระบบจำแนกตำแหน่งในบทที่ 3  (การขึ้นเงินเดือนประจำปี) ข้อกำหนดที่ 3.2.4 ดังต่อไปนี้ 3.2.4 พนักงาน ซึ่งมีค่าจ้างมูลฐานเกินกว่าค่าจ้างสูงสุด (เพดานตามตารางที่ 3) ในแต่ละระดับ จะได้รับการขึ้นค่าจ้าง ประจำปีเท่ากับร้อยละ 55 จากจำนวนเงินซึ่งคำนวณได้จากคะแนนตามเกรดที่ได้รับ (ดี,ซี,บี,หรือ เอ) ระหว่าง 8 – 11% ของค่าจ้างมูลฐานของพนักงานแต่ละคน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี 
15.2  สำหรับข้อกำหนดอื่นๆ ให้มีผลบังคับใช้เหมือนเดิม
 
ข้อ  16.  กำลังพล (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 18) 
บริษัทฯ จะจัดให้มีกำลังพลทำงานตามหน่วยงานต่างๆ ตามแผนกำลังพลของบริษัทฯ ดังนี้  
16.1  บริษัทฯ จะจัดให้มีพนักงานตำแหน่ง โอเปอร์เรเตอร์ทำงานที่ห้องเจ็ทรูมกะละ 3 คน 
16.2  บริษัทฯ จะจัดให้มีพนักงานตำแหน่ง โอเปอร์เรเตอร์ ที่เครื่องดรายเออร์หมายเลข 4 และ 5 รวมทั้งหมด 3 คน ต่อ 2 เครื่องต่อกะ 
16.3  บริษัทฯ จะจัดการให้ภาระงานเรื่องการเข็นเบลเส้นใยที่เบลลิ่งเพรสลดลง เช่น บริษัทฯอาจแก้ปัญหาการขนย้ายเบลเส้นใยโดยใช้รถโฟล์คลิฟ หรือใช้ระบบสายพานลำเรียง  หรือด้วยวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม
16.4  บริษัทฯ จะพิจารณาเพิ่มคนงานที่เอชทูเอสครับเบอร์ กะปกติ 1 คน ตำมแผนกำลังคน ของบริษัทฯ
 
ข้อ  17.  การเกษียณอายุงาน (ข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 20) ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฯ ข้อ 9.3 และ 9.4 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2544 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน   
17..1  บริษัทฯ ตกลงจัดทำพระเลี่ยมทองหรือเงินสดสำหรับพนักงานที่เกษียณอายุ  ดังนี้     
  • ปี  2550 จำนวน  6,000  บาท
  • ปี  2551 จำนวน  6,500  บาท
  • ปี  2552 จำนวน  7,000  บาท
17.2   บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินค่าเลี้ยงส่งพนักงานที่เกษียณอายุเป็นรายบุคคลตามจำนวนพนักงานในแต่ละแผนก   
  • ปี  2550 จำนวน 100 บาท / คน หรืออย่างน้อยแผนกละ  3,000 บาท   
  • ปี  2551 จำนวน 110 บาท / คน หรืออย่างน้อยแผนกละ  3,500 บาท
  • ปี  2552 จำนวน 110 บาท / คน หรืออย่างน้อยแผนกละ  3,500 บาท   
17.3 สำหรับเงื่อนไขหรือระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้ให้ปฏิบัติตามเดิม
 
ข้อ 18.  รถพยาบาลงาน (ข้อเรียกร้อง ของสหภำพแรงงานฯ ข้อที่ 21) บริษัทฯ ตกลงปรับปรุงรถพยาบาลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน โดยให้คณะกรรมการ ความ ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นผตู้รวจสอบสภาพรถทุกเดือน และจัดให้มี เจ้าหน้าที่สำหรับขับรถพยาบาลตลอดเวลา
 
ข้อ  19.  วิธีการจ่ายค่าจ้าง/ เงินเดือน (ข้อเรียกร้อง ของบริษัทฯ ข้อที่ 4) บริษัทฯ ตกลงจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานที่ได้รับค่าจ้างรายเดือน (เดือนละ 1 ครั้ง) และพนักงานที่ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง เงินรางวัลความเพียร เงินเบี้ยขยัน โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาอ่างทอง ของพนักงานแต่ละคน และพนักงานสามารถเบิกเงินโดยใช้ระบบบัตร เอ.ที.เอ็ม. ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 
 
19.1 บริษัทฯ จะจัดทำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ให้กับพนักงานทุกคนพร้อมทั้งจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปีให้   
19.2  บริษัทจะรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนเงินเข้าบญัชีธนาคารของพนักงานทุกคน
19.3  ในกรณีบัตร เอ.ที.เอม็. ของพนักงานชำรุด หรือ สูญหาย พนักงานเจ้าของบัตรจะต้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำบัตรใหม่

19.4  สำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน บริษัทฯ จะทำการจ่ายค่าจ้าง  ดังนี้
  • 19.4.1  ทุกวันที่ 28 ของเดือน ในกรณีเดือนนั้นมี 30 วัน
  • 19.4.2  ทุกวันที่ 29 ของเดือน ในกรณีเดือนนั้นมี 31 วัน

19.5  ค่าจ้างรายงวด บริษัทฯ จะทำการจ่ายเงิน ดังนี้
  • 19.5.1  สำหรับการทำงานวันที่ 1-15 จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 22 ของเดือน   
  • 19.5.2  สำหรับการทำงานวันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน จ่ายค่าจ้างวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 

19.6  ในกรณีที่วันจ่ายค่าจ้างตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ บริษัทฯจะจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าก่อนวันดังกล่าว 1 วัน 
19.7  การจ่ายเงินรางวัลความเพียรประจำปี จะจ่ายในวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี
19.8  บริษัทฯจะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานโดยจ่ายผ่านบัญชีธนาคารและผ่าน บัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ตามรายชื่อและจำนวนเงินที่สหกรณ์แจ้งต่อบริษัทฯ  ทั้งนี้ การเบิกเงินทุกประเภทในข้อ 19.4 – 19.8 โดยใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. สามารถเบิกได้ตามวันที่กำหนด ตั้งแต่เวลา 07.01 น. เป็นต้นไป
 
ข้อ  20.  การจัดแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์  (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 24) บริษัทฯตกลงจัดแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์จากโรงพยาบาลอ่างทองมาตรวจและให้คำปรึกษาแก่พนักงานเดือนละ 2 ครั้งโดยสลับกับแพทย์อายุรกรรมปัจจุบันที่ห้องพยาบาลของบริษัทฯ
 
ข้อ  21.  ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 25) 
21.1  บริษัทฯ ตกลงจัดทุนการศึกษาสำหรับบุตรพนักงานปีละ 140 ทุน 
  • ปี  พ.ศ. 2550 จำนวนทุนละ 1,950 บาท   
  • ปี  พ.ศ. 2551 จำนวนทุนละ 1,950 บาท   
  • ปี  พ.ศ. 2552 จำนวนทุนละ 2,000 บาท 
21.2  สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ เดิม
 
ข้อ  22.  เงินช่วยเหลืองานศพบิดา มารดา คู่สมรส และบุตรพนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 26) ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อ 30.1 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 และให้ใช้ ข้อความต่อไปนี้แทน 
   บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือกรณีบิดา มารดา คู่สมรส และบุตรของพนักงานที่ถึงแก่กรรม โดยจะทำบุญเป็นเงิน 6,000 บาท พร้อมพวงหรีดคารวะศพในนามบริษัทฯ 1 พวง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพ บริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
 
ข้อ  23.  รถรับ-ส่งพนักงาน  (ข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 27)  
 ให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฯ ข้อ 11.1,11.2 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2527 และให้ใช้ ข้อความดังต่อไปนี้แทน 
23.1   บริษัทฯ ตกลงจัดรถรับ-ส่งพนักงาน จำนวน 3 สาย ดังนี้ 
  • สายที่  1.  เริ่มต้นที่อำเภอป่าโมก เข้าถนนคลองชลประทาน เข้าวัดศรีมหาโพธิ์  เข้าวัดเกตุ เข้าบริษัทฯ และ ขากลับวิ่งย้อนเส้นทางเดิม
  • สายที่  2.  เริ่มต้นที่ตลาดจังหวัดอ่างทอง ผ่านโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม (อปว.)  เข้า วัดจันทรังษี ผ่านวัดเซิงหวาย ออกวัดแสนสุข เข้าบริษัทฯ
  • สายที่  3.  เริ่มต้นที่ตลาดป่าโมก เข้าวัดเสาธงทอง ผ่านวัดจำป่าหล่อ สายในเข้าตลาดอ่างทอง ผ่านโรงพยาบาลอ่างทอง เข้าบริษัทฯ
23.3  สำหรับรถรับ-ส่งสายที่ 2 และ 3 (สายใหม่) ทั้งสองฝ่ายตกลงให้สำรวจจำนวนพนักงาน ที่ใช้บริการ โดย 3 เดือนแรกต้องมีพนักงานใช้บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็น ต้นไปต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของพนักงานที่ลงลายมือชื่อขอใช้บริการ หากมีจำนวนพนักงานใช้บริการน้อยกว่านี้ ในสายใดสายหนึ่ง ยินดีให้บริษัทฯ ยกเลิกรถรับ-ส่งในสายนั้น และกลับไปใช้ เส้นทางเดิม สำหรับวิธีการคำนวณจำนวนพนักงานที่ใช้บริการให้คำนวณเดือนต่อเดือนและไม่นำจำนวนพนักงานที่ใช้สิทธิลาทุกประเภท วันหยดุ มานับรวม
 
ข้อ  24.  เก้าอี้ทำงานของพนักงาน (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 28) บริษัทฯ ตกลงจัดเก้าอี้บุนวมมีเท้าแขนให้พนักงานตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ทำงาน และการปฏิบัติงาน รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย 2
 
ข้อ  25.  สนามกีฬา (ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ข้อที่ 29) บริษัทฯ ตกลงจัดสร้างสนามกีฬาพร้อมอุปกรณ์ ตามสภาพสนามเดิม ที่บริเวณหอพักชมดาว ดังนี้
  • 25.1  สนามบาสเกตบอลไม่มีหลังคาจำนวน 1 สนาม
  • 25.2  สนามวอลเลย์บอลจำนวน 1 สนาม โดยให้ใช้ร่วมกับสนามบาสเกตบอล
  • 25.3  สนามเซปักตะกร้อจำนวน 1 สนาม 25.4 สนามเปตองจำนวน 3 สนาม 
 
ข้อ  26.  ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือสภาพการจ้างอื่นใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างฉบับนี้ ท้ังสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคบัใช้ตามเดิม   
            ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับนี้ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีผลบังคับใช้เป็น ระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน คือสิ้นสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2553 และสหภาพแรงงานฯ จะไม่ยื่นข้อ เรียกร้องอีกภายในระยะเวลาดังกล่าว 
            อนึ่ง เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานกรรมการสหภาพแรงงานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ในการให้คำแนะนำกับพนักงานให้สนใจ  
 
ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและ สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน พร้อมกับให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อความก้าวหน้าของบริษัทฯ และพนักงานเป็นการส่วนรวมอีกด้วย
            ผู้แทนของทั้งสองฝ่ำย ตามรายนามท้ายข้อตกลงนี้ได้อ่านข้อความและเข้าใจโดยตลอดแล้วจึง ได้ลงลายมือชื่อไวเ้ป็นหลักฐาน   
Visitors: 2,021